เมืองเฮียราโพลิสที่ตรุกีในปัจจุบัน
เทพเจ้ากรีก
เทพีอโฟรไดท์
(Aphrodite)
หรือ Venus เทพีแห่งความงามและความรัก
ตำนานมหากาพย์อิเลียดของโฮเมอร์
ยกย่องนับถือให้เทวีอโฟรไดเป็นเทพธิดาของซูส และมีมารดาเป็นนางอัปสรไดโอนี (Dione) แต่บทกวีบางแห่งกล่าวว่า
เทวีอโฟรไดเกิดขึ้นมาจากฟองทะเล เนื่องจากคำว่า Aphros ที่เป็นส่วนหนึ่งของชื่อของชื่อเจ้าแม่มีความหมายในภาษากรีกว่า
“ฟอง” ดังนั้น จึงมีความเชื่อกันต่อมาว่า
แหล่งกำเนิดของเจ้าแม่น่าจะอยู่ในทะเลแถบเกาะไซเธอรา (Cythera) ต่อจากนั้น เจ้าแม่ก็ถูกคลื่นซัดพาตัวมาจนถึงเกาะไซพรัส (Cyprus) ทำให้เกาะทั้งสองแห่งนี้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับเจ้าแม่
และบางครั้งก็ทำให้เจ้าแม่มีชื่อเรียกอีกสองชื่อตามชื่อเกาะทั้งสองแห่งนี้ว่า
ไซเธอเรีย (Cytherea) และ ไซเพรียน (Cyprian)
จากที่บอกไปแล้วว่า เทวีอโฟรไดท์ถูกคลื่นพัดพาร่างไปติดบนเกาะไซพรัส
ซึ่งในขณะนั้นก็มีฤดูเทวืผู้รักษาทวาร
แห่งเขาโอลิมปัสช่วยลงมารับพาตัวเจ้าแม่เดินทางขึ้นไปยังเทพสภาเมื่อไปถึงเทพสภา
เทพทุกองค์ต่างตกตะลึงใน ความงามของเจ้าแม่เป็นอย่างมาก
และทุกองค์ก็ต่างหมายปองอยากได้เจ้าแม่อโฟรไดท์มาเป็นคู่ครอง ไม่เว้นแม้แต่เทพซูส
ที่ก็มีความหวังอยากที่จะได้ตัวเจ้าแม่เช่นกัน
แต่เนื่องจากเจ้าแม่นั้นไม่ยินดีจะมาเป็นชายาด้วย เลยสั่งให้วีนัสแต่งงานกับฮีฟีสทัส
(Hephaestus)หรือ วัลแคน
เทพแห่งการช่างที่ชอบขลุกอยู่กับงานช่างไม้ ผู้เป็นเทพรูปทรามที่มีรูปร่างไม่สมส่วน
และมีบาทแปเป๋
ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการบำเหน็จรางวัลที่ฮีฟีสทัสประกอบความดีความชอบในการถวายอสนียบาต
และก็ถือเป็นการลงโทษที่ไม่แยแสในตัวซูสไปด้วยในเวลาเดียวกัน
แต่วีนัสไม่ใช่คนที่จะยอมแพ้ง่ายๆ ถึงจะมีสามีเป็นตัวเป็นตนเธอก็ยังคบชู้สู่ชายเป็นว่าเล่น ชู้คนแรกมีดีกรีเป็นถึงเทพเจ้าแห่งสงคราม อาเรส น้องชายของสามีเธอเอง วีนัสมีลูกกับอาเรส 4 คน ในจำนวนนั้นคือเทพคิวปิดหรือกามเทพนั่นเอง แต่อาเรสเองก็มีเมียอยู่แล้วเช่นกัน วีนัสจึงต้องหากิ๊กเพิ่ม ชายชู้คนที่สองของเธอก็ยังคงเป็นน้องชายสามีอีกนั่นแหละ เทพเฮอร์มีสน้องชายของวัลแคนและอาเรส เป็นเทพแห่งการสื่อสาร การโกหก และการขโมย ส่วนแอนไคซีส ชู้รักคนที่สามของเธอเป็นเจ้าชายแห่งนครทรอย ชาติตระกูลจึงเรียกได้ว่าไฮโซคู่ควรกับนางฟ้าวีนัสทุกประการ
มาถึงคนรักคนที่สี่ซึ่งเป็นคนที่วีนัสรักมากที่สุด ชื่อว่าอโดนิส ตำนานเล่าว่าวันหนึ่งขณะที่เทพีวีนัสกำลังเที่ยวเล่นอยู่ในป่า นางก็พบต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งหักโค่นลง และข้างในก็มีเด็กชายหน้าตาน่ารักคนหนึ่งนอนร้องไหเจ้าอยู่ วีนัสจึงรับเด็กชายไว้และตั้งชื่อเขาว่า อโดนิส แล้วนางฝากอโดนิสไว้กับเทพีเพอร์เซโฟนี่ให้ช่วยดูแล ยี่สิบปีต่อมา วันหนึ่งขณะที่วีนัสกำลังหยอกเอินกับคิวปิดลูกชายตัวน้อย ศรของคิวปิดก็บังเอิญแทงถูกนางเข้า ทำให้วีนัสตกอยู่ใต้อำนาจของศรรักโดยไม่รู้ตัว หลังจากแยกกับคิวปิด วีนัสก็ไปเดินเล่นในป่าและได้พบกับพรานป่าอโดนิส ซึ่งเติบใหญ่เป็นหนุ่มแล้ว คนที่ต้องมนต์ศรของกามเทพจะหลงรักเพศตรงข้ามคนแรกที่ได้พบ นางจึงหลงรักอโดนิสในทันที
วาดโดย
Carracci
วาดโดย Lodovico Gimignani
แต่ชะรอยว่าเจ้าหนุ่มอโดนิสจะไม่ชอบสาวใหญ่ วีนัสจึงต้องเที่ยวได้ตามตื๊อเจ้าหนุ่มไปเรื่อยๆ อโดนิสไปล่าสัตว์ที่ไหน วีนัสเป็นต้องตามไปอยู่ใกล้ๆ ละแวกนั้น จนชายหนุ่มเริ่มจะเคลิ้มขึ้นมาบ้างเหมือนกัน เหตุผลสำคัญอีกข้อหนึ่งที่วีนัสไม่ยอมห่างไปจากอโดนิสก็เพราะนางรู้ว่าพรานหนุ่มคนนี้จะต้องตายด้วยสัตว์ใหญ่ ตลอดเวลาที่วีนัสมาติดพันอโดนิส นางก็ห่างเหินคู่รักคนอื่นจนหมด แม้แต่อาเรสที่อุตส่าห์หนีเมียมาหา แต่วีนัสก็ไม่เหลียวแล อาเรสจึงหึงจนเนื้อเต้น ตั้งใจว่าจะต้องกำจัดพรานหนุ่มรูปหล่อคนนี้ทิ้งให้จงได้ อาเรสพยายามหาโอกาสอยู่นาน แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะวีนัสคอยขัดขวางอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งวันหนึ่งเทพีวีนัสติดภารกิจสำคัญมาหาอโดนิสไม่ได้ เป็นโอกาสให้อาเรสแปลงกายเป็นหมูป่าตัวใหญ่ มาหลอกล่อให้อโดนิสไล่ตามมันไปจนถึงกลางป่าลึก จากนั้นเจ้าหมูป่าก็หันกลับมาใช้เขี้ยวแทงเข้าที่กลางอกของอโดนิส จนเขาล้มลงนอนครวญครางอย่างเจ็บปวดอยู่ในกองเลือด
เทพีวีนัสกำลังนั่งอยู่บนรถศึกเทียมด้วยหงส์ลอยอยู่บนฟ้า พอได้ยินเสียงอโดนิสนางก็รีบเลี้ยวรถกลับมา ทันเห็นชายผู้เป็นที่รักนอนหายใจแผ่วจวนจะสิ้นใจพอดี วีนัสรีบตรงเข้าไปพยุงอโดนิส ใช้ผ้าซับเลือดที่ทรวงอกให้ แต่อโดนิสก็สิ้นใจก่อนจะได้ยินเสียงเรียกของนาง วีนัสเสียใจและแค้นเทพแห่งชะตากรรม นางจึงประกาศว่าจะไม่ยอมให้วิญญาณคนรักต้องลงสู่อุ้งมือของเทพแห่งชะตากรรมที่รออยู่ในนรก จากนั้นนางก็เสกให้โลหิตแดงฉานของอโดนิสกลายเป็นดอกไม้แสนสวยสีแดง มีกลีบซับซ้อนหลายชั้น แล้วตั้งชื่อมันว่า ดอกอโดนิส หรือดอกอะเนมโมนิ (Anemone) แปลว่า ดอกตามลม เพราะดอกอโดนิสจะบานเมื่อถูกสายลมพัดผ่าน และจะอยู่ได้เพียงไม่กี่เดือนก่อนที่จะร่วงหล่นไป เหมือนดังชีวิตที่แสนสั้นของอโดนิสชายหนุ่มรูปงาม
ยังมีความเชื่อชองชาวกรีกและชาวโรมันว่า เจ้าแม่วีนัสเป็นเทวีผู้มีลูกดกและเป็นเทวีแห่งการให้กำเนิดทารก มีนกกระสาเป็นนกคู่บารมีของวีนัส ทำให้มีคติความเชื่อโบราณประการหนึ่งของชาวตะวันตกที่เล่าขานสืบต่อกันมาถึงในปัจจุบันนี้ว่า ทารกถือกำเนิดเพราะนกกระสานำมา และคติความเชื่อนี้ก็สืบเนื่องมาจากข้อยึดถือของมนุษย์ชาวกรีกและ โรมันมาตั้งแต่บรรพกาลเช่นกัน
แพน (Pan) เทพแห่งทุ่งโล่ง และดงทึบ หรือ เทพแห่งธรรมชาติแพน (Pan)
เป็นเทพในระดับหลานของซุส กล่าวคือ เป็นโอรสของเทพเฮอร์มีส กับนางพรายน้ำ อนงค์หนึ่ง แพนเป็นเทพแห่งทุ่งโล่ง และดงทึบ หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เทพแห่งธรรมชาติทั้งปวงก็ไม่ผิด เพราะคำว่า “แพน” ในภาษากรีกแปลว่า “All” หรือทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง
Greco-Roman
statue
เทพองค์นี้มีรูปร่างผิดแปลก
กับเทพอื่น ๆ ที่มักสวยสง่างาม เทพแพนเป็นส่วนผสมระหว่างมนุษย์กับสัตว์ กล่าวคือ
ร่างกายหน้าตาเป็นมนุษย์ แต่ท่อนล่างลงไปเป็นแพะ บนศีรษะมีเขาเป็นแพะเช่นกัน
และมีหนวดเครา
การที่เทพแพนมีรูปร่าง
เช่นนี้นั้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ของธรรมชาติ อันประกอบด้วยมนุษย์ และสัตว์นั่นเอง
ในสมัยแรกเริ่มเดิมที
แพนออกจะเป็นเทพที่ร่าเริงและมีความสุขมาก กวีกรีกโบราณ พยายามให้ทุกคน
มองเห็นภาพพจน์ ของแพนในลักษณะเทพผู้เริงระบำรำฟ้อน สนุกสนานอยู่เสมอ
เทพแพนมีพรสวรรค์พิเศษ
อยู่อย่างหนึ่ง คือเป่าหลอดได้ไพเราะมาก
จนกระทั่งครั้งหนึ่งเคยประลองขันแข่งกับเทพอพอลโล เทพแห่งดนตรีกาล เลยทีเดียว
หลอดของแพนทำจากต้นอ้อธรรมดา มีลักษณะไม่เหมือนขลุ่ย ภาษาอังกฤษเรียกของสิ่งนี้ว่า
Pipe
ซึ่งแปลว่าหลอดหรือท่อ
Pan and
Syrinx" Peter Paul Reubens
มีตำนานกล่าวไว้คือ
แพนได้ไปยลโฉมของนางพรายน้ำตนหนึ่งเข้า นามว่า ไซรินซ์ (Syrinx)
เกิดถูกชะตาต้องใจเป็นอันมาก จึงติดตามไปหมายจะขอความรัก
แต่นางพรายน้ำ ไม่ยินดีด้วย เนื่องจากหวั่นกลัวในรูปร่างของแพน เทพแห่งธรรมชาติ
จึงวิ่งหนีเตลิดไป แพนก็ออกไล่ตามจนมาถึงริมน้ำ ครั้นนางพรายน้ำ
เห็นท่าจวนเจียนหนีไม่พ้นแน่ จึงตะโกนขอความช่วยเหลือจากเทพแห่งท้องธาร
คำขอร้องของนางสัมฤทธิ์ผล เทพแห่งท้อง
จึงดลบันดาลให้นางกลายเป็นต้นอ้อประดับอยู่ริมฝั่งน้ำนั่นเอง เมื่อเทพแพนมาถึง
และได้รู้ความจริงก็เศร้าสร้อยมาก จึงเอาต้นอ้อนั้น มาตัดและมัดเข้าด้วยกัน
ใช้เป็นเครื่องดนตรี เป่าอย่างไพเราะสืบมา และชื่อของนางพรายน้ำตนนี้ ซึ่งแปลว่า
หลอดหรือท่อ ยังคงใช้สืบกันมา จนตราบเท่าทุกวันนี้
อาเธน่า
(Athena)
เทพีแห่งปัญญา สงคราม และงานหัตถกรรม
การถือกำเนิดของอาเธน่านั้น
กล่าวกันว่า ครั้งหนึ่ง เทพซุส ได้รับคำทำนายว่า โอรสธิดา
ที่ประสูติจากมเหสีเจ้าปัญญา นามมีทิส (Metis) นั้นจะ
มาโค่นบัลลังก์ของพระองค์ เทพซุส ก็แก้ปัญหาด้วยการจับเอามีทิส
ซึ่งทรงตั้งครรภ์แก่นั้นกลืนเข้าไปในท้อง แต่เวลาไม่นานนักซุสก็บังเกิดอาการปวดเศียรขึ้นมา
ให้รู้สีกปวดร้าวเป็นกำลัง
จึงมีเทวโองการสั่งให้เรียกประชุมเทพทั้งปวงบนเขาโอลิมปัส
ให้ช่วยกันหาทางบำบัดเยียวยา ซุสไม่อาจทนความเจ็บปวดต่อไปได้
ในที่สุดจึงได้ให้เฮฟเฟสตุส เทพแห่งการตีเหล็ก ใช้ขวานผ่าศีรษะออก
ปรากฏเป็นอาเธน่ากระโดดออกมาในลักษณะเจริญเต็มวัย
แต่งฉลององค์หุ้มเกราะแวววาวพร้อมสรรพ ถือหอกเป็นอาวุธ
พร้อมกันนั้นทั่วพื้นพสุธาและมหาสมุทร ก็บังเกิดอาการสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น
ประกาศกำเนิดเทวีองค์นี้สนั่นไปทั้งโลก
Rene
Antoine Houasse
การอุบัติของเทวีองค์นี้ถือว่าเป็นไปเพื่อยังสันติสุข ขจัดความโฉดเขลาที่ครองโลก นั้นให้สิ้นไป ด้วยว่าพออาเธน่าผุดจากเศียรซุส เทวีแห่งความโฉดเขลาซึ่งไม่ปรากฏรูปก็ล่าหนีไป นอกจากนั้นอาเธน่ายังมีฝีมือในการเย็บปักถักร้อย และ เชื่อว่าพระนางเป็นเทพีแห่งสงครามด้วย เนื่องจากเทวรูปของพระนาง มักปรากฏเป็นรูปผู้หญิงสวมชุดเกราะ ถือโล่ห์ และหอกที่มือซ้าย พร้อมถือ เทพีไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะที่มือขวา
ภายหลังการอุบัติของอาเธน่าไม่นาน มีหัวหน้าชนชาวฟีนิเชียคนหนึ่งชื่อว่า ซีครอบส์ () พาบริวารอพยพเข้าไปในประเทศกรีซ ในแคว้น อัตติกะ (Attica) ตั้งภูมิลำเนา ก่อสร้างบ้านเรือนขึ้นเป็นนครอันสวยงามนครหนึ่ง เทพทั้งปวงเฝ้าดูงานสร้างเมืองนี้ด้วยความเลื่อมใสยิ่ง เทพแต่ละองค์ต่างก็แสดงความปรารถนา ใคร่จะได้เอกสิทธิ์ตั้งชื่อนคร จึงประชุมกันถกถึงเรื่องนี้ เมื่อมีการอภิปรายโต้แย้งกันพอสมควรแล้ว เทพส่วนใหญ่ในที่ประชุมก็พากันยอมสละสิทธิ์ คงเหลือแต่ เทพโปเซดอน และเทวีอาเธน่า 2 องค์เท่านั้นยังแก่งแย่งกันอยู่
เพื่อยุติปัญหาว่าใครควรจะได้เอกสิทธิ์ตั้งชื่อนคร เทพซุส จึงมีเทวโองการว่านครนั้น พึงอยู่ในความคุ้มครอง ของเทพ หรือเทวี ซึ่งสามารถเนรมิตของที่มีประโยชน์ที่สุดให้มนุษย์ใช้ได้ และมอบหน้าที่ตัดสินชี้ขาดให้แก่ที่ประชุม เทพโปเซดอน เป็นฝ่ายเนรมิตก่อน โดยยกตรีศูลคู่หัตถ์ขึ้นกระแทกลงกับพื้น บันดาลให้มีม้าตัวหนึ่งผุดขึ้นท่ามกลางเสียงแสดงความพิศวง และชื่นชมของเหล่าเทพ เมื่อเทพผู้เนรมิตม้า อธิบายคุณประโยชน์ของม้า ให้เป็นที่ตระหนักแก่เทพทั้งปวงแล้ว เทพองค์ต่างๆ ก็คิดเห็นว่า เทวีอาเธน่าคงไม่สามารถเอาชนะ เทพโปเซดอนเสียเป็นแน่แล้ว ส่วนฝ่าย เทวีอาเธน่า ก็ได้เนรมิตต้นมะกอกต้นหนึ่งขึ้นมา และได้อธิบายถึงคุณประโยชน์ ของต้นมะกอก ที่มนุษย์จะเอาไปใช้ได้นานัปการ นับตั้งแต่ใช้เนื้อไม้ ผล กิ่งก้าน ไปจนถึงใบ พร้อมกับยังมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ของมะกอกว่า เป็นเครื่องหมายถึงสันติภาพและความรุ่งเรืองอีกด้วย หลังจากพิจารณาแล้ว มวลเทพก็เห็นพ้องต้องกันว่า ของที่เทพีอาเธน่าเนรมิต มีประโยชน์กว่า จึงลงมติตัดสินชี้ขาดให้เป็นฝ่ายชนะ เทพีอาเธน่าได้ตั้งชื่อนครนั้น ตามนามของท่านเองว่า เอเธนส์ (Athens )
เรื่องของนางอาแรคนี
นางอาแรคนี
(Arachne)
ซึ่งมีฝีมือทอผ้า และปั่นด้ายเป็นเลิศ
ด้วยความลุ่มหลงทะนงตนสำคัญว่าไม่มีผู้ใดอีกแล้ว จะมีฝีมือเสมอกับนาง
ถึงแม้เทพีเอเธน่าจะลงมาประกวดฝีมือกับนาง นางก็ยินดีจะสู้ด้วยไม่รอช้าเลย
นางโอ้อวดดังนี้เนือง ๆ จนเทพีเอเธน่า ต้องลงมาจากเขาโอลิมปัส
เพื่อมาลงโทษนางอาแรคนีมิให้ใครเอาไปเป็นเยี่ยงอย่างสืบไป โดย
เทพีอาเธน่าจำแลงองค์เป็นยายแก่ เดินเข้าไปในบ้านของนางอาแรคนี และนั่งลงชวนคุย
นางอาแรคน ก็ได้คุยถึงฝีมือตน และเริ่มโวเรื่องจะแข่งขัน
ประกวดฝีมือกับเทพีเอเธน่าอีก เทพีอาเธน่าตักเตือนโดยให้นางยับยั้งคำไว้เสียบ้าง
กลัวว่าคำของนางซึ่งพูดเอาเองเป็นเหตุให้เทพเจ้าขัดเคือง จะทำให้นางเคราะห์ร้าย
แต่นางอาแรคนีไม่แยแสต่อคำตักเตือน กลับพูดสำทับว่า นางอยากให้เทพีอาเธน่าได้ยิน
และลงมาท้าประกวดฝีมือเสียด้วย ในที่สุดเทพีอาเธน่าก็สำแดงองค์ให้ปรากฏแก่อาแรคนี
ตามจริง และรับคำท้านั้นทันที ในที่สุดอาแรคนี ก็แพ้แก่เทพีอาเธน่า
และได้เสียใจยิ่งนัก ทั้งเจ็บทั้งอาย ในความผิดพลาดของตนไม่อาจทนอยู่ได้
หมายจะเอาเชือกผูกคอตาย เทพีเอเธน่าเห็นนางจะด่วนหนีโทษทัณฑ์ไป
จึงรีบแปรเปลี่ยนร่างของนางให้กลายเป็นแมงมุม ห้อยโหนโตงเตง และสาปให้นางต้องปั่น
และ ทอใยเรื่อยไปไม่มีเวลาหยุด
บางตำนานกล่าวว่า
อาเธน่าเคยแอบรักบุรุษรูปงามคนหนึ่งชื่อว่า เบลเลอโรฟอน
จนถึงกับเอาอานม้าทองคำมาให้เขาในความฝัน เนื่องจากเบลเลอโรฟอนต้องการขี่ม้าวิเศษ
เปกาซัส แต่ไม่ปรากฏว่าเทพีอาเธน่าได้สานเรื่องราวระหว่าง เทพีอาเธน่า
กับเบลเลอโรฟอนต่อไปแต่อย่างใด แต่ทว่าบุรุษหนุ่มผู้นั้นตกม้าตายในตอนหลัง
เทวีอาเธน่ามีต้นโอลีฟเป็นพฤกษาประจำตัว และนกฮูกเป็นนกคู่ใจ
เทพีอาเธน่านอกจากจะมีชื่ออาเธน่า
หรือ มิเนอร์วาแล้ว ยังรู้จักกันในชื่อ พัลลัส (Pallas) จนบางที เรียกควบกับชื่อเดิมว่า พัลลัสอาเธน่า
มูลเหตุของชื่อนี้สืบเนื่องมาจากปราบยักษ์ชื่อ พัลลัส อาศัยเหตุที่ได้ถลก
หนังยักษ์มาคลุมองค์ คนทั้งหลายเลยพลอยเรียกในชื่อของยักษ์นั้นด้วย
และเรียกรูปประติมา หรือ อนุสาวรีย์ อันเป็นเครื่องหมายถึงเทพีอาเธน่า ว่า พัลเลเดียม
(Palladium) หมายถึง ภาวะ หรือ ปัจจัยที่อำนวยความคุ้มครอง
วาดโดย Andrea Mantegna
นางไซคีผู้เลอโฉม
กามเทพ(Cupid
หรือ Eros) เป็นลูกของเทพเจ้า Mars ที่เป็นเทพเจ้าแห่งสงครามกับเทพี Venus หรือ Aphrodite
ซึ่งเป็นเทพีแห่งความงาม
เวลานั้นผู้คนต่างมุ่งหน้ามากรีก เพื่อชมความงามของไซคีได้ชื่อว่าเป็นหญิงงามที่สุดในหมู่มวลมนุษย์
จนถึงขนาดยกย่องให้เป็นเทพธิดาลงมาเกิดเลยทีเดียว จนกระทั่งหลงลืมบูชา
อะโฟรไดต์หรือ วีนัส เทพีแห่งความงามตัวจริง ปล่อยให้วิหารรกร้าง จนเจ้าแม่แกพิโรธ
สั่งให้คิวปิดไปแผลงศรใส่นางเพื่อให้เจ้าหญิงไซคีไปหลงรักกับชายที่อัปลักษณ์ที่สุดในโลก
คิวปิดจึงลงไปยังโลกมนุษย์
ขณะนั้น ไซคีกำลังหลับอยู่ คิวปิดย่องเข้าไป… เอาปลายลูกศรสัมผัสไซคีอย่างแผ่วเบา
ไซคีสะดุ้งตื่นขึ้นมา ทำให้คิวปิดตกใจ ซุ่มซ่ามถูกปลายลูกศรตนเอง จึงรีบบินหนีไป
โดยที่ไซคีเห็นพระองค์ไม่ถนัดตา ....ศรรักทำงานของมันอย่างซื่อสัตย์
คิวปิดหลงรักไซคี ต่อมาคิวปิดได้ลักลอบเข้าหานาง
แต่คิวปิดก็ไม่ได้เปิดเผยตัวให้เจ้าหญิงรู้
และบอกว่าพยายามอย่ารู้ว่าตนเป็นใคร..ทั้งสองอยู่กันอย่างมีความสุข..
Spagnolo
จนกระทั่งบรรดาพี่สาวของเจ้าหญิงไซคี ด้วยความอิจฉาน้องสาวก็เลยยุให้นางจุดเทียนในตอนที่คิวปิดหลับอยู่เพื่อดูหน้า นางจึงทำตามที่พี่สาวบอกเพราะอยากเห็นหน้าสามีของตนเหมือนกัน ด้วยความตะลึงในความงามสง่าของคิวปิด(จริงๆแล้วคิวปิดไม่ได้เป็นเทพเจ้าตัวเล็กอย่างที่สร้างรูปปั้น แต่คิวปิดเป็นเทพเจ้าหนุ่มหล่อที่งามสง่ามาก)ไซคีก็เผลอทำน้ำตาเทียนหยดใส่ไหล่ของคิวปิด คิวปิดคิวปิดตื่นขึ้นมา เสียใจมา จึงกล่าวขึ้นมาว่า “ความรักมิอาจอยู่ร่วมกับความหวาดระแวง” แล้วก็บินจากไปอย่างเศร้าสร้อย ไซคีรู้สึกผิดก็เลยออกตามหาคิวปิดไปยังโบสถ์และศาสนสถานต่างๆมาถึงวิหารบูชาของเทพีแห่งการเกษตร ซีรีส CERUS(พี่สาวของซูส จอมเทพ) นางเห็นเมล็ดข้าวฟ่าง ฟาง พันธุ์พืชต่างๆ กระจัดกระจายไปทั่ว จึงเก็บข้าวของเหล่านั้นให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และบวงสรวงเทพีซีรีส
เทพีซีรีสเห็นดังนั้นก็พอใจมาก จึงพานางไปหาวีนัสเพื่อให้นางขอโทษ และเมื่อนางไปถึงโบสถ์ของวีนัสนางก็ถูกกลั่นแกล้งสารพัด ให้นางไปนรก (เอรีบัส EREBUS) เพื่อไปขอมนต์ความงามจาก เพอร์เซโฟนี PERSEPHONE มเหสีแห่ง เฮดีส HEDES หนทางสู่ยมโลกคือความตาย นางจึงขึ้นไปบนหอคอย แล้วจะกระโดดลงมา ก่อนที่จะกระโดด หอคอยได้พูดกับนาง และแนะนำให้นางเดินทางไปทางทิศตะวันตก จนถึงโขดหินสีดำ จะมีถ้ำซ่อนอยู่ ให้เข้าไปในนั้น โดยนำขนมไป 2 ก้อน และอมเหรียญไว้ 2 อัน เมื่อเจอเซอร์บิรัสสุนัข 3 หัว ที่เฝ้าปากทางนรก ก็โยนขนมให้ 1 ก้อน
จากนั้นเมื่อมาถึงแม่น้ำสตีก STYX
จะพบกับแครอน CHARON คายเหรียญในปากให้ 1
เหรียญ (แครอนเป็นคนรับจ้างแจวเรือ รับคนตายข้ามแม่น้ำสตีกสู่ยมโลก
โดยค่าจ้างข้ามฟากได้แก่ เหรียญในปากศพ) เมื่อพบ เพอร์เซโฟนี ขอมนต์แห่งความงามแล้ว
ขากลับก็ให้เหรียญ และขนมที่เหลือแก่ แครอน และเซอร์บิรัส จะกลับมาได้อย่างปลอดภัย
ทั้งนี้ ห้ามเปิดโถที่บรรจุมนต์อย่างเด็ดขาดวีนัส ด้วยความอยากรู้เจ้าหญิงไซคีจึงเปิดดู
และเมื่อเปิดไปแล้วนางก็ต้องพิษสลบไป คิวปิดตามมาช่วยนางแล้วพานางไป …เทพเจ้าจูปิเตอร์เห็นใจนาง
จึงได้ดลบันดาลให้นางเป็นอมตะและครองคู่กับคิวปิดได้ในที่สุด
เกาะครีต-มิโนทอร์ (Minotaur)
ไมนอส (Minos) พยายามที่จะก้าวขึ้นสู่บัลลังก์กษัตริย์ของครีต (Crete) ในการทำเช่นนี้ไมนอสต้องชนะใจชาวครีตและอ้างว่าเทพเจ้าก็เห็นดีเช่นกัน ชาวครีตอาจจะไม่ค่อยพอใจกับการที่ไมนอสจะขึ้นเป็นกษัตริย์เท่าไร จึงท้าให้เขาขอโพไซดอน (Poseidon) เจ้าแห่งสมุทร ให้ส่งวัวพ่วงพีขึ้นมาจากทะเลให้ดูเป็นขวัญตา ไมนอสได้พยายามเฝ้าวิงวอนเทพเพื่อให้พระองค์ส่งวัวขึ้นมาให้ตามที่ชาวครีตท้าและสัญญาว่าจะฆ่าวัวตัวนั้นเป็นการบูชายัญเพื่อเป็นการสรรเสริญเกียรติแห่งโพไซดอนทันที
ไมนอสใช้เวลาไม่นานสิ่งประหลาดอย่างหนึ่งก็เกิดขึ้น ท่ามกลางความแตกตื่น และประหลาดใจของชาวครีต วัวสีขาวพ่วงพีที่งดงามตัวหนึ่งปรากฏขึ้นและว่ายตรงมาเข้าฝั่งดังคำวอนของไมนอส คำท้าทายของชาวครีตกลายเป็นความจริง ไมนอสจึงได้รับการเลือกเป็นกษัตริย์สม เจตนารมณ์ ถ้าเพียงแต่เมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์แล้วพระองค์รักษาสัญญาที่ให้ไว้ แต่ไมนอสก็ไม่สามารถทำ วัวสีขาวตัวนั้นช่างงดงามจนพระองค์ไม่กล้าเชือดมัน ได้แต่ปล่อยมันไว้กับฝูงสัตว์ของพระองค์และทำการบูชายัญวัวธรรมดาๆไปให้ โพไซดอน เจ้าแห่งสมุทร ซึ่งได้รับการบูชายัญอย่างบิดเบือนทรยศต่อคำมั่นสัญญาจึงไม่พอใจ โพไซดอนสาปให้ ปาซิฟาอี (Pasiphae) มเหสีของไมนอสหลงรักวัว! ปาซิฟาอีที่ต้องคำสาปเธอเฝ้าทุ่มเทดูแลวัวของเทพเจ้า เฝ้าโอบกอดทะนุถนอมลูบไล้อย่างเสน่หายิ่ง ถึงขนาดสั่งการให้ตามตัวแดดาลุส (Daedalus) นักประดิษฐ์มาที่ครีตสร้างแม่วัวปลอมขึ้นเพื่อตบตาเจ้าวัวหนุ่ม โดยนางจะเข้าไปหมอบสวมรอยอยู่ใต้ร่างแม่วัวปลอมตัวนี้คอยให้วัวงามของโพไซดอนมาร่วมอภิรมย์กับนาง ไม่นานนางก็ตั้งครรภ์ คลอดบุตรออกมา ความลับทั้งหลายที่พึงปิดบังไว้มานานก็แตก มันคือทารกประหลาดที่มีหัวเป็นวัวตัวเป็นคน
ไมนอสแทบกระอักเพราะความอับอาย
พระองค์เพิ่งนึกได้ว่านี่คือการแก้แค้นของเจ้าสมุทรทำกับพระองค์
แม้ว่าจะต้องการสังหารเจ้าเด็กปีศาจนี่ทิ้งเพียงไรแต่ไมนอสก็ต้องทนขมขื่นเลี้ยงมันไว้เพราะพระองค์เกรงว่าหากทำอะไรเป็นที่ขุ่นเคืองโพไซดอนซ้ำสองคราวนี้ครีตอาจจะไม่พ้นความพินาศ
ชาวครีตพากันเรียกขานมันว่า มิโนทอร์ ซึ่งแปลว่า โอรสวัวแห่งไมนอส
มันเป็นสัตว์ประหลาดเติบโตอย่างรวดเร็วมาก กลายเป็นสัตว์กระหายเลือดต้องการกินเนื้อคนเป็นอาหาร
ไมนอสได้ทำสิ่งหนึ่งที่จะสามารถยับยั้งสัตว์ร้ายตัวนี้ไม่ให้ออกไป
เพ่นพ่านหาคนกินตามอำเภอใจด้วยการสั่งแดดาลุส- นักประดิษฐ์
ให้สร้างคุกห้องโถงที่มีทางเข้าทางออกวกวนมีทั้งชั้นล่างและชั้นบนเป็นเขาวงกต (Labyrinth)
ในเวลาเดียวกับที่มิโนทอร์เกิดโอรสอีกองค์ของไมนอส
คือ แอนโดรจีอุส(Androgeus) ได้เดินทางไปสู่เอเธนส์เพื่อเข้าร่วมกีฬาโอลิมปิก
แอนโดรจีอุสเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถมาก
เขาจึงชนะการแข่งขันหลายรายการจนทำให้ชาว เอเธนส์เกิดความไม่พอใจ จึงแอบฆ่าทิ้ง
ไมนอสได้ทราบข่าวด้วยหัวใจชอกช้ำซ้ำสอง
พระองค์กรีธาทัพเข้าตีเอเธนส์ เพื่อเป็นการล้างแค้นให้แก่ลูกชาย
กองทัพของพระองค์เข้าโอบล้อมจนชาวเอเธนส์ต้องเจรจาหย่าศึก
ไมนอสมีข้อแม้เพียงประการเดียว นั่นคือทุกๆเก้าปีเอเธนส์ จะต้องส่งหญิงสาวเจ็ดคน
และชายหนุ่มเจ็ดคนลงขบวนเรือที่ชักใบดำนำทางมาครีต
และคนสนิทของราชาไมนอสก็จะนำเหยื่อเหล่านั้นส่งเข้าไปในเขาวงกต ซึ่งเหยื่อเหล่านั้นจะพบจุดจบที่น่าสยดสยอง
เป็นเวลา ยี่สิบเจ็ดปี
ต่อมาเธสิอุส
(Theseus)
ผู้เป็นโอรสของพระราชาอีจีอุส (Ageus) แห่งเอเธนส์
ได้ขอให้ส่งตัวไปพร้อมกับเหยื่อเคราะห์ร้ายไปสังเวยมิโนธอร์
เธสิอุสประกาศว่าเขาจะต้องเป็นผู้พิชิตมิโนทอร์ฆ่ามันให้ได้และจะกลับมาหาบิดาผู้ชราในเรือที่ติดใบสีขาว
แม้ว่าขณะนั้นเขายังคิดหาวิธีฆ่ามันไม่ได้เลยก็ตาม
อรีแอดนี (Ariadne) ซึ่งเป็นธิดาของไมนอสเอง
ที่ตกหลุมรักหนุ่มชาวเอเธนส์ทันทีที่ได้เห็น ขณะที่ยามผลักไสเธสิอุสให้เข้าในเขาวงกต
อรีแอดนีก็ยัดด้ายใส่มือเขาไปด้วย เธสิอุสโรยด้ายมาตามทางเดินที่วกวน
เขาคอยเงี่ยหูฟังเสียงมิโนทอร์อย่างระมัดระวัง จวบจนกระทั่งมาถึงทางหักเลี้ยวแรก
เธสิอุสได้ยินเสียงฝีเท้าคนพร้อมกับเสียงหายใจฟืดฟาดของวัวที่พุ่งเข้าหาด้วยความรวดเร็ว
เธสิอุสสามารถกระโดดหลบหลีกการจู่โจมของมิโนทอร์ ได้ทุกครั้ง
พอสบโอกาสเขาก็คว้าเขาของมิโนทอร์ไว้
และออกแรงบิดอย่างฉับพลันทำให้คอมิโนทอร์หักสะบั้น
วัวดุในร่างมนุษย์ที่ดุร้ายน่าสะพรึงกลัวของครีตก็สิ้นชื่อ
ภาพสีเฟรสโกที่ปอมเปอี
เธสิอุสคลำทางตามเส้นด้ายจนออกมาข้างนอกเขาวงกตแม้ว่าเธสิอุสจะได้เดินทางกลับบ้านไปพร้อมกับอรีแอดนี
ก็อาจจะเป็นเพราะเขาไม่ได้มีใจกับนางเลยก็ได้
เธสิอุสจึงทรยศรักกับเจ้าหญิงน้อยซึ่งช่วยเหลือเขา
ขณะที่เธอเผลอหลับเมื่อคราวขึ้นพักบนเกาะแนคซอส (Naxos) เธสิอุสก็ทิ้งเธอไว้ที่นั่นและรีบแล่นเรือหนีไปทันที
ทำให้เขาลืมสัญญาที่เคยให้ไว้กับบิดาผู้ชรา ลืมเปลี่ยนใบเรือจากดำเป็นขาว
อีจีอุสซึ่งเฝ้ารออยู่บนหน้าผาเมืองเอเธนส์ทุกวัน
แลเห็นเรือใบสีดำแล่นเข้ามาแต่ไกลก็เข้าใจว่าเธสิอุสลูกรักสิ้นชีวิตเสียแล้วราชาผู้ชราหัวใจแตกสลาย
จึงกระโดดลงจากผาเพื่อจะฆ่าตัวตายตามลูกรัก
by yuttavitcho.
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น