ศิลปะยุคบาโรค Baroque ตอนที่ 17 โยฮัน เฟอร์เมร์ (Johan Vermeer) ผู้สร้างภาพถ่ายในยุคทองของบาโรคเนเธอแลนด์

ภาพวาดตนเองปี c. 1656 ได้รับอิทธิพลการใช้แสงเงาของแรมบรังท์


โยฮันเนิส ไรเนียส์โซน เฟอร์เมร์ (Johannes Reynierszoon Vermeer) หรือ โยฮัน เฟอร์เมร์ (Johan Vermeer1632 –1675) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ มักวาดภาพที่แสดงถึงชีวิตประจำวันธรรมดาของคน เขาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองเดลฟท์ และเป็นจิตรกรที่ประสบความสำเร็จพอสมควรในเมืองของเขา แต่ว่าไม่ได้ร่ำรวยเป็นพิเศษเพราะสร้างผลงานค่อนข้างน้อย

ฮันเนิส เฟอร์เมร์ เกิดมาในครอบครัวชนชั้นกลางในเมืองเดลฟท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ถึงแม้ว่าเฟอร์เมร์จะมาจากครอบครัวโปรเตสแตนต์ แต่เขากลับแต่งงานกับกาตารีนา โบลเนิส ผู้ซึ่งนับถือนิกายโรมันคาทอลิก เขาทั้งสองย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านของแม่ยายซึ่งมีฐานะร่ำรวยกว่า เฟอร์เมร์อาศัยอยู่ที่เมืองเดลฟท์ตลอดชีวิต โดยวาดภาพในห้องด้านหน้าบนชั้นสอง ภรรยาของเขาให้กำเนิดบุตร 14 คน


ถนนสายเล็ก (The Little Street 1657-58)


หลังจากการเสียชีวิตของ ฮันเนิส เฟอร์เมร์ 350  ปีนักประวัติศาสตร์ศิลปต่างให้ความสนใจในตัวเขาพยายามสืบเสาะหามุมเมืองDelft ที่เขาได้วาดบันทึกไว้ในศตวรรษที่17 จนพวกเขาระบุได้ว่าบ้านหลังเดียวที่สามารถจับคู่กับฉากที่มีชื่อเสียงของเวอร์เมียร์ถึงแม้จะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา



ทิวทัศน์เมืองเดลฟท์ (View of Delft 1659-1660)


สตรีหลับ หรือ สตรีหลับที่โต๊ะ (A Girl Asleep หรือ A Woman Asleep at Table)

ภาพ “สตรีหลับที่เขียนในปี ค.ศ. 1657 เป็นภาพแรกๆ ที่เวร์เมร์เขียน อิทธิพลการเขียนของแรมบรังด์ในงานเขียนในช่วงนี้จะเห็นได้อย่างง่ายดายจากการใช้สีอันเรืองรองและการใช้ฝีแปรงสีหนา 

องค์ประกอบคล้ายกับภาพวาดลายเส้นภาพหนึ่งชื่อ เด็กสาวหลับที่หน้าต่าง”ของแรมบรังด์  การใช้แสงและการใช้สีหนักหนาเป็นเทคนิคของการเขียนภาพแบบแรมบรังด์
 ภาพเขียนที่แสดงการหลับและฝัน (และอาจจะดื่มไวน์ที่เห็นจากแก้วที่ล้มลง) ทำให้สาวใช้ละเลยหน้าที่ที่จะเห็นได้จากเฟอร์นิเจอร์ที่เกะกะและโต๊ะที่ไม่เรียบร้อย นอกจากนั้นสาวใช้ก็ยังทิ้งประตูเปิดไว้ ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นคุณสมบัติของสตรี และบ้านช่องที่ปล่อยละเลยโดยปราศจากการป้องกัน ภาพเขียนในหัวข้อเกี่ยวกับสาวใช้ในท่าต่างๆ เป็นที่นิยมเขียนกันในบรรดาจิตรกรชาวดัตช์ รวมทั้งอีกภาพหนึ่งของเวร์เมร์เอง สตรีเทนมและภาพ ไดแอนาและผู้ติดตาม


เด็กสาวอ่านจดหมายริมหน้าต่าง (Girl reading a Letter at an Open Window) 83 × 64.5 ซม. ปีค.ศ. 1657



ออกุสต์ที่ 3 อีเล็คเตอร์แห่งแซกโซนี (August III of Saxony) ซื้อภาพเขียนนี้ในปี ค.ศ. 1724 หลังการเสียชีวิตของเวอร์เมร์50ปี พร้อมกับภาพเขียนอื่นๆ ในปารีส ด้วยความเป็นผู้ไร้ชื่อเสียงของเขา ภาพนี้จึงถูกมองว่าเป็นงานเขียนของแรมบรังด์ ที่ต่อมาลดลงเหลือเพียง ภาพที่เขียนแบบตระกูลการเขียนของแรมบรังด์และเป็นของใครต่อใครอีก จนเมื่อปี ค.ศ. 1862 เท่านั้นจึงได้มาบ่งว่าเป็นงานของเวร์เมร์ในที่สุด


ในภาพเขียนนี้สตรีสาวเป็นศูนย์กลางขององค์ประกอบของภาพหันข้างไปทางหน้าต่างที่เปิดทางซ้ายของภาพ ด้านหน้าของภาพเป็นโต๊ะที่คลุมด้วยพรมเปอร์เชียผืนเดียวกับที่พบในภาพ สตรีหลับและบนจานใบเดียวกันกลางโต๊ะเป็นผลไม้ บนบานกระจกสะท้อนร่างของสตรีสาว
ขณะที่ทางขวาเป็นม่านใหญ่สีเขียวที่เหมือนเป็นกรอบภาพ ร่างของสตรีอยู่บนผนังที่ว่างเปล่าที่สะท้อนแสงกลับมาสว่างเรืองบนตัวแบบ
ความเด่นของภาพอยู่ที่ความนิ่งและความเด่นของเนื้อหาของภาพ, ความหมกมุ่นและความห่างไกลจากโลกภายนอกของตัวแบบ สตรีสาวในภาพสนใจเพียงสิ่งเดียวคือจดหมายที่จับไว้ในมือและตั้งอกตั้งใจอ่านเนื้อหาในจดหมายอย่างแน่วแน่
วิธีการเขียนมาจากส่วนหนึ่งของแรมบรังด์ เวเมร์ใช้ปลายแปรงที่หนาเล็กๆ แต้มเพื่อสร้างโครงร่างของภาพ และเน้นด้วย Impasto(เนื้อสีที่หนา)แทนโทนสีที่หนักกว่า ปัจจุบันภาพนี้ตั้งแสดงอยู่ที่ หอจิตรกรรมชั้นครูแห่งเดรสเดนในประเทศเยอรมนี

หญิงรินนม(The Milkmaid ) 1658

ภาพที่เล่าเรื่องสาวใช้กำลังริมนมวัวจากเหยือกดินเผาลงในหม้อดิน ถ้าดูสิ่งของที่วางบนโต๊ะ ตะกร้าหวายใส่ขนมปังหลายชนิด กับเศษขนมปังที่กองอยู่นอกตะกร้า และภาชนะเซรามิคที่น่าจะเป็นเหยือกใส่น้ำผึ้ง เธอคงกำลังเตรียมทำอาหารประเภทคัสตาร์ท
เธอแต่งกายเหมือนเช่นสาวดัชน์ทั่วไปในยุคนั้น ผ้าคลุมผมกึ่งหมวกผ้าลินินสีขาว กับเสื้อผ้าฝ้าย รัดรูปสีเหลือง และผ้ากันเปื้อนสีน้ำเงิน  
สีน้ำเงินโคบอลต์ ดูธรรมดา แต่ยุคศต.17เป็นสีที่สกัดจากหินแร่ลาปิส ลาซูรี่ ที่ต้องนำเข้า
 จากอัฟกานิสถาน

ใบหน้าเธออมยิ้มที่มุมปากเล็กน้อย ขณะที่สีหน้าแววตากำลังเพ่งสมาธิกับสายน้ำนมที่ไหลออกจากเหยือกลงหม้อ
นักวิชาการศิลปะวิจารย์กันว่าเป็นการจัดองค์ประกอบภาพที่สมบูรณ์ทุกสัดส่วนทั้งคนและวัตถุโดยรอบตลอดจนการสาดของแสงเข้ามาทางช่องหน้าต่าง  ทั้งนี้เพราะเวอร์แมร์ใช้เครื่องมือ
 พิเศษที่ทุกคนรู้จักดี ที่ฝรั่งเรียกว่า แคเมร่า ออฟสกูร่า camera obscure
 หรือเราเรียกว่า-กล้องรูเข็ม ทำให้ภาพเขียนของเขาราวกับรูปถ่าย
ภาพนี้นักวิจารย์ศิลปได้มโนกันว่า ในสังคมชาวดัชน์ เขามีคนใช้ที่ทำหน้าที่
 รับใช้ในบ้านผู้มีอันจะกิน นอกจากทำงานในครัวในบ้าน
 แล้ว พวกเธอบางส่วนอาจจะทำหน้าที่รีดนมวัวในคอกด้วย
 และระหว่างที่เธอรีดนมวัว พวกเธอจะก้มๆเงยๆ
 พวกเจ้านายผู้ชายมักจะลอบมองทางช่องหน้าต่าง และโลมเลียดัวยสายตา
 จนกลายเป็นธรรมเนียมในยุคนั้น
เตาความร้อนที่เรียกว่า ฮีทเตอร์ที่วางบนพื้นใกล้ๆกับบริเวณเธอยืน มันทำหน้าที่
 คล้ายๆเตารีดผ้า ใส่ถ่านหินติดไฟข้างในเพื่อให้ ความร้อนในหน้าหนาว 
 แต่ถ้าวางใกล้กระโปรงผู้หญิงยังงี้ มันมีนัยยะว่า
 กำลังส่งความร้อนถึงความรู้สึกข้างใน และนัยยะอีกอย่างในภาพ คือกระเบื้องที่แนบผนังอยู่ เป็นลวดลายรูปกามเทพ กับผู้ชายถืออะไรเป็นแท่งอะไร สักอย่าง ล้วนบ่งบอกถึงอารมณ์ในภาพนั้น



ไดแอนาและผู้ติดตามDiana_and_Her_Companions

ภาพนี้ไม่มีการยอมรับว่าเวร์เมร์เป็นผู้วาดจนกระทั่งศต.ที่19 จึงสังเกตเห็นความคล้ายกันของนางแบบ 2 คนในภาพที่เขาเคยวาด ภาพล่างหลังจากทำความสะอาด ท้องฟ้าที่ฉากหลังจึงปรากฎขึ้น 

The Girl with the Wine Glass (c. 1659)


สตรีกับสร้อยไข่มุก (Woman with a Pearl Necklace 1662-64)

Woman reading a letter ca. 1662-1663


Woman Holding a Balance1664

เป็นภาพหญิงสาวสวมเสื้อสีน้ำเงินกับขนสัตว์ตัดเย็บยืนนิ่งอยู่ที่โต๊ะในมุมของห้อง ถือ ตาชั่งในมือขวามีความสมดุลแสดงถึงสภาพจิตใจภายในของเธอ มีภาพวาดขนาดใหญ่ของคำตัดสินครั้งสุดท้ายซึ่งมีกรอบเป็นสีดำแขวนอยู่บนผนังด้านหลังของห้อง กล่องเปิดให้เห็นไข่มุกสองเส้นและห่วงทองอยู่บนโต๊ะ แสงอ่อน ๆ เข้ามาทางหน้าต่างกระทบใบหน้าอันสงบเงียบขณะกำลังของการไตร่ตรอง




ภาพของผู้หญิงและรูปคำตัดสินครั้งสุดท้ายด้านหลังเป็นการเสริมด้วยแนวความคิด: การตัดสินคือการชั่งน้ำหนัก ฉากนี้มีผลทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับแบบฝึกหัดทางจิตวิญญาณ เพื่อให้บรรดาผู้ศรัทธาก่อนนั่งสมาธิตรวจสอบจิตสำนึกและชั่งน้ำหนักความผิดบาป การวิปัสสนาดังกล่าวอาจนำไปสู่การเลือกที่ดีงามตามวิถีชีวิต ผู้หญิงถือครองสมดุลจึง เปรียบเสมือนการเรียกร้องให้เราดำเนินชีวิตของเราด้วยความพอประมาณและมีสติ


ศิลปะของการเขียนภาพหรือ จิตรกรในห้องเขียนภาพ: The Art of Painting หรือ Painter in his Studio


เป็นภาพเขียนที่ใหญ่ที่สุดและซับซ้อนที่สุดของงานทั้งหมดที่เวร์เมร์เขียน

ภาพเขียนนี้มีชื่อเสียงเป็นภาพเขียนที่เวร์เมร์ชอบที่สุดและเป็นภาพที่เป็นงานเขียนแบบภาพลวงตา แม้ว่าจะเป็นภาพที่เขียนในสมัยที่ยังไม่มีเทคโนโลยีในด้านการถ่ายภาพแต่ก็สามารถแสดงความเป็นจริงในการสร้างรายละเอียดทางจักษุอย่างภาพถ่ายได้ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของภาพนี้คือการใช้สีที่สดและแสงที่จัดจ้าที่สาดเข้ามาทางหน้าต่าง

 ในภาพนี้มีตัวแบบเพียงสองคน: จิตรกรและนางแบบ จิตรกรเชื่อกันว่าเป็นเวร์เมร์เองแต่เราไม่เห็นใบหน้า

 สิ่งของต่างๆ ในห้องเขียนภาพหลายสิ่งดูไม่ควรจะเป็นสิ่งของที่น่าจะมีในห้องเขียนภาพของจิตรกรตามปกติ พื้นหินอ่อนตาหมากรุกและโคมทองเหลืองเป็นตัวอย่างของสิ่งที่ตามปกติแล้วจะเป็นสิ่งของที่มีอยู่ในบ้านของผู้มีฐานะดีเท่านั้น


หน้ากากที่วางอยู่บนโต๊ะข้างจิตรกรเชื่อกันว่าเป็นหน้ากากมรณะ (death mask) ที่เป็นสัญลักษณ์ของความด้อยสมรรถภาพของแฮ็บสเบิร์ก

เหยี่ยวสองหัวกลางโคมเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์แฮ็บสเบิร์กแห่งออสเตรียที่เดิมเป็นผู้ครองฮอลแลนด์

แผนที่ในฉากหลังเป็นแผนที่ของกลุ่มสหพันธ์สิบเจ็ดจังหวัดของเนเธอร์แลนด์ขนาบด้วยศูนย์กลางของอำนาจที่พิมพ์โดยแคลส ยานสซ์ วิสเชอร์ (Claes Jansz Visscher) ในปี ค.ศ. 1635
แผนที่บนฉากหลังมีรอบพับที่แยกด้านเหนือของเนเธอร์แลนด์จากด้านใต้ (ด้านตะวันตกอยู่ทางเหนือของแผนที่ตามธรรมเนียมที่ทำกัน) รอบพับเป็นสัญลักษณ์ของการแบ่งแยกสารธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ทางเหนือและกลุ่มจังหวัดทางใต้ที่ปกครองโดยแฮ็บสเบิร์ก แผนที่วาดโดย Claes Jansz Visscher (Nicolaum Piscatorem) และเขียนก่อนหน้าที่ภาพเขียนนี้และแสดงการแบ่งแยกทางการเมือง
ภาพเขียนนี้เป็นภาพเขียนชิ้นสำคัญเพราะเวร์เมร์ไม่ยอมขายแม้เมื่อมีหนี้สิน หลังเวอร์เมร์เสียชืวิต ภรรยาเขายกภาพเขียนให้มาเรีย ทินส์ผู้เป็นแม่เพื่อจะเลี่ยงการที่จะต้องขายภาพนี้

หลังจากนาซีเข้ารุกรานออสเตรีย นายทหารคนสำคัญของนาซีหลายคนพยายามเป็นเจ้าของภาพนี้ ในที่สุดอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ก็ซื้อภาพนี้จำนวนเงิน 1.65 ล้านไรค์สมาร์ในปี 1940



 ออสเตรียได้รับภาพเขียนนี้คืนหลังจากที่ถูกนำไปเก็บไว้ในเหมืองเกลือเพื่อป้องกันจากการถูกระเบิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1945 ฝ่ายอเมริกาคืนภาพเขียนให้แก่รัฐบาลออสเตรียในปี ค.ศ. 1946 ในปัจจุบันภาพนี้จึงเป็นสมบัติของประเทศออสเตรีย


The Music Lesson or A Lady at the Virginals with a Gentleman (c. 1662–65)
The Glass of Wine1658-1660

The Guitar Player 1672 ภาพคนเล่นกีต้าร์
หลังจากการเสียชีวิตของเวอร์เม ภรรยาม่ายของเขาได้นำภาพนี้มาใช้หนี้ 617 กิลเดอร์ร่วมกับภาพ Lady Writing a Letter with Her Maid; (เลดี้เขียนจดหมายกับแม่บ้านของเธอ)  ในปีค.1974(พ.ศ. 2517 )ภาพ The Guitar Player ถูกขโมยไปจากบ้านของเคนวูดและเรียกค่าไถ่มากกว่า 1,000,000 เหรียญดอลลาร์ในร้านอาหารที่จำหน่ายบนเกาะแคริบเบียนของ เกรเนดา ต่อมาชิ้นส่วนเล็กๆของภาพถูกส่งไปยัง The Times อีก3เดือนต่อมามันถูกค้นพบโดย สกอตแลนด์ยาร์ด ในสุสาน เซนต์บาร์โธโล ในย่านการเงินของกรุงลอนดอน ปัจจุบันภาพนี้อยู่ในคอลเลกชันของ พิพิธภัณฑ์ศิลปะฟิลาเดลเฟีย
เลดี้เขียนจดหมาย กับแม่บ้านของเธอ (Schrijvende vrouw met dienstbode) ค.ศ. 1670-1671
ภาพแสดงให้เห็นว่าแม่บ้าน วัยกลาง ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารและไปทำธุระระหว่างผู้หญิงกับคนรักของเธอ งานนี้ถูกมองว่าเป็นสะพานเชื่อมระหว่างความยับยั้งชั่งใจที่เงียบสงบและการควบคุมตนเองของ Vermeer อาจได้รับแรงบันดาลใจบางส่วนจากภาพวาดผู้หญิงเขียนจดหมายของ Ter Borch
แสดงทิศทางของเส้นในภาพ
เป็นการจัดองค์ประกอบภาพที่ไม่อยู่กลางภาพทำให้รู้สึกมีแรงเหวี่ยง แม่บ้านยืนอยู่ด้านหลังมือประสานกันแนบตัว แสดงความรู้สึกของการกักกันตนเอง ท่าทางเธอแยกออกจากสุภาพสตรีที่เป็นเจ้านายทั้งอารมณ์และจิตใจ แม่บ้านจ้องมองไปที่หน้าต่างที่มองเห็นได้ครึ่งหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความกระวนกระวายใจและความเบื่อหน่ายขณะที่เธอรออย่างไม่อดทนที่จะนำจดหมายของนางออกไป
ภาพเลดี้เขียนจดหมาย  ถูกขโมยไปปี 1974(พ.ศ. 2517) พร้อมกับอีก 3 ภาพเป็นของ โกยา-Goya /เกนเบอเรอก-Gainsboroughsและภาพของ รูเบนส์ Rubensจาก บ้านของ เซอร์อัลเฟรดเบย์ โดยสมาชิกติดอาวุธของ ไออาร์เอ อย่างไรก็ตามภาพของ Vermeer และผลงานอื่น ๆ ถูกค้นพบในอีกแปดวันต่อมาที่กระท่อมแห่งหนึ่ง  ต่อมาในปี1986ภาพนี้ถูกโขมยอีกครั้งด้วยค่าไถ่20 ล้านนอนด์  7ปี ต่อมาจึงจับโขมยได้ขณะทำการแลกเปลี่ยนที่ท่าอากาศยาน แอนต์เวิร์ปโดยตำรวจไอริช   ปัจจุบันอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติไอร์แลนด์
ภาพอุปมานิทัศน์ของความเชื่อคาทอลิก The Allegory of Faith ปัจจุบันอยู่ที่Metropolitan Museum of Art in New York,
นางแบบใส่ชุดผ้าซาตินขาวและน้ำเงินขอบทอง ภาพของเขาแสดงการวางองค์ประกอบศิลป์ที่สมัยใหม่แต่ก็ยังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ตกแต่งอยู่ในยุคสมัยนั้น ส่วนมากภาพเขาจะมีพรมทอเป็นม่านทางขวามือที่เปิดออกเผยให้เห็นภาพเหมือนฉากละคร ลักษณะภาพเป็นเชิงสัญลักษณ์ โดยเท้าขวาเหยียบลูกโลกเปรียบเหมือนแผ่นดิน มือขวากุมหัวใจอยู่ แขนซ้ายของเธอวางอยู่บนขอบแท่นวางหนังสือขนาดใหญ่ และมีไม้กางเขนเป็นไม้สีเข้มตั้งอยู่

สตรีกับเหยือกน้ำ (Woman with a Water Jug .. 1660-62)
Study of a Young Woman - Johannes Vermeer (1665) Metropolitan Museum of Art - New York

Lady Seated at a Virginal (c. 1672)

สาวใส่ต่างหูมุก  Girl with a Pearl Earring ค.ศ. 1665 Z 44.5 cm × 39 )
"สาวใส่ต่างหูมุก" ที่บางครั้งเรียกว่า "โมนาลิซาแห่งทางเหนือ" หรือ "โมนาลิซาของชาวดัตช์"

โดยทั่วไปแล้วเกือบจะไม่มีอะไรที่ทราบเกี่ยวกับผู้เขียนภาพและงานที่เขียน ภาพนี้ลงชื่อ "IVMeer" แต่ไม่ลงวันที่และไม่ทราบแน่ชัดว่างานนี้เป็นงานที่รับจ้างเขียนหรือไม่ และถ้าใช่แล้วใครเป็นผู้จ้าง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ภาพนี้มิได้จงใจจะให้เป็นภาพเหมือนธรรมดา
สาวน้อยในภาพเหลียวหลังกลับมาในจังหวะที่แสงสาดมาตกกระทบทำมุมพอดีกับฉากหลังที่เป็นสีมืดทึบ ทำให้เธอโดดเด่นเป็นที่ชื่นชอบลุ่มหลงของผู้คนทั่วโลก


แสดงภาพก่อนได้รับการบูรณะซ่อมแซม

เป็นงานเขียนของเนเธอร์แลนด์ที่เป็นส่วนใบหน้าที่มิได้จงใจจะให้เป็นภาพเหมือนที่เจาะจงว่าเป็นใคร หลังจากการบูรณะครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 1994 สายตาที่มองมายังผู้ดูได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นมีนักวิชาการโต้เถียงกันว่าต่างหูในรูปน่าจะเป็นดีบุกขัดมากกว่าจะเป็นมุก บนพื้นฐานของการสะท้อน รูปร่างลูกแพร์ ที่มีขนาดใหญ่   สีพื้นหลังดูมืดด้วยสีเคลืบเขียวและสีน้ำเงินเข้ม indigo ที่ศิลปินระบายฉาบไว้



เนื่องจากงานของเฟอร์เมร์มีจำนวนไม่มากจึงมีการรณรงค์ ในการป้องกันการขายภาพของเฟอร์เมร์ให้กับผู้ซื้อนอกเนเธอร์แลนด์
 อาร์โนลดึส อันดรีส เด ตงบ์ (Arnoldus Andries des Tombe) ได้ซื้องานชิ้นนี้จากงานประมูลที่เดอะเฮกในปี ค.ศ. 1881 ในราคาเพียงสองกิลเดอร์สามสิบเซนต์ เพราะภาพเขียนอยู่ในสภาพที่ไม่ดีนัก เด ตงบ์ไม่มีผู้สืบตระกูลที่จะรับภาพเขียนต่อจึงได้อุทิศภาพเขียนนี้ให้แก่เมาริตส์เฮยส์ในปี ค.ศ. 1902
เฟอร์เมร์ถูกลืมไปกว่าสองร้อยปี และกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งเมื่อนักวิจารณ์ศิลปะชื่อ ตอเร-เบือร์เกอร์ (Thoré-Bürger) เขียนบทความระบุภาพ 66 ภาพว่าเป็นของเขา (แต่มีเพียง 35 ภาพที่เป็นที่ยอมรับอย่างแน่นอนว่าเป็นของเขาในปัจจุบัน) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชื่อเสียงของเฟอร์เมร์ก็เริ่มโด่งดังขึ้น ได้รับการยกย่องว่าเป็นจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในสมัยยุคทองของเนเธอร์แลนด์ และเป็นที่ยอมรับในเรื่องเทคนิคการใช้แสงในผลงานของเขา

แต่ละภาพของเขาแสดงถึงการทุ่มเทให้กับการเขียน เขาทำงานอย่างช้าๆด้วยความประณีต ประกอบกับเสียชีวิตไปด้วยวัยเพียง 43 ปี ผลงานของเขาจึงนับได้ไม่กี่ชิ้น ซึ่งแต่ละภาพก็ถือเป็นมาสเตอร์พีชทีเดียว


"สาวใส่ต่างหูมุก"ได้ชื่อว่าเป็น1ใน20ภาพวาดของศิลปินที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ได้ถูกดัดแปลงนำไปใช้อย่างกว้างขวาง เช่น งานโฆษณา แฟชั่น นิยาย บทละคร ภาพยนต์ ฯลฯ


ศิลปินเขียนกำแพงชาวอังกฤษ Banksy ได้สร้างภาพวาด Girl with a Pearl Earring เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังใน Bristol เปลี่ยนต่างหูมุกกับกล่องการปลุก และเรียกงานศิลปะนี้ว่า สาวกับแก้วหูถูกแทง


"สาวใส่ต่างหูมุก"ได้ถูกแต่งเป็นนวนิยายได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกันในปี ค.ศ. 2003และต่อมาเป็นละครในปี ค.ศ. 2008ในนวนิยายเฟอร์เมร์มีความใกล้ชิดกับครีต สาวใช้ที่เฟอร์เมร์จ้างให้เป็นผู้ช่วยและให้นั่งเป็นแบบให้ ขณะที่ใส่ต่างหูข้างหนึ่งของภรรยา

ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานศิลปะเมาริตส์เฮยส์ (Mauritshuis) ในเดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศิลปะยุคกรีก

ศิลปะยุค โรโกโก ตอนที่1 ศิลปแห่งความอ่อนหวานและรุงรัง