ศิลปะยุคบาโรค Baroque ตอนที่ 11เดียโก เบลัซเกซ Diego velazquez จิตรกรสเปนผู้รักความเสมอภาค

เดียโก เบลัซเกซ Diego velazquez (Diego Rodríguez de Silva y Velázquez )-1599-1660 จิตรกรในราชสำนักของพระเจ้าฟิลิปส์ที่4แห่งสเปน

self-portrait, c.1645 - Diego VelazqSeuez 

เบลัซเกซ เกิดที่ Seville ประเทศสเปนก่อนจะย้ายมามาดริด  ถึงครอบครัวนี้จะมีฐานะไม่สู้ดี แต่ก็ให้ความสำคัญในการศึกษาของลูกๆ โดยให้เรียนละติน ปรัชญา และศิลปะตั้งแต่เด็ก  เขาศึกษาศิลปกับ Francisco Herrera ศิลปินชาวสเปนที่เมือง Seville ซึ่งมีลักษณะศิลปที่ชัดเจนโดยไม่สนใจอิทธิพลทางศิลปอิตาลีที่ขยายมาในขณะนั้น  หลังจากอยู่กับอาจารย์Herreraจนอายุ 12 ปี เบลัซเกซก็เริ่มสนใจและรับอิทธิพลของ Francisco Pacheco ศิลปินและอาจารย์แห่ง โรงเรียนศิลป Seville นั้น  จนสอบประกาศนียบัตรวิชาศิลปะได้ ทำให้สามารถมีสตูดิโอของตนเองได้
เบลัซเกซศึกษากับ Francisco Pacheco  5 ปี ในช่วงนี้เขาได้ศึกษาสัดส่วน มุมมองทางสถาปัตยกรรมและแนวโน้มในวรรณกรรมตลอดจนการวิเคราะห์วิพากษ์งานศิลปะ

Portrait of Francisco Pacheco (1622) วาดโดยDiego Velázque อาจารย์คนที่สองของเขา
 Pachecowได้เดินทางไปมาดริดและโทเลโดศึกษางานของ El Greco แล้วกลับมา เปิดโรงเรียนศิลปที่ Seville

ต่อมาเบลัซเกซได้แต่งงานกับJuana Pacheco ลูกสาวผู้เป็นอาจารย์ของเขาในปี1618  เพราะ Pachero เชื่อว่า Velazquez จะมีอนาคตไกลในการวาดภาพจึงยกบุตรสาวให้ ทั้งๆ ที่มีอายุน้อยเพียง 19 ปี เบลัซเกซ มีบุตรสาว2คนแต่รอดจนโตเพียงคนเดียว

 Sibyll นักพยากรณ์ วาดปี1630-1631 โดยมี Juana Pacheco  ภรรยาของเบลัซเกซเป็นแบบ


อาหารกลางวัน (The Lunch)

เขียนภาพ อาหารกลางวันเสร็จราวปี ค.ศ. 1617 เป็นภาพของกลุ่มคนนั่งรอบโต๊ะอาหาร โต๊ะปูด้วยผ้าปูโต๊ะที่ไม่เรียบนัก บนโต๊ะมีผลทับทิมสองผลและขนมปังชิ้นใหญ่ ผู้คนที่นั่งอยูรอบโต๊ะก็มีชายสามคน ชายสูงอายุทางด้านซ้ายและชายหนุ่มทางด้านขวาที่ยกมือส่งสัญญาณมาทางผู้ชมภาพเหมือนจะเชิญชวนให้เข้าร่วมโต๊ะ ในฉากหลังที่ดูเลือนลางมีชายอีกคนหนึ่งที่มองตรงมายังผู้ชมภาพขณะที่ชูขวดไวน์พร้อมที่จะเทด้วยสีหน้าที่ร่าเริง ที่เห็นชัดจะเป็นคอเสื้อกับมือที่ถือขวดหุ้มถุงหนังและทางด้านขวามีดาบแขวนอยู่ เขาวาดภาพคล้ายกันนี้อีกในปี 1620 ในชื่อเดียวกัน



the lunch 1620


The Three Musicians _1618 สามนักดนตรี

เมื่ออายุ 23 ปี เบลัซเกซได้เดินทางไปเยือน Madrid เพื่อนำผลงานภาพเหมือนของกวี Luis de Gongora y Argote ไปแสดงในราชสำนักสเปน

Portrait of Don Luis de Gongora y Argote, 1622

ภาพนี้ทำให้ Gaspar de Olivares ผู้เป็นรัฐมนตรีคนหนึ่งตัดสินใจอุปถัมภ์เบลัซเกซ และเขาก็ได้ผลิตผลงานออกมาเรื่อยๆ ซึ่งมีทั้งภาพที่เกี่ยวกับศาสนา ภาพเหมือนและภาพนิ่งที่บางภาพก็มีคน แต่บางภาพก็ไม่มีใครเลย ภาพที่สำคัญในช่วงนี้คือภาพ The Adoration of the Magi เป็นต้น ผลงานเหล่านี้ทำให้กษัตริย์ Philip ที่ 4 แห่งสเปน ทรงโปรดปรานมาก จึงโปรดเกล้าให้เบลัซเกซเป็นจิตรกรแห่งราชสำนักทั้งๆ ที่ขณะนั้นเขามีอายุเพียง 24 ปีเท่านั้นเอง และพระองค์ทรงโปรดให้เบลัซเกซวาดภาพเหมือนของพระองค์ตั้งแต่วัยหนุ่มจนวัยชรา

The Adoration of the Magi 1619

Old Woman Cooking Eggs 1618


ภาพ An Old Woman Cooking Eggs ก็ได้ทำให้วงการศิลปะตื่นเต้น ด้วยเทคนิคการวาดที่แสดงความต่างแสง (chiaroscuro) ที่แสดงความขัดแย้งระหว่างบริเวณสว่างกับมืด ทำให้คนดูภาพสามารถเห็นมิติลึกของภาพได้ ในทำนองเดียวกับภาพของ Caravaggio

The Waterseller of Seville 1623  ภาพคนขายน้ำ ได้รับอิทธิพลของคาราวัจโจ แต่เขาไม่ได้ทำติดตามต่อเนื่องเหมือนกลุ่ม การเขียนแบบคาราวัจโจ

ปี1622 เบลัซเกซได้เดินทางมามาดริดเข้ามาเป็นจิตกรในสำนักของCount-Duke of Olivares, ท่านเคาท์ได้แนะนำเบลัซเกซต่อพระเจ้าฟิลิป พระองค์ประทับใจในฝีมือของเขา ในที่สุดก็ได้มาเป็นจิตรกรในราชสำนักของพระเจ้าฟิลิปที่ 4



Portrait of King Philip IV of Spain, c. 1624 เป็นหนึ่งในสามรูปภาพที่ได้รับมอบหมายให้วาด Philip IV — ไม่นานหลังจากได้รับแต่งตั้งเป็นจิตรกรคอร์ทในมาดริด เมื่ออายุ 25 ปี 
พระเจ้าฟิลิปที่4 เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระราชินีอานน์แห่งฝรั่งเศส และทรงเป็นน้าของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส อีกด้วย ทรงปกครองทั้งสเปนและโปรตุเกสก่อนที่โปรตุเกสจะแยกตัวไปในปี1640

Count Duke of  Olivares 1625 ผู้อุปถัมภ์เบลัซเกซคนแรกๆเมื่ออยู่ที่มาดริดได้วาดไว้สองภาพในท่าทางเดียวกัน อีกภาพหนึ่งขี่ม้าสีขาว

Los borrachos o el triunfo de Baco 1629 ชัยชนะของแบ็คคัส

SAINT RUFINA 1630 เซนต์รูฟีนา วาดประมานต้นปีก่อนที่จะเดินทางไปอิตาลี แสดงการแต่งกายลักษณะชนพี้นเมืองเซบีญา

เมื่ออายุ 30 ปี เบลัซเกซ ได้พบ Rubens ที่ Madrid การได้สนทนากันครั้งนั้น ทำให้ Velazquez ต้องการไปเยือนอิตาลีบ้าง เพื่อชื่นชมผลงานของ Caravaggio, Tintoreeto, Poussin, Titian, Veronese และ Raphael มาก และในช่วงเวลาที่เดินทางทัศนาจรในอิตาลีนี้เอง Velazquez ก็ได้วาดภาพ Bloody Coat of Joseph และ The Forge of Vulcan
 
The Forge of Vulcan 1630

เป็นภาพเกี่ยวกับเทพอะพอลโลกำลังกระซิบบอกข่าวร้ายแก่เทพวัลแคนสามีของวีนัส(ที่เทพซีอุ
สยัดเยียดให้)ได้ลอบมีชู้กับเทพมาร์ ข่าวนี้ทำให้บรรดาผู้ช่วยของวัลแคนต่างตกใจไปตามๆกัน


ต่อมาในปี1629ได้ตามอาจารย์เดินทางไปดูงานศิลปที่อิตาลี 8 เดือน เมื่อ เบลัซเกซ เดินทางกลับสเปน เขาได้ตัดสินใจซื้อภาพของ Caravaggio หลายภาพไปถวายแด่กษัตริย์ Philip ที่ 4 ด้วย เพราะเขาศรัทธาในงานของ Caravaggio มาก หลังจากการแนะนำของรูเบนส์ปรมาจารย์จิตรกรแห่งบาโรคเบลเยี่ยม(ตอนนั้นคาราวัคโจเสียชีวิตมาเกือบ20 ปีแล้ว) จากนั้นก็ได้วาดภาพ Wild Boas Hunt และ The Surrender of Bred  และได้วาดภาพให้กับบุคคลในราชสำนักเชื้อพระวงค์บนหลังม้าในท่าทางต่างๆ

Prince Balthasar Charles with a Dwarf, 1631

Philip IV in Brown and Silver, 1632 พระเจ้าฟิลิปที่ 4

ในรัชสมัยของพระเจ้าฟิลิปที่ 4ถือเป็นยุคทองของสเปนเป็นช่วงเวลาแห่งความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะและอักษรศาสตร์ในจักรวรรดิสเปน ร่วมสมัย ขณะที่ความเสื่อมถอยทางการเมืองที่เป็นชาติมหาอำนาจของสเปนเริ่มลดลง 
Philip IV hunting Wild Board การล่าหมูป่าของพระเจ้าฟิลิป

Felipe III a caballo 1634-35

marrón y plata, 1632

Portrait of King Philip IV of Spain (1634-1635)

The Surrender of Breda  1634-1635

เป็นภาพที่ได้แรงบันดาลใจเมื่อครั้งเบลัซเกซ เดินทางมาอิตาลีและได้นำวิธีการเขียนภาพมาใช้เล่าเรื่องราวซึ่งถือเป็นภาพที่ดีที่สุดรูปหนึ่งของเขา  กล่าวถึงผู้นำทัพสเปน Ambrogio Spinola, ได้ปิดล้อมเอาชนะเมืองเบรดาของชาวดัตช์ ได้ตกเป็นเมืองขึ้นในภาพแสดงการมอบกุญแจเมืองให้กองทัพสเปน(ในภาพให้ความรู้สึกดูอบอุ่นเป็นกันเองเหมือนเมืองพี่น้อง  ม้าเลี้ยวตัวกลับหลังแสดงถึงการยุติศึกกลับโดยสงบ)


ในปี 1639-40  เบลัซเกซวาดภาพ Aesop ผู้เป็นนักเล่านิทานชาวกรีกโบราณที่มีชื่อเสียง และได้รับการโปรดเกล้าให้เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการประจำราชสำนัก การรับงานบริหารทำให้คุณภาพและปริมาณงานจิตรกรรมของเบลัซเกซตกต่ำลง

Don Sebastian de Morra 1643 44_ 1643

การสวมมงกุฎพระแม่มารี (อังกฤษ: Coronation of the Virgin)ค.ศ. 1641 ถึงปี ค.ศ. 1644

งานทางศาสนาไม่ใช่หัวเรื่องหลักของงาน เบลัซเกซผู้ที่ตามปกติแล้วมักจะเขียนภาพเหมือน และเป็นงานเขียนที่มีบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติและบรรยากาศอย่างง่ายที่หาดูได้ยากในงานเขียนภาพศาสนาของยุคบาโรก การวางภาพมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมคว่ำ ที่ให้ความรู้สึกของความมีสมมาตรและความกลมกลืนของเส้น และ เป็นทั้งรูปทรงและการใช้สีเป็นที่เป็นนัยยะถึงรูปทรงของหัวใจ ตัวเอกของภาพคือพระแม่มารีที่ดูถ่อมพระองค์ น่าสักการะ และ แสดงอารมณ์ การใช้รูปทรงที่ทำให้นึกถึงหัวใจเป็นการทำให้ผู้ดูนึกถึงความเคร่งครัดของพระแม่มารีผู้ทรงชี้ไปที่หัวใจในพระอุระของพระองค์เอง

พระแม่มาเรียโดย Esteban Murillo(1617-1682)จิตรกรสเปนรุ่นน้องที่มีชื่อเสียง

สิ่งอื่นที่น่าสังเกตในภาพคือดรุณเทพที่ฐานของพระแม่มารี ที่คุณภาพเท่าเทียมกับภาพเขียนของบาร์โตโลเม เอสเตบัน มูรีโยผู้มีชื่อเสียงในการเขียนภาพที่เกี่ยวกับดรุณเทพ
เบลัซเกซใช้สีน้ำเงินและม่วงแดง และสีสีแดงคาร์มีน แทนที่จะใช้สีแดงที่ใช้กันตามปกติ ตามคำแนะนำของอาจารย์ Pacheco  แม้ว่าขณะนั้นเบลัซเกซจะเป็นจิตรกรผู้มีชื่อเสียงจนเกินกว่าที่จะเป็นลูกศิษย์ไปแล้วก็ตาม

GianLorenzo Bernini ศิลปินเอกร่วมสมัยแห่งอิตาลีอายุมากแก่กว่าเบลัซเกซแค่ปีเดียว

เมื่ออายุ 47 ปี เบลัซเกซได้เดินทางไปเยือนอิตาลีอีกเป็นครั้งที่ 2 เพื่อซื้อภาพของ Titian, Veronese และ Tintoretto มาถวายกษัตริย์ และได้ไปเยือน Genoa, Milan, Padua, Venice, Bologna, Modena, Parma, Florence, Naples และ Rome ขณะพักเที่ยวที่ Rome เบลัซเกซ ได้พบกับ GianLorenzo Bernini รวมทั้งได้วาดภาพเหมือนของสันตะปาปา Innocent ที่ 10 และวาดภาพ Venus and Cupid

Venus and Cupid( Rokeby Venus), c. 1647–51. National Gallery, London

ซึ่งแสดงเทพธิดา Venus ประทับนอนบนเตียง และหันพระปฤษฎางค์ให้คนดู โดย Venus กำลังทอดพระเนตรดูภาพของนางในกระจกที่กามเทพ Cupid ทรงถืออยู่ แต่ภาพที่นางเห็นเป็นภาพของสตรีที่มีอายุ นี่จึงมีความหมายว่า Venus กำลังทรงครุ่นคิดถึงพระสิริโฉมที่กำลังสลายไปตามวัย ส่วนกระจกนั้นก็เปรียบเสมือนพระเนตรของพระเจ้าที่ทรงเห็นทั้งภายนอกและภายในของคนทุกคน ภาพนี้จึงสื่อความหมายว่า สิ่งที่ซ่อนลึกอยู่ใต้ความงามของทุกชีวิต คือ ความตาย

Pope Innocent X  1650 ภาพโปปอินโนเซนต์ที่10 ในวัย75 ปีมีใบหน้าโทนแดงดูลักษณะสูงโปร่งราวกับอนุสาวรีย์ มีความสมจริง กำลังนั่งท้าวแขนบนเก้าอี้เบาะสีแดงกล่าวได้ว่าเป็นงานมาสเตอร์พีชของภาพคนเหมือนแห่งยุค

Portrait of Juan de Pareja (c. 1650)] ภาพวาดลูกเขยของเบลัซเกซระหว่างที่อยู่ในโรม ภาพนี้ได้รับเลือกให้อยู่ในสถาบันศิลป เซนต์ลุค ถือเป็นภาพอุ่นเครื่องก่อนที่เขาจะวาดภาพของโปปอินโนเซนต์ที่10

View Of The Garden Of The Villa Medici 1650

เจ้าหญิงมาร์การิตา เทเรซาในชุดสีน้ำเงิน (Infanta Margarita Teresa in a Blue Dress)ค.ศ. 1659 

เป็นภาพที่เป็นที่รู้จักกันดีภาพหนึ่งและเป็นภาพสุดท้ายที่เขียนโดยเบลัซเกซก่อนที่จะเสียชีวิต เป็นภาพของมาร์การิตา  เทเรซาผู้ทรงเสกสมรสกับพระปิตุลา--สมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์--เมื่อพระชนม์ 15 พรรษา ภาพเหล่านี้ของพระองค์เป็นภาพที่ถูกส่งไปยังกรุงเวียนนาเพื่อนำไปถวายแสดงให้สมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ได้ทอดพระเนตรดูถึงความเจริญพระชันษาของคู่หมั้น สิ่งที่เด่นที่สุดในภาพคือกระโปรงที่บานกว้างอย่างผิดขนาด ที่เน้นด้วยขอบและปกเสื้อที่ทำด้วยลูกไม้ พระหัตถ์ซ้ายถือปลอกแขนขนสัตว์สีน้ำตาลซึ่งอาจจะเป็นของขวัญจากเวียนนา

Leopold I-จักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1คู่หมั้น วาดโดย Guido Cagnacci  จิตรกรบาโรคอิตาลี

ในภาพนี้เบลัซเกซใช้เทคนิคการเขียนโดยใช้ฝีแปรงที่หยาบที่ผสานเข้าด้วยกันก็เมื่อมองจากระยะที่ไกลจากภาพ ในภาพนี้เจ้าหญิงมาร์การิตา เทเรซามีพระชนม์ 8 พรรษาทรงยืนสง่าพระพักตร์ขรึม  ฉลองพระองค์เป็นผ้าไหมสีน้ำเงิน ขอบตกแต่งด้วยเงินตามแฟชันของสมัยนั้นในสเปน ท่าทางขรึมอย่างควบคุมอารมณ์ของพระองค์เน้นหนักขึ้นโดยโทนสีน้ำเงินและเงิน ในฉากหลังเป็นโต๊ะสูงและกระจกรูปไข่ เทเรซาเป็นผู้เดียวกับที่ปรากฏในภาพ นางสนองพระโอษฐ์” (Las Meninas)

King Philip 4 วาดปี1656เป็นภาพสุดท้ายที่เบลัซเกซวาดภาพของพระองค์์

เมื่อกษัตริย์ Philip ที่ 4 วัย 45 ชันษากำลังจะเข้าพิธีสยุมพรใหม่กับเจ้าหญิง Mariana วัย 14 ชันษา ผู้เป็นพระนัดดาของพระองค์ พระองค์จึงมีพระราชบัญชาให้เบลัซเกซเดินทางกลับ เพื่อทำงานเป็นช่างวาดประจำราชสำนักต่อ และทรงประทานยศ Order of Santiago ให้เบลัซเกซ วัย 60 ปี ทั้ง ๆ ที่เหล่าข้าราชบริพารอื่น ๆ ไม่เห็นด้วย เพราะสังคมในสมัยนั้นถือว่า อาชีพจิตรกรเป็นอาชีพของชนชั้นต่ำ จึงไม่สมควรจะยกย่องขึ้นมาถึงระดับอัศวิน

Las Meninas - ladies-in-waiting 1656 “นางสนองพระโอษฐ์” “ครอบครัวของ (กษัตริย์) ฟิลิปที่ 4”


ที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะในกระจกเงาบานเล็กที่อยู่ตรงกลางภาพพอดี สะท้อนให้เห็นชายและหญิงซึ่งก็คือกษัตริย์ฟิลิปที่ 4 และพระมเหสี กับภาพของเด็กหญิงใส่กระโปรงสีเหลืองครีมขลิบแถบดำคือเจ้าหญิงน้อย Magarita อายุ 5 ขวบ


มีกรอบผืนผ้าใบขนาดใหญ่ที่เราเห็นเฉพาะด้านหลัง อยู่ทางซ้ายมือของเรา และคนที่ยืนอยู่ด้านหน้าผ้าใบ ถือจานสีและพู่กันก็คือตัวเบลัธเกธ (Velazguez) จิตรกรที่เรากำลังดูภาพของเขาอยู่นี้


ด้านหลังในมุมมืดนั้นมีชายหญิงคู่หนึ่งกำลังพูดคุยกัน (อย่างเบาๆ) อยู่ เราไม่แน่ใจว่าเขาคือใคร อาจจะเป็นนักบวชทั้งคู่ (กรณีหญิงนั้นน่าจะถูกต้อง) หรืออาจจะเป็นขุนนางที่เป็นคนที่คอย สนองอีกชุดหนึ่ง


มีชายอีกคนหนึ่งเพิ่งเดินก้าวเข้ามาใน (หรือออกไปจาก) ห้อง มือขวาของเขาเลิกผ้าม่านออก จึงทำให้มีแสงสว่างสาดเข้ามาจากด้านหลัง ทำให้เห็นภาพสะท้อนอยู่ในกระจก เกือบทุกคนมองมาที่ เรา” (ซึ่งกำลังมองภาพนี้อยู่) จะมีก็แต่นางสนองฯ คนซ้ายที่เหลือบตามองเอียงๆ ขณะที่สุนัขพันธ์มาสทิฟฟ์ตัวเขื่องกำลังนั่งสัปงกอยู่


คนทั้งหมดมองมาที่ เราส่งสายตามาทักทาย ตัวศิลปินเองนั้นความจริงยืนอยู่ไกลเกินกว่าที่จะเอื้อมมือมาวาดบนผืนผ้าใบได้ ความจริงเขาอาจจะยืนหลบ เราอยู่หลังผ้าใบ แต่มาตอนนี้เขาได้เอี้ยวตัวมาทางซ้ายของเขา เพื่อจะมามอง เราด้วย

ภาพ Las Meninas นี้เกิดข้อกังขาขึ้นหลายมุมมอง เช่น

บนผืนผ้าใบหลังใหญ่นี้มีภาพวาดอยู่ใช่ไหม

เราซึ่งกำลังมองดูภาพ (ของเบลัธเกธ) นี้อยู่คงไม่มีวันที่จะได้เห็นภาพภาพนี้

หรือว่าภาพนี้คือรูปเหมือนฉลองพระองค์ของกษัตริย์และพระราชินี ดังที่เราเห็นจากภาพสะท้อนอยู่ในกระจกเงา

หรือว่าจริงๆแล้วก็คือภาพ Las Meninas ที่เรากำลังดูอยู่ด้วยกันนี้

หรือว่าจริงๆแล้ว เบลัธเกธกำลังวาดภาพ พวกเราซึ่งกำลังดูภาพนี้อยู่
ภาพวาดสีน้ำมัน Las Meninas นี้ได้จุดประกายให้กับนักคิดนักปรัชญารุ่นหลังๆ ในการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่สิ้นสุด
อาจเป็นแนวคิดที่ศิลปินผู้วาดมีความเสมอภาคเท่ากับกษัตริย์และพระราชินีแห่งสเปนที่อยู่ในภาพนั้นได้
หมายความว่า เราทุกคนเท่าเทียมกัน
เสื้อที่เบลัธเกธ ใส่ในภาพนั้นมี กางเขนสีแดงประดับอยู่บนอกข้างซ้าย นั่นคือสัญญลักษณ์แห่งเครื่องราชฯ ที่เรียกว่า Order of St.James of the Sword หรือ Orden de Santiago ความจริงเบลัธเกธได้รับเครื่องราชฯนี้ 2-3 ปีหลังวาดภาพนี้  ซึ่งแก เติมลงในภาพนี้ในภายหลัง

การที่ตำแหน่งของ เราซึ่งกำลังมองภาพนี้ (และคุยถกเถียง) กันอยู่นี้ อยู่ตรงกับตำแหน่งของกษัตริย์กับพระราชินี ทำให้ เรากลายสถานะเป็นกษัตริย์และพระราชินีซึ่งกำลังอยู่ในสายตาของทุกคนในภาพ (ยกเว้นหมา) รวมแม้กระทั่งอยู่ในสายตาของกษัตริย์และพระราชินีในกระจกเงาด้วย

จากความซับซ้อนน่าฉงนฉงายของภาพภาพนี้ที่เบลัธเกธแกได้สร้างขึ้นมา และทำให้ภาพนี้เป็นหนึ่งในภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดของที่สุด

หลังจากวาดภาพ Las Meninas เสร็จไม่นาน เบลัธเกธก็ป่วยเสียชีวิตในปี1559ที่ Madrid  ร่างเขาถูกฝังในอุโมงค์ Fuensalida ที่โบสถ์ของ San Juan Bautista.

หลังจากนั้นชื่อเสียงของเบลัธเกธ ก็เริ่มลดลงๆ ภาพที่เขาวาดถูกจำหน่ายแยกย้ายไปประดับตามพระราชวังในยุโรป ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่มีโอกาสได้เห็น จนกระทั่งสเปนมีพิพิธภัณฑ์ Prado ในปี 1869 ภาพวาดของเบลัธเกธ จึงได้ออกมาปรากฏให้คนทั่วไปได้เห็นอีก

Statue of Velazquez in front of Prado museum, Madrid อนุสาวรีย์เบลัซเกซหน้าพิพิธภัณฑ์ศิลปะปราโด ประติมากรรมหล่อบอรนซ์โดยประติมากรชาวสเปน Aniceto Marinas in 1899 
งานของDiego Velazquez ,ได้แสดงถึงความเป็นจริงขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกประทับใจ ที่ส่งผลถึงจิตกรยุคหลังอย่าง Édouard Manet.เอดัวด์ มาเนต์ รวมถึงศิลปินยุคหลังอิมเพรสชั่นนิสซ์อย่าง Pablo Picasso, Salvador Dalí and Francis Bacon,ที่สร้างผลงานที่มีชื่อเสียงโดยอาศัยพื้นฐานจากภาพวาดของเบลัธเกธ ขนาดมาเนต์ถึงกับยกย่องเขาว่า "painter of painters",จิตรกรผู้เหนือจิตรกรทั้งหลาย


มาเนต์ได้รับอิทธิพลจากการเขียนภาพของเบลัธเกธ(ภาพ Pablo de Valladolid, 1635. ซ้าย) ทั้งการใช้สีและเทคนิคการวาดอย่างชัดเจนเช่นภาพทางขวานี้ (the tragic actor rouvière as hamlet 1866 วาดโดยมาเนต์)ความจริงแทบจะเกินครึ่งของภาพวาดทั้งหมดของมาเนต์ที่มีลักษณะเดียวกับเบลัธเกธก่อนที่เขาจะมาเข้ากลุ่มอิมเพรสชั่นนิสซ์

Las Meninas,1957;โดยปิกัสโซ 

ปิกัสโซได้ศึกษาและลอกงานของเบลัธเกธไว้เป็นจำนวนถึง58ภาพ และมี44ภาพที่เขาศึกษาภาพ Las Meninas และได้วาดภาพออกมาเป็นแนวเฉพาะของปิกัสโซเอง  เป็นที่ยอมรับกันว่าปิกัสโซเป็นจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ในศ.ต.ที่20 และเบลัธเกธถือว่าเป็นจิตรกรที่ยิ่งใหญ่แห่งสเปนตลอดกาลที่มีอยู่3 ท่านคือเอล กรีโค  เบลัธเกธ  ปิกัสโซ

อนุสาวรีย์เบลัซเกซ สร้างด้วยหินอ่อนขาวที่หน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์ National Archaeological Museum of Spain, in Madrid. โดยประติมากรชาวอิตาลี Celestino García Alonso .ในปี 1892.

พระเจ้าฟิลิเป้ที่ 4 เสด็จสวรรคตในปี 1665  สเปนสู่ยุุคที่ตกต่ำอย่างไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจากปัญหาสะสมตั้งแต่รัชสมัยจักรพรรดิชาร์ลสที่ 5 ก็คือ หนี้สินจำนวนมากมายที่เพิ่มขึ้นๆทุกปี โดยเฉพาะในยุคของพระองค์ เป็นผลจากการพ่ายแพ้สงคราม 30 ปี อย่างย่อยยับ และการแยกตัวของดัชต์ ทำให้สูญเสียแหล่งรายได้สำคัญไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศิลปะยุคกรีก

ศิลปะยุค โรโกโก ตอนที่1 ศิลปแห่งความอ่อนหวานและรุงรัง

ศิลปะยุคบาโรค Baroque ตอนที่ 9 Gian lorenzo Bernini ผู้เสกหินอ่อนให้หายใจได้