ศิลปะยุคบาโรค Baroque ตอนที่ 6 แอนโทนี แวน ไดค์ เจ้าหนูอัฉริยะศิษย์โปรดของรูเบนส์

แอนโทนี แวน ไดค์ เจ้าหนูอัฉริยะศิษย์โปรดของรูเบนส์

แอนโทนี แวน ไดค์ 
( Sir Anthony van Dyck; ค.ศ. 1599 - ค.ศ. 1641)
ภาพเขียนตัวเองเมื่ออายุ 18 ปี  Self-portrait 1617


     เป็นจิตรกรชาวเฟลมมิชซึ่งมา และเป็นจิตรกรคนสำคัญ ประจำราชสำนักพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ที่อังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพสีน้ำมัน โดยเฉพาะภาพเหมือน นอกจากภาพเหมือนแล้ว แวน ไดค์ ยังเขียนภาพจากพระคัมภีร์และตำนานเทพ และเป็นจิตรกรคนสำคัญผู้ริเริ่มใช้สีน้ำ และ การแกะภาพโลหะ (etching)

สีน้ำ English Landscape 1635

      แอนโทนี แวน ไดค์เกิดในครอบครัวที่มั่งคั่งที่อันท์เวิร์พในประเทศเบลเยียมปัจจุบัน และเป็นผู้มีความสามารถทางการเขียนมาตั้งแต่เด็ก ภายในปี ค.ศ. 1609 ก็ได้เข้าศึกษาการเขียนภาพกับเฮนดริค ฟาน บาเล็น (Hendrick van Balen) และเป็นช่างเขียนอิสระเมื่อปี ค.ศ. 1615 ตั้งเวิร์คช็อพร่วมกับยาน บรูเกล ผู้ลูก (Jan Brueghel the Younger)

Hendrick van Balen อาจารย์คนแรก วาดดินสอโดย แวน ไดค์

ภาพพิมพ์โลหะ ยาน บรูเกล Jan Brueghel the Younger โดยแวนไดซ์

Anthonis van Dyck Self-portrait, 1613–14 เมื่ออายุ14 ปี

     เมื่อมีอายุได้ 15 ปี แอนโทนี แวน ไดค์ก็เป็นจิตรกรผู้มีชื่อเสียงแล้ว .พออายุแค่19 ปี แอนโทนี ได้รับเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมเซนต์ลูคแห่งอันท์เวิร์พ ในฐานะช่างเขียนอิสระเมื่อ  ภายในสองสามปึก็ได้เป็นผู้ช่วยเอกของปีเตอร์ พอล รูเบนส์จิตรกรผู้มีชื่อเสียงของอันท์เวิร์พและทางตอนเหนือของยุโรปทั้งหมด



Daedalus and Icarus c. 1615 – 1625 เดดาลัสกำลังติดปีกให้บุตรชายอิคารัสเป็นผลงานชิ้นแรกๆของแวน ไดค์ 


A Soldier on Horseback ,1616 ภาพสเก็ตทหารบนหลังม้า


Entry of Christ into Jerusalem, 1617 



Young Woman with a Child, 1618 วาดเมื่ออายุ19 ปี

      รูเบนส์ใช้วิธืจ้างเวิร์คช็อพย่อยๆ ให้ทำงานให้เวิร์คช็อพใหญ่ของเขาเอง รูเบนส์มีอิทธพลต่อแวน ไดค์เป็นอันมาก และกล่าวถึงลูกศิษย์อายุ 19 ปีว่าเป็น “ลูกศิษย์คนเก่งที่สุดในบรรดาลูกศิษย์คนอื่นๆ” ว่าแวน ไดค์เป็นลูกศิษย์ของรูเบนส์ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1613 เพราะงานในสมัยนั้นมีลักษณะอิทธิพลของรู เบนส์ แวน ไดค์จะกลับมาอันท์เวิร์พบ้างในบางครั้งแต่แวน ไดค์ก็ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในต่างประเทศเพราะเมืองอันท์เวิร์พเริ่มหมดความสำคัญลง

ภาพเหมือนตัวเอง 
Self-portrait by van Dyck, 1623

    ในปี ค.ศ. 1620 รูเบนส์ได้รับงานชิ้นสำคัญในการเขียนภาพบนเพดานวัดเยซูอิดที่อันท์เวิร์พ (ปัจจุบันถูกทำลายไปแล้ว) แวน ไดค์เป็นผู้หนึ่งที่ระบุไว้ว่าเป็นผู้วาดภาพจากการออกแบบของรูเบนส์ ในปี ปีเดียวกัน  แอนโทนี แวน ไดค์เดินทางไปอังกฤษเป็นครั้งแรกเพื่อไปทำงานในราชสำนักของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษเป็นเงินจำนวน £100 เมื่ออายุ21 ปี


พระเจ้าเจมส์ที่ 1 วาดโดย John de Critz, c. 1605 

James I แห่งอังกฤษโอรสของพระนางแมรีแห่งสก็อตแลนด์(เธอถูกประหารชีวิตในข้อหาวางแผนปลงพระชนม์พระนางอลิซาเบธที่1 แห่งอังกฤษ)


Frans snyders c 1620 านเมื่อแรกๆที่อังกฤษ








George Villiers, 2nd Duke of Buckingham (1628-87), 
and Lord Francis Villiers (1629-48)

      ในลอนดอนแวน ไดค์ได้เห็นงานของทิเชียนที่สะสมโดยทอมัส เฮาเวิร์ด เอิร์ลแห่งอารัลเดลที่ 21เป็นครั้งแรกซึ่งเป็นงานการใช้สีและการวางองค์ประกอบที่แวน ไดค์ นำมาปรับปรุงเข้ากับทฤษฏีที่เรียนมากับรูเบนส์มาเป็นการวางรูปและการใช้สีแบบใหม่ของแวน ไดค์เอง 

Thomas Howard, Second Earl of Arundel ทอมัส เฮาเวิร์ดที่วาดโดย แวน ไดค์




portrait of woman and child c.1621

สี่เดือนหลังจากนั้นแวน ไดค์ก็กลับไปฟลานเดอร์ส และในปี ค.ศ. 1621 ก็ได้เดินทางต่อไปอิตาลี ไปเรียนเพิ่มความรู้ในการเขียนภาพและสร้างชื่อเสียงอยู่ที่นั่น 6 ปี เมื่ออยู่ที่นั่นแวน ไดค์ ทำตัวโดดเด่นจนเป็นที่หมั่นไส้ของจิตรกรโรม จนมีผู้กล่าวว่าแวน ไดค์ วางท่ายังกะเซอูซิส(Zeuxis เป็นจิตรกรกรีกในศตวรรษที่ 5)เหมือนกับว่าเป็นเจ้านายมากกว่ามนุษย์เดินดิน แวน ไดค์จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่หรูหราเพราะความที่เคยอยู่ในแวดวงของรูเบนส์และคนชั้นสูงๆ แวน ไดค์ เองก็เป็นคนหัวสูงอยู่แล้วจึงต้องทำตัวให้เป็นที่เด่น โดยการแต่งตัวด้วยผ้าไหม ใส่หมวกปักขนนกกลัดด้วยเข็มกลัดอัญมณี ใส่สร้อยทองบนใหล่และมีคนใช้ติดตาม




portrait Marchesa Balbi c 1623 

Elena Grimaldi เอเลเนอร์ กริมาลดี”, Genoa 1623 ภาพสตรีสูงศักดิ์ชาวเจนัว 
A Genoese Noblewoman and Her Son, c. 1626 ภาพสตรีชาวเจนัวกับบุตรชาย

แวน ไดค์ ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เจนัวแต่ก็ท่องเที่ยวไปตามเมืองต่างๆ ระหว่างที่อยู่เจนัวก็เขียนรูปให้กับเจ้านายที่นั่นโดยการเขียนภาพเหมือนแบบเต็มตัวที่ได้อิทธิพลมาจากการเขียนแบบเวโรนา, ทิเชียน และรูเบนส์ ซึ่งผู้เป็นแบบจะดูสูงแต่สง่าและมองลงมาหาผู้ดูอย่างทรนง 
ในปี ค.ศ. 1627แวน ไดค์เดินทางกลับไปอันท์เวิร์พและไปอยู่ที่นั่นอีกห้าปีเขียนภาพให้กับชาวเฟลมมิชตามลักษณะที่เขียนที่เจนัวคือทำให้ผู้เป็นแบบมีลักษณะที่สง่าที่สุดเท่าที่จะทำได้


Marie-Louise de Tassis มารี ลุย เดอ แทสซีส์”, Antwerp 1630

งานเขียนรูปเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล 24 ภาพที่บรัสเซลส์ถูกทำลายไปหมดช่วงสงครามเมื่อปี ค.ศ. 1695 แวน ไดค์ มีเสน่ห์กับลูกค้าและเหมือนกับรูเบนส์ ที่เข้ากับเจ้านายได้อย่างสนิทสนม จึงสามารถได้รับสัญญาว่าจ้างจากลูกค้า 


Samson and Delilah_ 1630

เมื่อปี ค.ศ. 1630 แวน ไดค์ก็ได้เป็นช่างเขียนประจำสำนักของอาร์คดัชเชสอิสซาเบลลาผู้ว่าการฟลานเดอร์สของแฮ็บสเบิร์ก ในระยะเดียวกันนี้แวน ไดค์ก็วาดจิตรกรรมทางศาสนาหลายชิ้นโดยเฉพาะฉากแท่นบูชาและเริ่มงานภาพพิมพ์ด้วย


Charles I with M. de St Antoine รูปโล่ห์
ที่ซ้ายมือล่างเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์สจ๊วต (วาดปี1633)

         พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ(โอรสของพระเจ้าเจมส์ที่1)ทรงนิยมการสะสมศิลปะเพราะทรงถือว่าเป็นเครื่องส่งเสริมความหรูหราโอ่อ่าของพระบารมีขึ้น ในปี ค.ศ. 1628 ทรงซึ้องานสะสมศิลปะของกอนซากาดยุ๊คแห่งมานตัว (ภาพที่วาดโดยคาราวัจโจ) ที่จำต้องขาย นอกจากนั้นก็ยังทรงพยายามชักชวนจิตรกรชาวต่างประเทศผู้มีชื่อเสียงเข้ามาทำงานกับราชสำนัก  ทรงสามารถเชิญโอราซิโอ เจ็นทิเล (Orazio Gentileschi) จากอิตาลีให้มาตั้งหลักแหล่งในอังกฤษได้ ต่อมาอาร์เทมิเซีย เจ็นทิเลสชิลูกสาวและลูกชายของเขาก็ตามมาด้วย

King Charles I
าดโดยเคราร์ด ฟัน โฮนต์ฮอสต์

       ตามด้วยจิตรกรชาวดัตช์ เคราร์ด ฟัน โฮนต์ฮอสต์ Gerard_van_Honthorst ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่ม"การเขียนภาพแบบการาวัจโจ"ที่เนเธอร์แลนด์ ศิลปินผู้ทรงอยากชวนให้มาจะให้มาที่สุดคือRubens ผู้ซึ่งต่อมาก็มาอังกฤษในฐานะทางการทูตซึ่งก็มาเขียนรูปด้วย ในปี ค.ศ. 1630 และต่อมาอีกครั้งโดยเอาภาพเขียนจากอันท์เวิร์พมาด้วย ระหว่างที่มาอยู่ที่ลอนดอน 9 เดีอนก็ได้รับการรับรองเป็นอย่างดีและได้รับแต่งตั้งให้เป็นขุนนาง

         การที่พระเจ้าชาร์ลที่ 1 มีพระวรกายที่สูงเพียงไม่ถึงห้าฟุต (ความอ่อนแอทางกายภาพของพระองค์ ซึ่งอาจเนื่องมาจากโรคกระดูกอ่อน ทำให้สูงเพียง162.56 เซนติเมตร) จึงต้องสร้างมุมมองทำให้พระองค์ดูสง่าผึ่งผายซึ่งแวนไดซ์สามารถทำให้พระองค์พอใจได้



         ภาพที่มีชื่อเสียงของเขาปัจจุบันอยู่ที่ลูฟล์ Charles I,พระเจ้าชาร์ลที่ 1 ในชุดล่าสัตว์,ปี 1635 สร้างฉากหลังให้เหมือนชายป่าแสดงภาพลักษณ์ที่ดูองอาจและธรรมชาตินิยม

        ขณะที่ไม่ได้อยู่อังกฤษแวน ไดค์ก็ยังมีการติดต่อกับทางราชสำนักอังกฤษอยู่ และยังเป็นผู้ช่วยตัวแทนของราชสำนักอังกฤษในการเสาะหาภาพเขียนในยุโรปสำหรับการสะสมของพระเจ้าชาร์ล นอกจากนั้นก็ยังหาภาพของช่างเขียนคนอื่นแล้ว แวน ไดค์ก็ยังส่งงานของตนเองไปด้วยรวมทั้งภาพเหมือนของตนเองและเอ็นดีเมียน พอร์เตอร์ (Endymion Porter) ตัวแทนของพระเจ้าชาร์ลคนหนึ่ง

Endymion Porter and Anthony van Dyck

ภาพตำนานเทพ “รินาลโดและอาร์มิลดา” (Rinaldo and Armida)และงานศิลปะศาสนาสำหรับพระชายาของพระเจ้าชาร์ล แวน ไดค์เขียนภาพของอลิสซาเบ็ธแห่งโบฮีเมียผู้เป็นพระขนิษฐาของพระเจ้าชาร์ลที่กรุงเฮกเมื่อปี ค.ศ. 1632



“เลดีอลิสซาเบธ ธิมเบิลบีและ ไวท์เคาน์เตสโดรอธี” (Lady Elisabeth Thimbleby and Vicountess Dorothy) ค.ศ. 1637 ประเทศเบลเยียม


James Stuart, Duke of Richmond, c. 1637

             แวน ไดค์กลับมาอังกฤษอีกครั้งเข้ารับราชการในราชสำนัก โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นขุนนางและได้รับค่าบำรุงปีละ £200 ต่อปี ได้เป็น “ช่างเขียนเอกประจำพระองค์” นอกจากเงินประจำปีแล้วตามทฤษฏีจะได้ค่าจ้างเขียนภาพแต่ละภาพเป็นจำนวนมากต่างหาก แต่อันที่จริงแล้วพระเจ้าชาร์ลมิได้จ่ายค่าบำรุงเป็นเวลาถึงห้าปีและลดราคาค่าเขียนภาพหลายภาพ

      
Henrietta Maria and King Charles I with Charles, Prince of Wales(King Charles II ), and Princess Mary,1633

       Henrietta Maria and Charles I ภาพเขียนที่มีชื่อเสียงของแวน ไดค์เป็นภาพเหมือนของพระเจ้าชาร์ลที่ 1 และครอบครัวซึ่งวางท่าลักษณะสบายแต่สง่าแบบที่กลายมาเป็นแบบที่ใช้ในการเขียนภาพเหมือนต่อมาในอังกฤษเป็นเวลาราว 150 ปีแอนโทนี แวน ไดค์ จึงถือเป็นผู้ก่อตั้งวิธีการเขียนภาพเหมือนแบบใหม่ในอังกฤษ

Lord John Stuart and His Brother Lord Bernard Stuart-ภาพเหมือนของลอร์ดจอห์น สจ็วตและน้องชายลอร์ดเบอร์นาร์ด สจ็วตด้วยการวางท่าทางอย่างสบายเป็นกันเอง

Anthony van dyck “ภาพเหมือนกับดอกทานตะวัน” แสดงให้เห็นเหรียญที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 พระราชทานเมื่อ ค.ศ. 1633 ดอกทานตะวันอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน หรือการอุปถัมภ์หลวง

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เป็นภาพวาด3ด้านที่วาดโดนแวนไดซ์  ซึ่งได้เป็นแบบสลักปั้นของแบร์นินี ประติมากรรมเอกแห่งยุคบาโรค

        พระเจ้าชาร์ลให้ที่พำนักแก่แวน ไดค์ เป็นบ้านริมแม่น้ำที่แบล็คฟรายเออร์ส ซึ่งขณะนั้นอยู่นอกตัวเมืองลอนดอน ฉะนั้นจึงไม่ต้องขึ้นกับสมาคมช่างเขียนของลอนดอน  บ้านพักนอกเมืองนี้เป็นวังที่ราชวงค์มิได้ใช้แล้ว ห้องเขียนภาพที่แบล็คฟรายเออร์สซึ่งเป็นที่ที่พระเจ้าชาร์ลและพระราชินีเฮ็นเรียตตา มาเรียพระชายาชอบเสด็จมาเยี่ยมบ่อยๆ จนในที่สุดก็ต้องสร้างทางเดินเพื่อเข้าออกได้สะดวก

Henrietta Maria and the dwarf, Sir Jeffrey Hudson,วาดปี 1633

      หลังจากแวน ไดค์เข้ามาเป็นช่างเขียนประจำพระองค์ พระเจ้าชาร์ลก็เกือบมิได้ให้ช่างเขียนอื่นเขียนพระองค์อีกเลย ถึงแม้จะมีแดเนียล ไมเตนสชาวเฟลมมิชเป็นช่างเขียนประจำพระองค์อยู่ก่อนแล้ว

ภาพพิมพ์ของแดเนียล ไมเตน Daniel Mytensที่แกะพิมพ์มาจากภาพวาดของแวนไดค์


James I of Englandพระเจ้าเจมส์ที่1แห่งอังกฤษพระราชบิดาของพระเจ้าชาร์ลที่1 วาดโดยแดเนียล ไมเตน จิตรกรราชสำนักของอังกฤษ

 Portrait of Mary Ruthvenภรรยาของแวนไดค์ วาดปี 1639

แวน ไดค์แต่งงานกับแมรี Mary นางสนองพระโอษฐ์ของพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ในปี1638 ไม่ปรากฏว่ามีบุตรด้วยกัน


ภาพวาดพระเจ้าชาร์ลที่2ขณะกำลังเยาว์ 
King Charles II วาดปี 1638





   พระเจ้าชาร์ลที่2 โอรสองค์โตต้องลี้ภัยระหว่างปกครองโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ซึ่งเป็นช่วง”ไร้กษัตริย์ของอังกฤษ”ภายหลังเมื่อครอมเวลล์สิ้นชีวิตได้สถาปนาเป็นกษัตริย์ต่อจากบิดาโดยอยู่ในศาสนา
คริสตจักรแห่งอังกฤษ (นิกายโปตัสแตน)






Princess Mary Henrietta ธิดาองค์กลาง 1637



Portrait of infant James II วาดปี 1636 เจมส์ที่ 2โอรสองค์เล็กตอนอายุ 3ขวบลี้ภัยพร้อมกับแม่เมื่ออายุ11ปีภายหลังกลับมาเป็นกษัตริย์ต่อจากพระเจ้าชาร์ลที่ 2ที่เป็นพี่ชาย

ภาพวาดชิ้นสุดท้าย พระนางแมรี พระธิดาเมื่ออายุ10 ขวบแต่งงานกับโอรสของพระเจ้าพิลิปที่4แห่งสเปน
Portrait of William II of Nassau-Orange 
and Princess Mary 1641

     แวน ไดค์  เป็นไข้ป่วยอยู่นานและทรุดหนักลงเมื่อเดินทางกลับจากฝรั่งเศสมาอังกฤษกระทั่งเสียชีวิตที่ลอนดอนในปี1641 เมื่ออายุ42 ปี ก่อนพระเจ้าชาร์ลถูกปลงพระชนม์ 8 ปี


อนุสาวรีย์ Anthony Van Dyck ที่ Antwerp


ภาพเหมือนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 Charles I สวมชุดเกราะ เขียนโดยแอนโทนี แวน ไดค์

        ในสมัยของพระเจ้าชาลส์เกิดสงครามกับฝรั่งเศสและสเปน เมื่อพ่านแพ้แก่สเปนถึงสองครั้งทำให้เกิดปัญหาทางเศรฐกิจ มีการเรียกเก็บภาษีจนประชาชนเดือดร้อน ประกอบกับนโยบายผิดพลาดทางศาสนาที่บีบบังคับและลงโทษ ชาวโปตัสแตนต์ที่ไม่เห็นด้วยกับพระองค์ เช่น ผู้ถูกกล่าวหามักจะถูกลากตัวขึ้นศาลโดยไม่มีข้อกล่าวหาใด ๆ และไม่มีสิทธิในการคัดค้านข้อกล่าวหาใด ๆ ทั้งสิ้นด้วย

         นอกจากนั้นคำให้การที่ได้มาก็มักจะได้มาจากการทรมาน ทำให้ขัดแย้งกับรัฐสภา เกิดสงครามกลางเมืองโดยรัฐสภา ได้กำลังจากสก็อตแลนด์มาสมทบ ทำให้พ่ายแพ้สงครามกลางเมือง พระองค์ถูกจับกุมและถูกตัดสินสำเร็จโทษ ในข้อหากบฏต่อแผ่นดิน ระบอบราชาธิปไตยของอังกฤษจึงถูกยุบเลิก และเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ โดยมีการประกาศก่อตั้งเครือจักรภพอังกฤษแทนที่


ภาพการปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาร์ลส์
ในสิ่งพิมพ์ในเยอรมันนีในปี 1649


พระนางเฮนเรียตตา มาเรีย Henrietta Maria of France เป็นพระราชธิดาองค์สุดท้องของพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส กับพระนางมาเรีย เด เมดีชี ( เมื่อพระเจ้าอ็องรีที่ 4  ถูกลอบปลงพระขนม์เธอพึ่งจะแบเบาะ)

     พระนางเฮนเรียตตา เป็นมเหสี ของ Charles-I ซึ่งมีรูปที่แวนไดซ์วาดพระนางไว้เป็นจำนวนมาก การแต่งงานกับเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส(อายุ16พรรษา)ผู้มีพระชันษาอ่อนกว่าพระองค์ 9 พรรษา ซึ่งเป็นโรมันคาทอลิก สร้างความไม่พอใจแก่รัฐสภากลัวว่าอังกฤษจะกลับไปเป็นโรมันคาทอลิค ทำให้ เกิดการแข็งข้อของผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ เริ่มจากสกอตแลนด์ แม้ช่วงหนึ่งจะยึดอำนาจจากรัฐสภาปกครองแบบเบ็ดเสร็จ “สมัยการปกครองส่วนพระองค์” หรือ “สมัยสิบเอ็ดปีแห่งความกดขี่” นำไปสู่สงครามกลางเมืองขึ้นสองครั้ง จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของพระองค์ หลังพระเจ้าชาลส์ ถูกจับกุม พระนางมาเรียเสด็จหนีไปฝรั่งเศสพร้อมกับพระโอรสในปี ค.ศ. 1644 แล้วนำกำลังทหารจากฝรั่งเศสมาช่วยแต่ไม่สามารถตีเข้ากรุงลอนดอนได้ ในที่สุดพระเจ้าชาลส์ถูกสำเร็จโทษในปี ค.ศ. 1649 พระชนม์ได้48 ปี ทิ้งพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียให้ฐานะที่เกือบไม่มีทรัพย์สินใดใดเหลือ


พระโอรสและราชวงค์มารายงานตัวต่อคณะปกครองฝ่ายรัฐสภาที่เข้ามาปกครองครือจักรภพอังกฤษ




    โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ แม่ทัพฝ่ายรัฐสภา ซึ่งได้ยึดอำนาจและดำรงตำแหน่ง “เจ้าผู้อารักขา” (Lord Protector) แห่งเครือจักรภพแห่งอังกฤษที่รวมกับ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ เมื่อ ค.ศ. 1653 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมลงด้วยไข้มาเลเรียในปี ค.ศ. 1658  ริชาร์ด ครอมเวลล์ บุตรชายจึงดำรงตำแหน่งแทนแต่ไม่เก่งเท่าบิดา แต่เมื่อฝ่ายฟื้นฟูราชวงศ์ได้อำนาจคืนในปี ค.ศ. 1660 ร่างของครอมเวลล์ก็ถูกขุดขึ้นมาประหารชีวิตโดยการแขวนด้วยโซ่และตัดหัว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศิลปะยุคกรีก

ศิลปะยุค โรโกโก ตอนที่1 ศิลปแห่งความอ่อนหวานและรุงรัง

ศิลปะยุคบาโรค Baroque ตอนที่ 9 Gian lorenzo Bernini ผู้เสกหินอ่อนให้หายใจได้