เรอเนสซองค์ ตอน 3 เหตุการเมืองที่เนื่องกับศิลปยุคเรอเนสซองค์


สรุปเหตุการเมืองที่เนื่องกับศิลปยุคเรอเนสซองค์กัน อาจจะยาวหน่อย...

  ในยุคทองเรอเนสซองค์มีการติดต่อระหว่างฝรั่งเศสกับเมืองฟลอเรนซ์ทั้งทางด้านการค้าและคู่สงคราม เป็นไปอย่างคึกคักมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมกัน ด้วยพระราชประสงค์ของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ที่ทรงปรารถนาที่จะให้ศิลปินทั้งหลายมารวมตัวทำงานกันที่ Clos Lucé ใกล้กับพระราชวังฟงแตนโบล

 Clos Lucé ในปัจจุบัน เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เก็บรวบรวมผลงานและจำลองสิ่งประดิษฐ์ต่างๆของดาวินซีช่วงที่พำนักอยู่ที่นี่เมื่อ 500 ปีที่แล้ว



    มีภาพฉาย3 มิติของดาวินซีด้วย



    เครื่องกลจำลองบางส่วนของดาวินซี


       มีศิลปินหลายท่านที่ฟลอเรนซ์ เวนิส เดินทางไปกันมากตามคำเชิญของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 เช่น ดาวินซี ทิเทียน เชลลินี  เป็นต้นขณะที่ทางฝรั่งเศสก็มีศิลปินพ่อ ลูก Jean Cjouet / Francis Clouet ที่เป็นจิตรกรราชสำนัก


    พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1วาดโดยก Jean Cjouet ยีน ครัวเอท์ ศิลปินราชสำนักฝรั่งเศส


       ดาวินซีได้ไปฝรั่งเศสนำรูปโมนาลิซาไปด้วย พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ทรงซื้อภาพนี้ไว้จำนวน 4,000 เอกือ (ไม่รู้เทียบอัตราเงินอย่างไร) ในปี1516 และยังทรงให้ ดาวินชี วาดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์อีกด้วย


  ภาพผู้หญิงคนหนึ่งของดาวินซี ภายหลังตั้งชื่อว่า มอนนาลิซา หรือ โมนาลิซา ( มอนนา - มาดาม )


   หลังจากสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ลูกของโลเรนโซ เดอ เมดิชีสิ้นพระชนม์ ก็มีการแต่งตั้งสมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 6 ขึ้นมา ที่ไม่ใช่คนตระกูลเมดิซีแคทเธอรีน เดอ เมดีชี เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลง พระคาร์ดินัลเมดิชี (เป็นลูกพี่ชายของโลเรนโซ ซึ่งเขารับมาเป็นลูกบุญธรรม) ก็ได้ดำรงตำแหน่งสืบต่อมาเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 เนื่องจากสมัยเป็นพระคาร์ดินัลพระองค์ได้ทำหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์ของตระกูลเมดิชีเป็นอย่างดี.

   พระคาร์ดินัลเมดิชี ภายหลังได้เป็น Pope Clement_VII สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7เป็นหลานของ โลเรนโซ เดอ เมดิชี (ลูกพี่ชายนำมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม) และทรงเป็นลูกพี่ลูกน้องของสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่  10 ที่อุปถัมภ์ ราฟาเอล


   ในช่วงนี้กษัตริย์คาลอสแห่งสเปนได้บุกโจมตี ออสเตรีย รวมทั้ง อิตาลี ยึดเมืองเบอร์กันดี ราชอาณาจักรเนเปิลส์ และราชอาณาจักรซิซิลี ทำให้พระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ทรงกังวล ทำให้พระองค์เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับอริเก่า อย่างฝรั่งเศสและเจ้าชายอิตาลีหลายพระองค์ เพื่อต่อต้านจักรพรรดิ สุดท้ายเจ๊งทั้งแก๊ง ต้องตกเป็นเชลยในที่สุด เชลยในครั้งนั้นนอกจากท่านแล้วยังมี อองรีดยุกแห่งออร์เลออง (ฝรั่งเศส)

  กษัตริย์ Don Carlos I แห่ง Spain หรือชาล์ที่ 5 แห่งโรมัน หลังยึดโรมและประเทศโดยรอบได้

  อองรีดยุกแห่งออร์เลออง (ฝรั่งเศส) โอรสพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ถูกนำไปเป็นตัวประกัน หลังฝรั่งเศสแพ้สงคราม

  เป็นช่วงที่โรมปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ โดยมาติน ลูเธอร์ ได้แผ่มาถึงฝรั่งเศส Jean Calvin ฌ็อง กาลแว็ง (หรือจอห์น คาลวิน) ผู้ก่อตั้งโปเตสแตนแนวใหม่ มีคนนับถือมากในฝรั่งเศส จนโดนเขม่นจากกษัตริย์ ต้องลี้ภัยไปสวิสเซอร์แลนด์



 ภายหลังนั้น มาร์ทิน บูเชอร์ ได้เชิญ กาลแว็ง ไปเป็นศาสนาจารย์ประจำโบสถ์ของผู้อพยพชาวฝรั่งเศส ที่เมืองสตราสบูร์ก เขายังคงสนับสนุนการปฏิรูปศาสนาที่เจนีวา จนได้รับเชิญกลับไปเป็นผู้นำคริสตจักรในที่สุด

    กาลแว็งที่เจนีวา

 ขณะที่เมืองฟลอเรนซ์หลังการพ่ายแพ้ต่อสเปนก็ถูกชาวเมืองยึด เพราะไม่พอใจผู้นำของตน 2 ปีต่อมา หลังจากที่สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ได้เจรจาสันติภาพกับจักรพรรดิเรียบร้อยแล้วพระองค์ก็ยกทัพบุกเมืองฟลอเรนซ์โดยมีจักรพรรดิช่วยเหลือ หลังจากที่ล้อมเมืองไว้ 11 เดือน ขณะที่ชาวเมืองจะสังหารแคทเธอรีน เดอ เมดิซี ที่ถูกชาวเมืองฟลอเรนซ์จับเป็นตัวประกัน ชาวเมืองฟลอเรนซ์ก็ยอมแพ้พอดี

 พระสันตะปาปาคลีเมนต์ทรงรียกตัวแคทเธอรีนไปโรมและเริ่มดำเนินการหาสามีที่เหมาะสมให้ หลังจากแคทเธอรีนแต่งงานได้4 ปีพระสันตะปาปาคลีเมนต์ พระองค์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1534ค.ศ. 1531 พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ก็ทรงเสนอการแต่งงานระหว่างแคทเธอรีนกับพระโอรสอองรีดยุกแห่งออร์เลอองแคทเธอรีนไม่เคยได้ชื่อว่าเป็นคนสวย เมื่อไปถึงกรุงโรมทูตจากเวนิสบรรยายแคทเธอรีนว่า เป็นผู้ที่มี “ร่างเล็ก, และผอม, ไม่มีส่วนที่อ่อนหวาน ประกอบกับการมีตาโปน อันเป็นลักษณะแปลกของตระกูลเมดิชิ” แต่กระนั้นก็มีผู้ที่ต้องการตัวแคทเธอรีนไปเป็นภรรยากันเป็นแถว

    แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ วาดโดย François Clouet ศิลปินราชสำนักฝรั่งเศส

  อองรีดยุกแห่งออร์เลออง (องค์ที่เคยเป็นตัวประกันเช่นเดียวกับพระสันตะปาปาคลีเมนต์) โอรสพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 กับแคทเธอรีนแห่งเมดิซี ศิลปินวาดสิงโตไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของฝรั่งเศส (เลออง - สิงโต)


  เหตุที่กรุงโรมถูกกองทัพของจักรพรรดิยึด ค.ศ. 1527 กษัตริย์คาลอสแห่งสเปน ได้สถาปนาเป็นจักรพรรดิคาร์ล (ชาลส์) ที่ 5 แห่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อีกประเทศหนึ่ง เมื่อตกอยู่ในอำนาจของจักรพรรดิทำให้พระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ต้องการจัดการกับพวกโปรเตสแตนต์อย่างเข้มงวด ตามคำขอของจักรพรรดิ ทำให้ความวุ่นวายทางศาสนาลามไปทั่วยุโรป รวมทั้งอังกฤษ และฝรั่งเศส

  จูลิโอ ดิ จูเลียโน เดอ เมดิชิ หรือสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ผู้จัดการทางการเมือง ตามนักประวัติศาสตร์กล่าวว่า เป็นผู้โลเลจนเสียเมืองโรมให้สเปนในครั้งนั้น


 ความวุ่นวายในปลายสมัยของสันตะปาปาคลีเมนต์ คือ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 กษัตริย์แห่งอังกฤษ ทรงประกาศให้คริสตจักรในอังกฤษ ไม่ขึ้นต่อสันตสำนัก เพราะจะอย่าพระมเหสีของพระองค์ คือพระนางคัทเธอรีนแห่งอรากอนที่มีโอรสไม่ได้ แต่หลักของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกนั้น ห้ามการหย่า, อีกทั้งพระนางคัทเธอรีนนั้น มีศักดิ์เป็นน้าของจักรพรรดิชาร์ลที่ 5 แห่งโรมอีกด้วย

   กษัตริย์ henry ที่ 8 แห่งอังกฤษ ต้องร่วมมือกับสเปนบู้กับฝรั่งเศสและอิตาลี เมื่อครั้งมเหสีเป็นเจ้าหญิงสเปน ซึ่งเป็นญาติกับนจักรพรรดิคาร์ล (ชาลส์) ที่ 5

 พระนางแคทเธอรีน แห่งอารากอน Catherine of Aragon เป็นแบบวาด Mary Magdalene ถือผอบน้ำหอม ภายหลังจากโดนปลดจากมเหสี เธอต้องยกลูกสาวคนเดียวให้เฮนรี่ที่ 8 แล้วปลีกวิเวก ไปปฏิบัติศานาอย่างเคร่งครัดจนสิ้นอายุุ49 พรรษา ( ภายหลังลูกสาวกลับกลายเป็นราชินีชื่อดังฉายา " Bloody Mary ".  )


 ทางฝรั่งเศส อองรีสามีแคทเทอรีน กลายมาเป็นรัชทายาทแทนหลังจากพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 พี่ชาย สิ้นพระชนม์ และพระโอรสของฟรองซัวส์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส ขณะมีพระชนม์ได้ 15 พรรษา แต่ครองราชย์ได้เพียง 1 ปีก็ สวรรคต

  พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 ลูกของพี่ชายอองรี ได้เป็นยุวกษัตริย์ แต่สุขภาพอ่อนแอ  วาดดินสอโดย  François Clouet


 ขณะนั้นอำนาจอยู่ในมือของพวกอำมาตย์ ทำให้เกิด “ รัฐประหาร ” โดย ดยุกฟรองซัวส์แห่งกีส ยึดอำนาจวันรุ่งขึ้น หลังจากที่พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 เสด็จสวรรคต ทำให้อา (น้องของพ่อ) สามีของแคทเธอรีน ได้เป็นกษัตริย์ส้มหล่น เป็นพระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส


 ฟรองซัวส์แห่งกีส ผู้ยึดอำนาจกษัตริย์และคุมเกมการเมือง ภาพโดย François Clouet


  อองรีที่ 2 Henry II กษัตริย์ส้มหล่นแห่งยุค ทำให้พระนางแคทเทอรีน เป็นราชินีแห่งฝรั่งเศส

    พระนางแคทเทอรีน Katharin แห่ง Medic


 ต่อมาพระเจ้าอองรีที่ 2 เสด็จสวรรคตหลังครองราชย์ 12 ปีระหว่างการประลองขี่ม้าแทงทวน ชนะไป 2 คน แพ้คนที่ 3 โดนทวนไม้กระแทกหน้า เศษไม้ทวนแตกแทงเข้าใบหน้าและลูกตา ลูก ๆ เลยได้เป็นกษัตริย์แต่เยาว์




 พระราชินีแคทเธอรีนก็ได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้มีอำนาจเต็มที่ในพระโอรสองค์ พระเจ้าชาร์ลที่ 9 ผู้มีพระชนมายุได้เพียง 10 พรรษา



    พระราชินีแคทเธอรีน ในชุดแม่ม่าย

    พระเจ้าชาร์ลที่ 9 Charles IX ได้เป็นกษัตริย์อยู่ภายใต้การดูแลของ พระราชินีแคทเธอรีน วาดโดย François Clouet

  ภาพวาดพระเจ้าอองรีที่ 2 Henri II กับพระนางแคทเทอรีนกับโอรสธิดาอย่างอบอุ่น แต่ความจริงในประวัติศาสตร์ กษัตริย์ผู้นี้มีใจให้กับพระสนมคนโปรด ไดแอน เดอ ปอยเตียร์ จนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์ ในการแข่งกีฬาสัมพันธ์ทำสัญญาสงบศึกกับอิตาลี ซึ่งช่วงวาระสุดท้าย จึงได้ดูแลสามี โดยไม่ให้นางปอยเตียร์เข้าใกล้



 โศกนาฏกรรม งานแต่งละเลงเลือด จากปัญหาความแตกแยกทางศาสนา พระราชินีแคทเธอรีนจึงทรงเรียกผู้นำทางศาสนา จากทั้งฝ่ายโรมันคาทอลิก และโปรเตสแตนต์ เพื่อให้มาพยายามหาทางตกลงกัน แต่จบลงด้วยความล้มเหลว พระราชินีแคทเธอรีนทรงเห็นว่า การแบ่งแยกของสองนิกาย เป็นการแบ่งแยกทางการเมือง มิใช่ทางปรัชญาศาสนา

 เริ่มจากวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1562 ก็เกิดเหตุการณ์วิกฤต ที่เรียกว่า การสังหารหมู่ที่วาสซีย์ (Massacre at Vassy) ดยุคฟรองซัวส์แห่งกีส และพรรคพวก โจมตีผู้ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ในโรงนาที่วาสซีย์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 74 คน และบาดเจ็บ 104 คน



      ภาพพิมพ์เล่าเรื่องการสังหารหมู่ที่วาสซีย์ในยุคนั้น

 ดยุคฟรองซัวส์แห่งกีส เรียกการสังหารหมู่ว่าเป็น  “เหตุการณ์ที่น่าสลดใจ” และได้รับการต้อนรับอย่างวีระบุรุษตามท้องถนนในปารีส ขณะที่อูโกโนท์ เรียกร้องการให้มีการแก้แค้น

 การสังหารหมู่ที่วาสซีย์ เป็นต้นเหตุของสงครามศาสนาของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสงครามกลางเมือง ที่ยาวนานต่อมาถึงสามสิบปี ผู้นำโปตัสแตน คือเจ้าชายหลุยส์แห่งคองเด และนายพล กัสปาร์ด เดอ โคลินยี (Gaspard de Coligny) ก็รวบรวมกองทหารได้จำนวน 1,800 คนร่วมพันธมิตรกับอังกฤษ และเริ่มยึดเมืองต่าง ๆ ในฝรั่งเศส 



  กัสปาร์ เดอ กอลีญี เป็นขุนนางชาวฝรั่งเศส และผู้บังคับบัญชากองทัพเรือแห่งฝรั่งเศส ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นอูกโนผู้มีวินัยและผู้นำในสงครามศาสนาของฝรั่งเศส


 พระราชินีแคทเธอรีนพยายามไกล่เกลี่ย แต่ไม่สำเร็จ ทรงกล่าวว่า ในเมื่อโคลิญญีใช้กำลัง พระองค์ก็จะใช้กำลัง เป็นการโต้ตอบการรบผลัดกันยึดพื้นที่ จนในที่สุด ดยุคฟรองซัวส์แห่งกีส ผู้นำฝ่ายโรมันคาทอลิก ถูกลอบยิงเสียชีวิตเสียชีวิต พระราชินีแคทเธอรีนจึงทำสัญญาสงบศึก ทรงกล่าวกับทูตจากเวนิสว่า “ ถ้า มองเซอร์ เสียชีวิตเสียก่อนหน้านี้ สันติภาพ ก็คงเกิดขึ้นเร็วกว่านี้แน่



   Francois 2nd Duke Guise ราชวงค์ผู้นำโรมันคาทอลิก ถูกยิงกลางหลัง ระหว่างการล้อม ออร์ลีอองส์


 ปี ค.ศ. 1567 ก็เกิดเหตุการณ์จู่โจมที่รู้จักกันว่า การจู่โจมแห่งโมซ์ (Surprise of Meaux) โดยที่กลุ่มอูเกอโนท์ พยายามโจมตีพระเจ้าชาร์ลโดยตรง ซึ่งเป็นชนวนทำให้เกิดสงครามกลางเมือง ทำให้พระราชินีแคทเธอรีน ทรงเปลี่ยนพระทัยในนโยบายที่มีต่อกลุ่มอูเกอโนท์  โดยทรงเลิกใช้วิธีประนีประนอม และหันมาใช้การกำหราบแทน

 กลุ่มอูเกอโนท์ถอยไปตั้งหลัก ชายฝั่งทางตะวันตก ซึ่งพระราชินีฌานน์ และพระโอรสอองรีแห่งนาวาร์ มาสมทบทีหลัง พระราชินีฌานน์ ทรงสาส์นถึงพระราชินีแคทเธอรีนว่า "เรามาตั้งใจที่จะเสียชีวิตดีกว่าจะยอมเป็นคาทิลิค..."


    พระราชินีฌานน์ แห่งนาวาร์ ผู้เคร่งในโปตัสแตน

 ในที่สุดก็ยอมสงบศึกอีกรอบ เพราะกองทัพของพระราชินีแคทเธอรีน ทรงขาดทุนทรัพย์ในการบำรุงรักษาในการต่อต้านกลุ่มอูเกอโนท์ ซึ่งมีกำลังแข็งแกร่งขึ้น

 ปี ค.ศ. 1572 เมื่อพระราชินีม่าย แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ พระมารดาของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส ต้องการสร้างความปรองดองแห่งชาติ หวังจะเชื่อมความสงบด้วยการจัดแต่งงานระหว่างลูกสาว มาร์เกอรีต เดอ วาลัวส์ ( Marguerite de Valois ) น้องสาวของพระเจ้าชาร์ลที่ 9 กับอองรีแห่งนาวาร์ ผู้ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์



    Marguerite de France ธิดาสุดดื้อ ของพระนางแคทเทอรีน

    อองรีแห่งนาร์วา ภายหลังเป็น อองรีที่ 4 Henry IV


 แต่ก่อนหน้านี้ มาร์เกอรีต มีความสัมพันธ์ลับๆ กับดยุกอองรีแห่งกีส ลูกชายของดยุคฟรองซัวส์แห่งกีส ผู้ถูกลอบสังหาร จนหม่อมแม่ต้องบู้กับลูกสาว แล้วใส่ตะกร้าล้างน้ำ



    ดยุกอองรีแห่งกีส


 พระแคทเธอรีน ได้ขู่เข็ญพระราชินีฌานน์แห่งนาวาร์ มารดาของอองรีแห่งนาวาร์ ให้จัดการแต่งให้ได้ แต่ก่อนวันแต่งงาน แม่เจ้าบ่าวก็เสียชีวิตไปก่อน วงในซุบซิบกันว่า ตายเพราะยาพิษที่ถุงมือ ของราชินีแคทเธอรี ซึ่งรู้กันว่า แม่เจ้าบ่าวก็ไม่ถูกชะตากับแคทเธอรีนมานานแล้ว ช่วงพิธีแต่งงาน เจ้าสาวเอาแต่ก้มหน้าไม่มองเจ้าบ่าวเลย  พี่ชายต้องไปจับ " งัดหน้า " ขึ้น



   พระราชินีฌานน์แห่งนาวาร์

    พระเจ้าชาร์ลที่ 9 Charles IX พี่ชายเจ้าสาว


 งานแต่งงาน เป็นโอกาสที่อูเกอโนท์ผู้ร่ำรวย มีฐานะดี จะออกมาร่วมงานฉลองในเมืองปารีส ที่ผู้คนส่วนใหญ่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เหตุเกิดขึ้นสองวันหลังจากที่การลอบสังหารนายพลกาสปาร์ด เดอ โคลิญญี นายทหารของอูเกอโนท์ไม่ประสบความสำเร็จ แค่บาดเจ็บที่แขนและนิ้วจากปืน  3 วันต่อมา การลอบฆ่าก็สำเร็จ  คนใช้ของดุ๊กแห่งกีซคนใหม่ ที่รู้จักกันว่า "แบม" ใช้ดาบแทงเขาที่อก และถูกตัดศรีษะเสียชีวิตภายในบ้าน


  ภาพวาดนายพล กาสปาร์ด เดอ โคลิญญี ถูกบุกทำร้าย แสดงบรรยากาสว่า ท่านน่าเกรงขาม จนผู้ทำร้ายถึงกับหวั่นไหว


 เมื่อ โคลิญญี เสียชีวิตลงแล้ว พระราชินีแคทเธอรีนและที่ปรึกษา คาดการณ์ล่วงหน้าว่า กลุ่มอูเกอโนท์จะลุกขึ้นต่อต้านเพื่อเป็นการแก้แค้น ในการที่นายพลโคลิญญีถูกลอบยิง ก็มีคำสั่งให้สังหารผู้นำของอูเกอโนท์หลายคน ที่ขณะนั้นยังพำนักอยู่ในปารีส หลังจากการแต่งงาน ฝ่ายโรมันคาทอลิกก็ดำเนินการ ไล่ฆ่าฝ่ายโปรเตสแตนต์ที่เดินทางเข้ามาร่วมงานอภิเสกสมรสในปารีส อย่างโหดร้ายทารุณ ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปเป็นจำนวนหลายพันคน





    การเข่นฆ่ากระจายตัวไปทั่วเมือง บางคนก็หลบซ่อน หลายคนก็หนีออกจากเมือง


 ในเหตุการณ์ที่มา เรียกกันว่า "การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว" การสังหารหมู่ก็เริ่มทั่วไปในกรุงปารีส และขยายไปทั่วฝรั่งเศสเป็นเวลาหลายเดือน จำนวนผู้เสียชีวิตไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่สันนิษฐานกันว่าอูเกอโนท์ตายไปประมาณหมื่นคน หรืออาจจะถึงแสนคน

 การต่อต้านทางศาสนานี้ ลามไปยังประเทศใกล้เคียง เช่น เฟรมมิสหรือฮอลแลนด์ ทำให้ศิลปินบางคนก็คอยระวังภัย เช่น Pieter Brueghe ศิลปินบ้านนอก ที่มีใจแก่โปตัสแตน ตอนบั้นปลายชีวิตต้องเผางานบางส่วนของเขา เพื่อป้องกันการสืบสวนลูกเมียจากโรมันคาทอลิค


   บลูเกล Pieter Brueghe ศิลปินเพื่อชีวิตชาวเฟรมมิส


 มีคนได้ยินเสียงตะโกนของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 ฆ่ามันให้หมด แม้พระนางแคทเธอรีนจะแสดงตัวว่าไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ อองรีแห่งนาวาร์ ต้องคุกเข่าต่อหน้าแท่นบูชาของโรมันคาทอลิก หลังจากที่ถูกบังคับให้เปลี่ยนนิกายเพื่อเลี่ยงการถูกฆ่า


 ภาพเสียดสีของจิตรกรยุคหลัง ชื่อภาพ "เช้าวันหนึ่งที่หน้าประตูเมืองแห่งลูฟ" One morning at the gates of the Louvre, 19th-century painting เห็นพระนางแคทเทอรีนในชุดดำ  หัวหน้ากลุ่มกีสกำลังก้มรายงานผล ลูก ๆ กำลังตื่นเต้นตระหนกอยู่ด้านหลัง


 ขบวนการโปรเตสแตนต์อ่อนแอลงมาก เพราะการสูญเสียผู้นำหลายคน และผู้ที่รอดมาได้ก็มีหัวรุนแรงขึ้น ต่อมาพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 สวรรคต น้องชายได้ครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้าอองรีที่ 3 โดยมีหม่อมแม่คุมบังเหียนอยู่


   ภาพพิมพ์พระเจ้าอองรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศส


 ค.ศ. 1584 ดยุคอองรีแห่งกีส ก็ตั้งตนเป็นผู้นำสันนิบาตโรมันคาทอลิก กุมอำนาจการปกครองทำให้พระเจ้าอองรีที่ 3 ต้องทำสงครามต่อต้านสันนิบาต แต่สู้ไม่ได้ต้องสงบศึก เซนต์สัญญาจ่ายค่าเสียหายในสงคราม หลังจากนั้นหนีไปซ่อนตัวทรงอดพระกระยาหารและสวดมนต์พร้อมองครักษ์45คน  ภายในปี ค.ศ. 1587 การต่อต้านของโรมันคาทอลิกต่อโปรเตสแตนต์ก็ขยายตัวไปทั่วยุโรป สเปน(คาทอลิค) เตรียมบุกอังกฤษ(โปตัสแตน) ประชาชนฝรั่งเศสจะปกครองตนเองโดยเชื่อฟังแต่พวกอำมาตย์กีส

 ราชินีแคทเธอรีนขอให้พระเจ้าอองรีที่ 3 กลับเข้าวังประนีประนอม เพื่อจะได้รอดมาต่อสู้ต่อไปในวันข้างหน้า เมื่ออองรีกลับมาในปี 1588 ได้วางแผนลอบสังหาร ดยุกฟรองซัวส์แห่งกีสจนสิ้นชีพ โดยนัดประชุมแต่ห้ามหม่อมแม่เข้าประชุมด้วย

 แม่ก็ตรอมใจ จากลูกๆที่ไม่ได้เรื่อง เมื่อลูกชายบอกหม่อมแม่ว่า “ กรุณายกโทษให้หม่อมฉันด้วย เมอซิเยอร์แห่งกีส เสียชีวิตแล้ว เราจะไม่กล่าวถึงนามนั้นอีก  หม่อมฉันเป็นผู้จัดการการสังหาร หม่อมฉันทำในสิ่งเดียวกับที่เมอซิเยอร์จะทำกับหม่อมฉัน ” หม่อมแม่ต้องไปสารภาพบาปในโบสถ์บอกว่า.. “ เจ้าลูกตัวร้าย ไม่รู้ว่ามันไปทำอะไร !...สวดมนต์ให้ด้วยเถอะ....   ค.ศ. 1589 ( 1 ปีต่อมา ) พระราชินีแคทเธอรีนก็เสด็จสวรรคตหลังจากป่วย เมื่อพระชนม์มายุได้หกสิบเก้าพรรษา


  พระราชินีนาถแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ โดย ฟรองซ์


 แปดเดือนหลังจากการบรรจุพระบรมศพของพระราชินีแคทเธอรีน อองรีที่ 3 ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ โดยพวกกีส ส่วนฟรองซัวส์น้องคนเล็ก สิ้นพระชนม์ด้วยวัณโรคไปก่อนหน้านั้นแล้ว อองรีแห่งนาวาร์ (โปรเตสแตนต์ที่ถูกจับแต่งกับลูกสาวของพระนางแคทเธอรีน แต่ไม่นานหลังแต่งเจ้าสาวก็หนีไป) ชนะศึกฝ่ายกีสตามหัวเมือง แล้วเข้ายึดกรุงปารีสได้หลังจากล้อมอยู่ระยะหนึ่ง ก็ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าอองรีที่ 4 ให้อิสระต่อพวกโปเตสแตนต์ การปกครองโดยราชวงศ์วาลัวส์ เป็นเวลาร่วมสี่ร้อยปีสิ้นสุดลง




   พระเจ้าอองรีแห่งนาวาร์ หรือพระเจ้าอองรีที่ 4 ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์บูร์บง


 ในสมัยที่เต็มไปด้วยสงครามกลางเมือง และความลดถอยลงของความนิยมในสถาบันพระมหากษัตริย์ แม้จะมีความเลวร้ายในแง่มุมที่ต้องรักษาราชบัลลังก์ พระราชินีแคทเธอรีนก็ทรงนำความหรูหรา ทางด้านวัฒนธรรมกลับมาสู่ราชวงศ์ พระองค์เริ่มโครงการทางศิลปะต่างๆ ที่ยาวนานถึงกว่าสามสิบปี ในระหว่างที่พระองค์ทรงเป็นจุดศูนย์กลาง ของวัฒนธรรมยุคเรอเนสซองซ์ในฝรั่งเศสยุคปลายในทุกสาขา รวมถึงสร้างสรรค์นาฏกรรม, ดนตรี แฟร์ชั่นเสื้อผ้าแบบแผนการจัดงานต่างๆ และละครบัลเลต์ก็เกิดขึ้นในยุคของเธอ


   ภาพวาดบัลเลต์คอมมิค เด ลา แรน (Ballet Comique de la Reine)  ในยุคนั้น

    พรมในวังแสดงถึงงานรื่นเริงในพระราชฐาน


   Le château de Fontainebleau พระราชวังฟงแตนโบล สร้างมาตั้งแต่สมัยยุคกลาง แต่การก่อสร้างครั้งใหญ่เกิดขึ้น สมัยพระเจ้าอองรีที่ 2 (Henri ll) และมเหสีกาธรีน เดอ เมดิชิ (Catherine de' Medici) โดยเชิญศิลปินเก่งๆมาตกแต่ง

    เชลลินี  Benvenuto Cellini ศิลปินแห่งโรมก็ได้รับเชิญมาแต่งวังนี้ เขาเกิดก่อนดาวินซีเสีย 19 ปี


    ภาพลายเส้น พระราชวังฟงแตนโบล ที่เขาออกแบบตกแต่งให้


 เชลลินี เป็นทุกอย่างเท่าที่คนจะเป็นได้ เช่น สถาปนิก วาดรูป ปั้นหล่อ ช่างทองกวี นักดนตรีที่มีชื่อ ออกแบบเครื่องใช้ต่างๆรวมทั้งอาวุธเขียนตำรา เป็นทหารที่รบเก่ง ซึ่งอาจจะเป็นปกติของยุคเรอเนสซองค์ที่เดินกันเกลื่อนเมือง


    ประติกรรมหล่อบรอนซ์ที่มีชื่อของเขา เปอร์ซิอุสตัดศรีษะเมดุซา







 หลังจากพระราชินีแคทเธอรีนสิ้นพระชนม์ลง คุณภาพของการเขียนภาพเหมือนในฝรั่งเศสก็เริ่มเสื่อมลง ในปี ค.ศ. 1610 งานศิลปะที่อุปถัมภ์โดยราชวงศ์วาลัวส์สมัยหลัง ที่มารุ่งเรืองในสมัยของศิลปินฟรองซัวส์ โคลเอท์ก็สิ้นสุดลง พร้อมๆกับการสิ้นยุคตระกูลเมดิซีผู้นำคนสุดท้ายผู้สร้างพิพิธภัณฑ์ Uffizi ยุคเรอเนสซองค์อันยิ่งใหญ่ก็ผลัดเปลี่ยนเข้าสู่ยุคใหม่



  Cosimi I de' Medici เจ้าเมืองคนสุดท้ายเกิดปีเดียวกับแคทเทอรีนแห่ง เมดิซี ผู้สร้างพิธภัณฑ์ Uffizi ให้อิตาลี   วาดโดย Agnolo Bronzino

 โคสิโมได้รับอำนาจเมื่ออายุได้ 17 ปี เมื่อดยุกอเลสซานโดร เดอ เมดิชิ (ผู้ที่สันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 แต่งตั้ง) ถูกลอบฆ่า ผู้มีอิทธิพลในเมืองใช้โคสิโมเป็นหุ่นเชิด เพราะอายุยังน้อย แต่โคสิโมแข็งแกร่งเกินกว่าจะควบคุมได้ ในที่สุดเขาก็จัดการผู้มีอิทธิพลทั้งหลาย และมอบอำนาจส่วนใหญ่ ให้แก่สภาสี่สิบแปดคนแทนที่


  Cosimi I de' Medic i ตอนอายุ 19 ปี วาดโดย Jacopo Carucci







  พิพิธภัณฑ์ Uffizi ถือเป็นมรดกของตระกูลเมดิซีที่ทิ้งไว้ยังมีอิทธิพลต่อเศรฐกิจอิตาลีถึงยุคปัจจุบัน
ทางด้านการสำรวจมีการสัมพันธ์ทางการค้าอย่างเป็นทางการกับทวีปอเมริกาโดยโคลัมบัส
ประติมากรรมนายอเมริโกที่ด้านนอกพิพิธภัณฑ์Uffizi

อเมริโก เวสปุชชี ( Amerigo Vespucci;1454 – , 1512เกิดหลังดาวินซี 2ปีหลังโคลัมบัส3 ปี) พ.ศ. 1997 — 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2055) เป็นนักสำรวจ นักเดินเรือ และนักทำแผนที่ชาวอิตาลีที่เป็นคนชี้กระจ่างว่าส่วนที่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เคยมาสำรวจมานั้นไม่ใช่เป็นแผ่นดินส่วนหนึ่งของเอเชีย(โคลัมบัสคิดว่าเป็นอินเดีย) หากแต่เป็นแผ่นดินใหม่ หลังจากนั้นก็ได้ตั้งชื่อทวีปเป็นอเมริกาเพื่อเป็นการให้เกียรติกับ อเมริโก เวสปุชชี ในการชี้แนะอย่างถูกต้อง (อเมริโกนั้นเป็นภาษาละติน แต่เพราะในภาษาอังกฤษนั้นเรียกว่าอเมริกา)แต่โคลัมบัสก็คงดังกว่านายอเมริโกอยู่ดี ..



                                                                                                         by yuttavitcho.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศิลปะยุคกรีก

ศิลปะยุค โรโกโก ตอนที่1 ศิลปแห่งความอ่อนหวานและรุงรัง

ศิลปะยุคบาโรค Baroque ตอนที่ 17 โยฮัน เฟอร์เมร์ (Johan Vermeer) ผู้สร้างภาพถ่ายในยุคทองของบาโรคเนเธอแลนด์