ศิลปะยุคบาโรค Baroque ตอนที่ 4 จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์
จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์
สงครามแปดสิบปี หรือ สงครามอิสรภาพ ระหว่าง สาธารณรัฐดัตช์และจักรวรรดิ เป็นการปฏิวัติต่อต้านสมเด็จพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปนผู้เป็นประมุขของเนเธอร์แลนด์ของฮับส์บวร์กในหลายจังหวัดทางตอนเหนือ จบลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย นำไปสู่การเกิดประเทศใหม่ 2 ประเทศคือ การแยกตัวของเจ็ดจังหวัดที่มารวมตัวกัน เป็นสาธารณรัฐดัตช์(เนเธอร์แลนด์ ) ส่วน จังหวัดต่อต้านฟลานเดอร์ส และบราบองต์ ต่อมากลายเป็นเบลเยียมปัจจุบัน
การทำสัตยาบันในสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648
โดยสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
(ฮับส์บวร์ก), ราชอาณาจักรสเปน, ฝรั่งเศส และ สวีเดน, สาธารณรัฐดัตช์ และพันธมิตรของแต่ละฝ่าย
ถ้าเปรียบฟลอเรนซ์(อิตาลี)เป็นแหล่งยุคทองของเรอเนสซองค์ ดัตช์ก็เหมือนยุคทองแห่งบาโรค มีศิลปินเกิดขึ้นมากมายที่มีชื่อเสียงเป็นที่ต้องการของผู้นำประเทศต่างๆจึง เกิดการค้าฝีแปรงขึ้นในภูมิภาคยุโรป เช่น รูเบนส์ผู้มีอิทธิพลแห่งยุคบาโรคที่ไปอยู่ฝรั่งเศสและเจอราร์ด ฟาน โฮนท์ฮอร์สต์ ไปที่อังกฤษเป็นค้น
The new City Hall of Amsterdam, 1673
วาดโดย Berkheyde-Gerrit-Adriaensz
จิตรกรที่มีชื่อเสียงจากการวาดทิวทัศน์เมือง
เป็นภาพที่แสดงถึงความเจริญของอัมสเตอร์ดัม
เมืองท่าแห่งใหม่หรือ อันท์เวิร์พใหม่
หลังจากมีการหนีภัยสงครามย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่อัมสเตอร์ดัมจากเมืองเล็กๆ ก็กลายเป็นเมืองท่าที่อุดมสมบูรณ์ ปัจจัยอื่นๆ ของความเจริญ มาจากความรุ่งเรืองทางอุตสาหกรรมทางการค้าขาย, ทางศิลปะ และ ทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ รายได้จากกังหันลมและจากพีต (peat) ซึ่งสามารถขนย้ายได้อย่างสะดวกตามคลองขุดไปยังเมืองต่างๆ และการสร้างโรงเลื่อย ซึ่งสามารถทำให้การก่อสร้างกองทัพเรือ และ การต่อเรือค้าขายขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้อัมสเตอร์ดัมเป็นศุนย์รวมความเจริญในยุโรป
ลักษณะของจิตรกรรมของดัตช์ในยุคนี้ภาพที่เกี่ยวกับศาสนาที่ลดน้อยลง ที่มีสาเหตุมาจากการที่นิกายคาลวิน(โปตัสแตน) ห้ามการตั้งภาพเขียนทางศาสนาในวัด แต่ก็ยังอนุญาตให้ตั้งภาพเขียนเป็นการส่วนตัวได้ในที่อยู่อาศัย ทำให้เกิดการเขียนภาพประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช้จิตรกรรมศาสนาที่แบ่งย่อยมากมาย เช่นการเขียนเกี่ยวกับชีวิตของเกษตรกร, ภูมิทัศน์, นครทัศน์, ทะเลทัศน์, ภูมิทัศน์กับสัตว์ และ ภาพนิ่งแบบต่างๆ
มีการแบ่ง“ลำดับคุณค่าของศิลปะ” ซึ่งถือว่าศิลปะบางประเภทมีคุณค่าที่สูงกว่าประเภทอื่นตามลำดับ จิตรกรรมประวัติศาสตร์ รวมทั้งศิลปะคริสต์ศาสนา จิตรกรรมภาพเหมือน จิตรกรรมภาพชีวิตประจำวัน จิตรกรรมภูมิทัศน์ รวมทั้งภูมิทัศน์เมือง จิตรกรรมภาพนิ่ง การเขียนก็ยังคงเขียนบนไม้กันต่อมา แม้ว่าจิตรกรในยุโรปตะวันตกอื่นๆจะหันมาเขียนบนผ้าใบกันแล้ว ส่วนงานประติมากรรมแทบจะไม่มีเลย
การซื้อขายที่ตลาดกลางเมืองอัมสเตอร์ดัมยามเย็น
มีท่าเรือจากคลองและมีอาคารกำลังก่อสร้างใหม่ที่ได้อิทธิพล
สถาปัตย์แบบอิตาลีวาดโดย Berkheyde Gerrit Adriaensz
จากการผลิตภาพเขียนขึ้นจำนวนมากทำให้ มีราคาถูก ใครๆก็หาซื้อได้แม้แต่ช่างตีเหล็ก (กรรมกร) สถานการณ์เลวร้ายลง โดยเฉพาะเมื่อฝรั่งเศสเข้ารุกรานบริเวณกลุ่มประเทศต่ำ(ประเทศที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล) ในปี ค.ศ. 1672 (หรือ “ปีแห่งความหายนะ” ) จิตรกรเริ่มใช้ตัวแทนค้าขายภาพเขียน (art dealer) บางคนถึงกับ เลิกอาชีพการเป็นจิตรกรโดยสิ้นเชิง จิตรกรดังๆอย่างฟรันส์ ฮาลส์ และ แรมบรังด์ก็พบกับภาวะลำบากเช่นกัน
“สมาคมจิตรกรแห่งฮาร์เล็ม ( Haarlem)” ค.ศ. 1675
โดยยาน เดอ เบรย์ ภาพเหมือนตนเองคนที่สองจากซ้าย
นอกจากการเขียนภาพเหมือนที่ได้รับจ้างแล้ว ยังมีการเขียนล่วงหน้าแบบ 'เก็ง' ความต้องการของตลาดอีกด้วย ซึ่งต่างกับลักษณะการเขียนในชาติอื่นๆ โดยมีอัมสเตอร์ดัมเป็นศูนย์กลางของงานเขียนทั้งหมด ตระกูลจิตรกรก็มีด้วยการหลายตระกูล เช่น กลุ่มจิตรกรชาวดัตช์ที่เขียนแบบคาราวัจโจที่รุ่งเรืองในอูเทร็คท์ (Utrecht Caravaggism) อำนาจของสมาคมเซนต์ลูคเริ่มลดลง หลังจากเมืองอันเวิร์พโดนสเปนโจมตี เกิด สมาคมจิตกรในเมืองต่างๆขึ้น ที่ อัมสเตอร์ดัมเช่น กูดา, ร็อตเตอร์ดัม, อูเทร็คท์, ฮาร์เล็ม และ เดลฟท์ต่างก็ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด
Jordaens-Hans picture-gallery-c1630
แสดงภาพมีการขยายตัวของแกลลอรี่เป็นตัวแทนขายภาพอยู่ทั่วไป
จิตรกรรมประวัติศาสตร์ และศาสนา (ถือเป็นงานที่มีคุณค่าสูงสุดจากการแบ่งระดับ)
ภาพเขียนประวัติศาสตร์ต่างจากภาพเขียนประเภทอื่นตรงที่ จิตรกรสำคัญหลายคนในช่วงแรกของยุคทองยังคงได้รับอิทธิพลจากการเขียนแบบอิตาลี ศิลปะทางศาสนาภาพขนาดใหญ่แบบบาโรกสำหรับวังหรือคฤหาสน์ของเจ้านายหรือผู้มีอันจะกินก็แทบจะไม่มีในเนเธอร์แลนด์ นอกจากนั้นชาวโปรเตนแตนท์ของดัตช์ ก็ต่อต้านอย่างรุนแรงในการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือและหันมาสร้าง "ศิลปะชนเพื่อกลุ่มน้อย"(เป็นภาพไม่ใหญ่ขายแก่ชาวบ้านรากหญ้า)
Dirk van Baburen - “พระเยซูทรงมงกุฎหนาม”
โดย เดิร์ค ฟาน บาบูเร็น กลุ่มคาราวัจโจอูเทร็คท์ ค.ศ. 1623
สำหรับคอนแวนต์ในอูเทร็คท์
จิตรกรรมภาพเหมือน
รุ่งเรืองในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อชนชั้นกลางที่มีฐานะมั่งคั่งขึ้นมาจากการค้านิยมที่จะจ้างจิตรกรให้เขียนภาพเหมือนของตนเอง มีประมานกันว่าล้านกว่าภาพ
ในช่วงนี้ในสังคมทั่วไปก็มีการแต่งตัวด้วยเสื้อลายแถบ หรือ เป็นลวดลายกันแล้ว แต่จิตรกรมักจะไม่นิยมเขียนกัน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเป็นการเพิ่มงานให้แก่ตัวเองมากขึ้น แต่การใช้ลูกไม้หรือคอจีบซ้อนเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ภาพวาดยุคแรกๆมีแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่มีสีหนักและเรียบ ตามปรัชญาของลัทธิคาลวินไม่ให้มีฉากหลังซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความทนง ทำให้ภาพ มีลักษณะและวิธีการเขียนที่คล้ายคลึงกันหมด การวางท่าต้องวางอย่างปราศจากอารมณ์ โดยเฉพาะสตรี
ภาพเหมือนอย่างเป็นกันเองของ
“Willem Heythuijsen” (ค.ศ. 1634)
โดย ฟรันส์ ฮาลส์-Frans hals 1580-1666
ฟรันส์ ฮาลส์ ผู้มีชื่อเสียงในฝีแปรงที่มีชีวิตชีวาและความสามารถในการทำให้ตัวแบบดูท่างสบายและมีอารมณ์ดี แต่กระนั้นการวางท่าอย่างสบายอารมณ์ เป็นสิ่งที่หาดูได้ยากตามคำกล่าวที่ว่า: “ไม่มีภาพเหมือนอื่นๆ จากยุคนี้ที่จะวางท่าอย่างไม่เป็นทางการเช่นนั้น” ผู้เป็นแบบเป็นพ่อค้าผ้า ผู้มีฐานะดี ผู้เคยจ้างฮาลส์ให้เขียนภาพเหมือนเต็มตัวสิบปีก่อนหน้านั้น ภาพหลังเป็นภาพที่มีขนาดเล็กที่เขียนภาพในห้องส่วนตัวในบ้าน โดยผู้เป็นแบบแต่งตัวสำหรับออกไปขี่ม้า
portrait of agatha bas โดย เรมบรานต์ Rembrandt van rijn
1606-1669
เจ้าแห่งแสงเงาที่ได้อิทธิพลจากคาราวัคโจ
ผู้เขียนลูกไม้ได้แพรวพราว
ภาพชีวิตประจำวัน
เป็นภาพที่เป็นฉากที่ตัวแบบหลักในภาพไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นใคร แม้ว่าภาพชีวิตประจำวันจะเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของผู้คนชาวดัตช์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากทุกระดับของสังคม แต่ความเที่ยงตรงต่อความเป็นจริงก็ไม่ใช่สิ่งที่สรุปได้ง่ายๆ เท่าใดนัก ภาพหลายภาพที่ดูเผินๆ ก็อาจจะเป็นเพียงภาพชีวิตความเป็นอยู่ตามปกติ แต่อันที่จริงแล้วเป็นภาพที่แฝงเนื้อหาที่มาจากสุภาษิตดัตช์
แคร์ริต เดา หรือ เคราร์ด เดา Gerrit Dou, Gerard Dou (1613-1675) ภาพวาดตนเอง Self-Portrait 1650
พ่อส่งมาศึกษาการวาดจากเรมบรานต์เมื่ออายุ14 ปีจนถึง 21ปี มีลักษณะการเขียนที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ที่เป็นศิลปะเชิง 3 มิติ และการใช้แสงเทียนจ้า จัดในลักษณะการเขียนที่ใช้ค่าต่างแสงจากอิทธิพลของคาราวัจโจ
old woman reading c 1630 เคราร์ด เดา วาดเมื่ออายุ17 ปี
เป็นภาพวาดยุคแรกๆตอนเรียนอยู่กับเรมบรานต์
ทำให้รับอิทธิพลของเรมบรานต์ด้วย
แม่สื่อ” โดยเจอราร์ด ฟาน โฮนท์ฮอร์สต์Gerard van Honthorst
(ค.ศ. 1625) ในซ่องโสเภณี
ที่ทาเวิร์น (คล้ายโรงเตี๊ยม) บางแห่งก็จะมีห้องชั้นบนหรือด้านหลัง สำหรับการค้าประเวณีโดยเฉพาะ สมกับสุภาษิตดัตช์ที่ว่า “หน้าเป็นโรงเตี๊ยม หลังเป็นซ่อง” (Inn in front; brothel behind) งานเขียนของสตีนในเป็นตัวอย่างที่ดีของสถานที่ที่ว่า แต่แม้ว่าองค์ประกอบแต่ละอย่างจะตรงตามความเป็นจริง แต่ภาพทั้งภาพมิใช่ภาพของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามปกติ ซึ่งก็เช่นภาพเขียนชีวิตประจำวันอื่นๆ ที่มักจะเป็นภาพเชิงเสียดสี
“การเจรจา” โดย เจอราร์ด เทอร์บอร์ค ,
Gerard ter Borch (1617-1681)
ภาพนี้ได้รับการสรรเสริญโดยเกอเธ่ ว่าเป็นงานที่ละเอียดอ่อนในการแสดงภาพของพ่อที่กำลังดุสั่งสอนลูกสาว แต่นักวิชาการสมัยใหม่บางคนมีความเห็นว่าเป็นภาพการเลือกสตรีที่เกิดขึ้นภายในสถานที่สำหรับทำการค้าประเวณี ภาพนี้มีด้วยกันสองภาพ (เบอร์ลิน และ อัมสเตอร์ดัม) และไม่ทราบกันอย่างเป็นที่แน่นอนว่า “เหรียญบ่งความคิด” ในมือของชายที่นั่งอยู่ถูกลบออกไปหรือเขียนทับในภาพทั้งสองภาพ
กาเบรียล เมตสุ Gabriel Metsu
1629-1667 -Woman Reading a Letter 1665 สีน้ำมันบนไม้
เมตสุเป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นซึ่งดังกว่าเวอร์เมร์ ( Jan Vermeer van Delft )มาก หญิงสาวอ่านจดหมายเป็นภาพที่วาดคู่กับชายหนุ่มเขียนจดหมาย ภาพวาดชุดนี้เมตสุได้ไอเดียมาจาก เจอราร์ด เทอร์บอร์ค( Gerard ter Borch)ที่เขานิยมวาดไว้เป็นคู่ๆ เป็นภาพที่หญิงสาวกำลังอ่านจดหมายรักโดยมีสัญลักษณ์เป็นแม่บ้านยืนถือถังน้ำ มองดูคล้ายคิวปิคกำลังเหนี่ยวคันศรอยู่ มีรองเท้าเก่าวางไว้ที่บ่งบอกถึงความรักการกลับมาอย่างปลอดภัย
กาเบรียล เมตสุ Man Writing a Letter
ชายหนุ่มเขียนจดหมาย สีน้ำมันบนไม้
เวร์เมร์ Vermeer 1632-1675 “เจ้าหน้าที่กับเด็กสาวหัวเราะ”
โดย เวร์เมร์ซึ่งเป็นศิลปินโนเนมในยุคนั้น
แต่ในศ.ต.ที่ 18 เป็นต้นมากลายเป็นศิลปินก้องโลก
ปีเตอร์ เดอ โฮค (Pieter de Hooch, Hoogh 1629-1684)
เป็นจิตรกรที่มีลักษณะการเขียนที่คล้ายคลึงกับโยฮันเนิส เฟอร์เมร์ ที่อยู่เมืองเดลฟท์ (Delft) เหมือนกัน ภาพเขียนของ ปีเตอร์ เดอ โฮค มักจะแสดงถึงความสามารถในการเขียนแสงอันอ่อนนุ่ม แม้ว่าเดอ โฮคจะเขียนภาพให้ลูกค้าผู้มีฐานะดี แต่ตนเองมีบ้านเรือนอยู่ในบริเวณที่ยากจนที่สุดของเมือง บั้นปลายเดอ โฮคเสียชีวิต ในโรงพยาบาลผู้ป่วยเป็นโรคจิตในอัมสเตอร์ดัม
ยาน สตีน jan steen (c. 1626 – 1679)
หมอกำลังรักษาผู้ป่วย ภาพสีน้ำมันที่เขียนบนไม้
เมื่อเวลานานจะเกิดรอยประกบของแผ่นไม้เป็นแนวยาว
ยาน สตีนมักจะใช้บุคคลในครอบครัวเป็นแบบเขียนภาพ สภาพแวดล้อมภายในบ้านที่ดูเหมือนรก เขียนภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวันที่เต็มไปด้วยชีวิตจิตใจและอารมณ์ขันใน ปี1674 ยาน สตีนได้เป็นประธานของสมาคมเซนต์ลุคที่เนเธอแลนด์
จูดิธ เลย์สเตอร์ Judith Jans Leyster r 1609-1660ภาพเขียนตนเอง
เลย์สเตอร์เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมเซนต์ลูค ซึ่งเป็นเพียงสมาชิกสตรีหนึ่งในสองคนที่ได้รับเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ภายในสองปีหลังจากนั้นเลย์สเตอร์ก็มีลูกศิษย์ฝึกงานเป็นชายสามคน ลักษณะงานวาดของเธอคล้ายกับฟรันส์ ฮาลส์มาก ทำให้นักประวัติศาสตร์ศิลปคิดว่าเธอลอกสไตล์การเวาดของฟรันส์ ฮาลส์ แต่จากหลักฐานทางเอกสารเลย์สเตอร์ฟ้องฟรันส์ ฮาลส์ว่าขโมยลูกศิษย์ไปคนหนึ่ง แม่ของลูกศิษย์จ่ายค่าเสียหายให้เลย์สเตอร์ 4 กิลเดอร์เพียงครึ่งหนึ่งของที่เรียกร้องและแทนที่จะคืนลูกศิษย์ให้ ฮาลส์ก็ยอมเสียค่าปรับ 3 กิลเดอร์ แต่เลย์สเตอร์เองก็ถูกปรับในฐานะที่ไม่ได้ลงทะเบียนลูกศิษย์ไว้กับสมาคม ทำให้ไม่กี่ปีมานี้แนวคิดที่ว่าเลย์สเตอร์ ลอกงาน ฟรันส์ ฮาลส์ นั้นเริ่มเปลี่ยนไป
จูดิธ เลย์สเตอร์ Judith Jans Leyster - Boy Playing the Flute
จูดิธ เลย์สเตอร์แต่งงานกับจิตรกรด้วยกันที่ขยันวาดแต่ผีมือด้อยกว่าเธอ หลังจากมีครอบครัวและลูกๆ เธอก็แทบจะไม่ได้วาดภาพเลย แม้ว่าจะเป็นจิตรกรผู้มีชื่อเสียงและเป็นผู้ที่ได้รับความนับถือจากผู้ร่วมสมัยในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่งานของเลย์สเตอร์ก็ถูกลืมกันไปหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว และมาได้รับการรื้อฟื้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1893 พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ซื้อภาพที่เชื่อกันว่าเขียนโดยฟรันส์ ฮาลส์แต่กลับพบว่าเป็นภาพที่เขียนโดยเลย์สเตอร์
จิตรกรรมภูมิทัศน์
จิตรกรคนสำคัญใน “ช่วงโทน” ก็ได้แก่ยาน ฟาน โกเยน
(Jan van Goyen) 1596-1656 ภาพ View of Emmerich. 1645.
งานเขียนภูมิทัศน์เฟล็มมิชโดยเฉพาะจากอันเวิร์พในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ส่วนใหญ่เขียนกันภายในห้องเขียนภาพและเขียนจากจินตนาการของจิตรกร เ ช่น งานของ ปิเอเตอร์ บรูเกล(ผู้พ่อ) ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1620 วิธีการเขียนภูมิทัศน์ก็เปลี่ยนไปเป็นลักษณะที่เรียกว่า “ช่วงโทน” (tonal phase) ซึ่งเป็นภาพที่มีลักษณะอ่อนโยนและขอบคันที่เลือนลาง (blur the outlines) และเน้นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากบรรยากาศมากขึ้น คนประกอบในภาพบางครั้งก็จะหายไป หรือมีขนาดเล็กวิค
คริสต์ทศวรรษ 1650 ลักษณะการเขียนก็เปลี่ยนจากการเขียนเพื่อสร้างบรรยากาศไปเป็นการเขียนของ “ช่วงคลาสสิก” (classical phase) ที่ยังคงรักษาบรรยากาศอยู่บ้าง แต่การจัดวางองค์ประกอบของภาพเพิ่มการแสดงออกมากขึ้น และใช้ความตัดกันของแสงและสีที่รุนแรงขึ้น การจัดวางองค์ประกอบก็มักจะถ่วงด้วยองค์ประกอบหลักในภาพเช่น “ต้นไม้หลัก” ต้นเดียวในภาพ, โรงสีหรือหอ หรือ เรือหรือสิ่งที่เกี่ยวกับการต่อเรือ
งานเขียน“ช่วงคลาสสิก”จาคอบ แวน รุยสเดล Jacob van Ruisdael 1629 –1682- Landscape with a mill-run and ruins
พ่อส่งจาคอบ เรียนลาตินและการแพทย์สุดท้ายเขารักที่จะเป็นจิตรกรมากกว่า ทั้งน้าชาย( Salomon)และพ่อ( Isaack )ของจาคอบ แวน รุยสเดล ล้วนเป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับภาพทิวทัศน์ของดัตท์ ภาพเขียนของจาคอบ ให้อิทธิพลต่อศิลปินกลุ่มแม่น้ำฮัดสัน Hudson River School ที่อเมริกาและกลุ่มบาบิซองค์ Barbizon school ที่ฝรั่งเศส(จาคอบ แวน รุยสเดล น่าจะเป็นเชื้อสายยิวเพราะชื่อทั้ง3คนเป็นยิวหมดเลย)
“ภูมิทัศน์แม่น้ำและคนขี่ม้า” โดย เอลเบิร์ต คุยพ์, albert cuyp,
1620-1691 (ราว ค.ศ. 1655);
คุยพ์เชี่ยวชาญในการเขียนภาพแสงสีสองยามค่ำของภูมิทัศน์ดัตช์
แจนแวน เฮเดน(jan van der heyden) (1637-1712)
-a-country house on the vliet near delf หมู่บ้านใกล้เมืองเดล์ฟ
แจนแวน เฮเดน jan van der heyden (1665-1712)
View in Amsterdam
แจนแวน เฮเดนได้ออกแบบเครื่องดับเพลิง
สำหรับติดตั้งใช้ประจำเมืองด้วย
การเขียนภาพนิ่ง
เป็นโอกาสที่จิตรกรสามารถแสดงความสามารถในการเขียนพื้นผิว (textures and surface) อย่างละเอียดด้วยเอฟเฟ็คของแสงที่เป็นจริง ภาพนิ่งที่เป็นภาพอาหารก็มักจะมีการตั้งอาหารต่างชนิดเต็มเพียบบนโต๊ะ พร้อมด้วยเครื่องเงินที่ใช้ในการกิน ผ้าปูโต๊ะที่รอบพับอันจงใจ และดอกไม้ตกแต่ง ซึ่งเป็นการท้าทายจิตรในการเขียนรายละเอียดต่างๆ ที่ปรากฏ
ยาน เดวิดส์ซูน เดอ ฮีม (Jan Davidszoon de Heem, ค.ศ. 1606–1684
วิลเล็ม เคลสซูน เฮดา (Willem Claesz Heda )
1594-1680 Still Life with Gilt Goblet (1635)
“ostentatious” โดย อับราฮัม ฟาน เบเยเรน
Abraham_van_Beyeren (วิจิตร)
“ภาพนิ่งวิจิตร” (pronkstilleven) แสดงรสนิยมของสิ่งแปลกใหม่และราคาสูงที่เป็นที่นิยมกันมากขึ้น มีการใช้สิ่งที่หรูหรา เกินกว่าสิ่งของที่เป็นธรรมดา
วิลเล็ม ฟาน เอลสท์ Willem van Aelst -1627 – i 1683 “Hunt Still Life With a Velvet Bag on a Marble Ledge” (about 1665)
Willem van Aelst, Still Life with Fish,
Bread, and a Nautilus Cup, 1678
วิลเล็ม ฟาน เอลสท์ Willem van Aelst เกิดที่เมืองเดล์ฟ ศึกษาการวาดภาพจากลุงซึ่งเป็นจิตรกรเขียนภาพนิ่ง พอวัยรุ่นก็ตระเวณดูงานศิลปินทั่วปารีส พออายุ20 ปี ไปศึกษางานต่อที่ฟลอเรนต์อีก10ปี แล้วกลับมาปักหลักที่อัมสเตอร์ดัม เนเธอแลนด์ ฟาน เอลสท์ มีชื่อเสียงจากการวาดหุ่นนิ่งเกี่ยวกับการล่าสัตว์
การเขียนภาพดอกไม้ก็เป็นกลุ่มย่อยของการเขียนภาพนิ่งที่มีเอกลักษณ์และลักษณะวิธีการเขียนที่แตกต่างจากลักษณะอื่น และบางครั้งก็จะเป็นลักษณะที่นิยมกันในหมู่จิตรกรสตรีเช่นมาเรีย ฟาน อูสเตอร์วิค และ ราเชล รุยสช์ นอกจากนั้นจิตรกรดัตช์ก็ยังเป็นผู้นำในการเขียนภาพชีววิทยาและภาพเขียนทางวิทยาศาสตร์, การพิมพ์ และการเขียนภาพประกอบ
ราเชล รุยสช์ Rachael Ruysch 1664 – 1750 ราเชล รุยสช์
เป็นสมาชิกสตรีของ สมาคมนักบุญลูกาในอัมสเตอร์ดัม
เป็นลูกศิษย์ของ Willem van Aelstตั้งแต่อายุ15ปี
พออายุ18ปีเธอก็ผลิตผลงานออกขายได้แล้ว
มาเรีย ฟาน อูสเตอร์วิค Maria_van_Oosterwyck 1630-1693
เนื่องจากมีศิลปินจำนวนมากจึง"หยิบ"ภาพมาเพียงบางคน คราวหน้าจะลงประวัติและผลงานโดยละเอียดของ ศิลปินยุคบาโรคที่สำคัญอีกสักนิด(รวมอิตาลี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สเปน) โดยเริ่มจากนายรูเบนส์ผู้มีอิทธิพลสูงคนแรกของยุค
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น