นีกอลา ปูแซ็ง Nicolas Poussinและซิมง วูเอท์ Simon Vouetหัวหอกบาโรคแห่งฝรั่งเศส
นีกอลา ปูแซ็ง Nicolas Poussin ผู้หลงไหลแนวคลาสิคในยุคบาโรค และซิมง วูเอท์ Simon Vouet ผู้นำศิลปะบาโรคจากอิตาลีมาเผยแพร่ในฝรั่งเศส
นีกอลา ปูแซ็ง เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมสีน้ำมัน
Self
portrait by Nicolas Poussin, 1650
ปูแซ็งเกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.
1594 ที่เมืองเลซ็องเดอลีในนอร์ม็องดีในประเทศฝรั่งเศส และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19
พฤศจิกายน ค.ศ. 1665 ลักษณะการเขียนเป็นแบบคลาสสิกซิสม์ งานของปูแซ็งเจะชัดเจน
มีเหตุผลและมีระเบียบและนิยมเส้นมากกว่าสี
ปูแซ็งเกิดที่เลซ็องเดอลีในนอร์ม็องดีและได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่รวมทั้งภาษาละติน
งานร่างสมัยแรกเป็นที่สังเกตของก็องแต็ง วาแร็ง Quentin Varin จิตรกรท้องถิ่นที่ปูแซ็งได้เป็นลูกศิษย์จนกระทั่งหนีไปปารีสเมื่ออายุ
18 ที่ปารีสปูแซ็งเข้าศึกษากับห้องผลิตงานของแฟร์ดีน็อง แอล จิตรกรเฟลมิช และต่อมาศึกษากับฌอร์ฌ
ลาลม็อง (Georges Lallemand)
จิตรกรฝรั่งเศสภายหลังมีชื่อเสียงจากการเป็นอาจารย์ของปูแซงผู้ยิ่งใหญ่
ซิมง วูเอท์ Simon Vouet (1590-1649 )
ภาพเขียนตนเองของเขาจิตรกรฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงในโรมที่ให้ความช่วยเหลือเมื่อปูแซงไปโรมใหม่ๆ ซิมง วูเอท์เกิดในครอบครัวจิตรกร บิดาเป็นศิลปินแห่งเมืองลอเรนต์สอนการวาดภาพแก่เขา นอกจากนี้ยังมีพี่ชายและหลานชายที่เป็นจิตกรอีกด้วย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวาดคนเหมือน
Cardinal Francesco
Barberiniผู้เป็นหลานของโปป Pope
Urban VIII
ปี1624
เมื่อปูแซงมีอายุได้30ปีได้เดินทางไปทำงานที่โรม ได้พบกับ Simon Vouet จิตรกรบาโรคฝรั่งเศสที่ทำงานอยู่ที่นั่นมาก่อนก่อน ได้ Cardinal Francesco Barberini เป็นลูกค้ารายแรกๆได้รับงานครั้งแรกคือภาพ Death of
Germanicus และ
the Martyrdom of Saint Erasmus
Death of Germanicus, 1628
martyrdom of St Erasmus1629 การพลีชีพของเซนต์อีรามัส
ด้วยการแข่งขันกันสูงตามสไตล์บาโรคแนวคาราวัจโจที่กำลังรุ่งเรืองภาพ
martyrdom of St Erasmus
สำหรับติดตั้งที่ St. Peter
ของปูแซงที่อวดต่อสาธารณะชนรู้สึกว่าจะไม่ค่อยเข้าตาชาวบ้านเท่าไหร่
ทำให้เขาเสียความรู้สึกพอควร หลังจากสร้างงานชุดนี้ปูแซงได้ป่วยจนต้องไปพักรักษาตัวที่บ้านเพื่อน
Jacques Dughet
ซึ่งเป็นจิตรกรทำงานร่วมกัน โดยมีลูกสาวของเขา Anna Maria,คอยพยาบาล ปีต่อมาปูแซงได้แต่งงานกับ
Anna Maria และนอกจากนี้ยังได้ทำงานร่วมกับClaude
Lorraine จิตรฝรั่งเศาอีกคนที่อยู่ในโรม
Jacques Dughet ภาพเขียนตนเองของเขาผู้เป็นทั้งเพื่อนและพ่อตาของปูแซง
Tancred and Erminia (early1630
เป็นงานช่วงแรกๆที่ได้รับอิทธิพลการวาดจากคาราวัจโจก่อนจะเปลี่ยนไปแนวคลาสสิคที่เข้าทางกว่า
ปูแซ็งใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงทำงานเขียนในกรุงโรม
นอกจากช่วงที่คาร์ดินัลรีเชอลีเยอ (Cardinal Richelieu) เรียกตัวกลับมาฝรั่งเศสเพื่อมาเป็นเป็นจิตรกรเอกประจำราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่8
แห่งฝรั่งเศส
Cardinal Richelieu คาดินันแห่งฝรั่งเศส
วาดโดยChampaigneเพื่อนจิตกรผู้มีชื่อเสียงยุคเดียวกัน
Bacchanale or Bacchus and Ariadne, 1624–1625,
the massacre of the innocents 1626
The Rape of the Sabine Women
Les Bergers d’Arcadie” "คนเลี้ยงแกะของอาร์คาเดีย" 1630 เป็นภาพสำคัญของปูแซงที่นักประวัติศาสตร์ศิลปวิคราะห์ถึงนัยยะแฝงไว้ในภาพอย่างไม่รู้จบสิ้น
The Empire of Flora (1631)
The Triumph of David, c. 1630
Sacrament of Ordination (Christ Presenting the Keys to
Saint Peter) , c. 1636–1640,
เมื่อปูแซงกลับมาฝรั่งเศสในปี1640
ปูแซ็งพบว่าศิลปะฝรั่งเศสขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง
ระบบการฝึกงานกับครูบาแบบเก่าเริ่มจะกระทบกระเทือน แต่ระบบการศึกษาจากสถาบันยังไม่ได้รับการก่อตั้งโดยซีมง
วูแอ (Simon Vouet) แต่เมื่อพบกับกูร์ตัว
(Courtois) นักคณิตศาสตร์
ปูแซ็งก็ตื่นเต้นกับการศึกษางานสะสมภาพพิมพ์ลายแกะของกูร์ตัวที่ทำโดยมาร์คันโตนีโอ
ไรมอนดี (Marcantonio Raimondi) ตามแบบมาสเตอร์อิตาลี
ภาพพิมพ์โดย
Marcantonio Raimondi ที่จุดประกายสร้างสรรค์ให้กับปูแซง
ภายหลังลาออกจากจิตรกรราชสำนักแล้วไปยังโรมที่เขาหลงไหลในภุมิประเทศและสถาปัตยกรรม
งานสำคัญส่วนมากสร้างขึ้นที่นี่
Landscape with Three Menc.1645 - 1650
Landscape with a Calm, 1650–51
The Annunciation, c. 1655–1657, National Gallery, London
บั้นปลายชีวิตเขามีปัญหากับสุขภาพมีอาการมือสั่นไม่สามารถวาดภาพได้
ปูแซ็งเสียชีวิตที่โรม เมื่ออายุ71 ปี หลังจากการเสียชีวิตของเขา
ผลงานจำนวนมากได้ตกอยู่ในการครอบครองของพระเจ้าหลุยส์ที่14
ปัจจุบันยังมีผลงานของเขาประดับ ณ ราชวังแวร์ซายอยู่หลายภาพ
อนุสาวรีย์
Nicolas Poussin
ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Musée des Beaux-Arts in Rouen
(France, Normandy), โดย
Ernest-Eugène Hiolle
’ถึงแม้ปูแซงจะทำงานส่วนใหญ่และเสียชีวิตที่อิตาลีแต่อนุสาวรีย์ของเขาได้ถูกประดิษฐานขึ้นมากมายในปารีสและฝรั่งเศส
ปูแซ็งมีอิทธิพลต่อจิตรกรที่มีลักษณะเขียนไปทางคลาสสิกมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่
20 เช่น ฌัก-หลุยส์ ดาวีด Jacques-Louis David,แองส์ Jean Auguste Dominique Ingres,จิตรกรกลุ่มนีโอคลาสิค,และจิตกรหลังนีโอคลาสสิค(กลุ่มเรียลิสติค)เช่น มิลเล Jean-Francois Millet, โคโร
Camille Corot, (นีโออิมเพรสชั่นนิสซ์) ปอล เซซาน Paul Cezanneและ ปิกัสโซ เป็นต้น ซึ่งปิกัสโซ่ตัดทอนเน้นถึงเส้นหลักๆ
Simon Vouet, Self-portrait, c. 1615 ;ภาพวาดตนเองเมื่ออายุ25 ปี
ส่วนวูเอท์ นั้นในวัยต้นหลังจากศึกษาจากบิดา
เมื่ออายุ14 ได้เดินทางไปอังกฤษตระเวณเขียนภาพเหมือน แล้วไปเวนิสเมื่ออายุ22 ปีศึกษางานอยู่2
ปีแล้วไปโรมในปี 1614
ที่โรมเขาประทับใจการใช้แสงเงาในงานของคาราวัจโจมากได้ซึมซับการวาดแบบบาโรค
ได้พบปะกับศิลปินหลายคน เช่น Carracci,ที่ Bologna ผู้มีชื่อเสียงด้านจิตรกรรมฝาผนังเขาเปิดการสอนแบบ
academy ด้วยและศึกษาการใช้สีจาก
Paolo Veronese's จิตรกรที่มีการใช้สีอย่างโดดเด่น
self-portrait Annibale Carracci จิตรกรรุ่นพี่คาราวัจโจ(อายุมากกว่าคาราวัจโจ11
ปี)ที่ดังตีคู่กันมาได้รับมอบหมายให้วาดผลงานชิ้นใหญ่ๆหลายที่ตามผนังโบสถ์
เขาเสียชีวิตก่อนคาราวัจโจเพียง1 ปี
the cyclops polyphemus
ผลงานจิตกรรมฝาผนังของ Annibale Carracci (1560-1609) ในยุคต้นแห่งบาโรคอิตาลี
David with the Head of Goliath
ภาพของวูเอท์ในแนวของคาราวัจโจได้รับการต้อนรับอย่างดีในโรม จนเขาเป็นที่ยอมรับของจิตรกรอิตาลี
The Fortune teller 1618 ภาพนักทำนายมีลักษณะล้อเลียนคล้ายกับงานของคาราวัคจิโอ แต่กลับกันคือภาพนี้หมอดูโดน18มงกุฎหลอกแทน
“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622)
angel-with-attributes-of-the-passion
The ill-matched couple (Vanitas), c. 1621
วูเอท์
ตระเวณดูงานที่ สถาบันศิลปะต่างๆในGenoa Naples.
จากความสามารถของเขาในที่สุดเขาได้รับความเชื่อถือได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้อำนวยการศิลปะแห่ง
Accademia di San Luca แห่งอิตาลีในปี 1624
เมื่ออายุ34
Virginia da Vezzo (artists_wife) c1627วาดภรรยาของตนเอง
เมื่อวูเอท์กลับมาฝรั่งเศสในปี1627
ได้นำการวาดภาพแบบบาโรคของอิตาลีเข้ามาเผยแพร่เป็นที่ประทับใจของพระเจ้าหลุยส์ที่13(บิดาของพระเจ้าหลุยส์ที่14)ได้สนับสนุนให้เปิดสถาบันการศึกษาศิลปขึ้นเป็นครั้งแรกในฝรั่งเศส
วูเอท์จึงเปรียบเสมือนผู้อำนวยการคนแรกแห่งสถาบันนี้เขามีลูกศิษย์คนสำคัญคือ
Charles le Brun,จิตรราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่14
วูเอท์จิตกรราชสำนักแห่งฝรั่งเศสเสียชีวิตในปี1649 อายุ59 ปี
นางยูโรปาThe Rape of Europa 1640
Saturn, Conquered by Amor, Venus and Hope1645-46
ผลงานภาพแนวบาโรคที่เขาวาดเผยแพร่ในฝรั่งเศส
เสียดายว่าภาพวาดวูเอท์ที่วังของพระเจ้าหลุยส์ที่13และภาพขนาดใหญ่ที่ตกแต่งใน Parisian houses and country chateaux ฝรั่งเศสได้ถูกทำลายไปแล้วในช่วงสงครามกลางเมือง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น