ศิลปะยุคบาโรค Baroque ตอนที่ 3 สงครามที่ยืดเยื้อ และศิลป Caravaggism

บาโรค 3 สงครามที่ยืดเยื้อ
และศิลป Caravaggism


       การเมืองในยุโรปคริสต์ศตวรรษที่ 17 เกิดสงครามศาสนาขึ้นระหว่างประเทศ สเปน โปตุเกส ดัตช์(เนเธอร์แลนด์) เบลเยี่ยม โรม(อิตาลี) ฝรั่งเศส อังกฤษ ในปี ค.ศ. 1568 สหจังหวัดดัตช์ (เนเธอร์แลนด์) เจ็ดจังหวัดลงนามในสนธิสัญญาสหภาพแห่งอูเทร็คท์ (Union of Utrecht) ในการปฏิวัติต่อต้านอำนาจการปกครองของพระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปนที่นำไปสู่สงครามแปดสิบปี

ภาพการประชุมสหจังหวัดดัตช์ในปี 1579

         แต่มีสงครามขัดตราทัพระหว่างอังกฤษและสเปนก็อุบัติขึ้นเสียก่อน อันเป็นผลทำให้พระเจ้าฟิลลิปต้องทรงหยุดยั้งการเดินทัพคืบหน้า หลังจากที่ได้ทรงสามารถยึดเมืองสำคัญทางการค้า ทั้งบรูจส์และเก้นท์ได้แล้ว หลังจากสิ้นสงครามอังกฤษกับสเปน พระองค์จึงได้ยึดอันท์เวิร์พ ซึ่งเป็นเมืองสำคัญที่สุดทางการค้าขณะนั้นได้ในปี ค.ศ. 1585 เมื่ออันท์เวิร์พเสียแก่สเปน ซึ่งเป็นการยุติสงครามแปดสิบปีสำหรับเนเธอร์แลนด์ตอนใต้(เบลเยียมปัจจุบัน) แต่สหจังหวัดดัตช์ (เนเธอร์แลนด์ปัจจุบัน) ก็ยังคงสู้ต่อไปจนกระทั่งปี ค.ศ. 1648  จึงยุติสงคราม

ภาพการบุกล้อมเมืองอันท์เวิร์พของสเปน

      การสูญเสียเนเธอร์แลนด์ตอนใต้ ทำให้พ่อค้าผู้มีฐานะมั่งคั่งของลัทธิคาลวินในเมืองต่างๆ ที่ตกไปเป็นของสเปนโรมันคาทอลิก ต้องหนีภัยขึ้นไปทางตอนเหนือ เเละไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในอัมสเตอร์ดัม ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงเมืองท่าเล็กๆ แต่ไม่นานก็เจริญขึ้น เป็นเมืองท่าสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 17 การอพยพครั้งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นการไป “สร้างอันท์เวิร์พใหม่” การอพยพกันจากฟลานเดอร์สและบราบองต์เป็นชนวนสำคัญ ในการผลักดันให้เกิด “ยุคทองของเนเธอร์แลนด์”

      นอกจากผู้ลี้ภัยจากทางใต้ของเนเธอร์แลนด์แล้วก็ยังมีผู้ลี้ภัยจากบริเวณอื่นๆ ของยุโรปมาสมทบ เช่นที่หนีมาจากการไล่ทำร้ายและสังหารทางศาสนาโดยเฉพาะชาวยิวเซฟาร์ดี (Sephardi Jews) จากโปรตุเกสและสเปน และต่อมาก็มีกลุ่มอูเกอโนต์จากฝรั่งเศสด้วย

ภาพพิมพ์แสดงการทำลายกลุ่มอูเกอโนต์(โปตัสแตน )
ในวันบาโธโลมิวที่ฝรั่งเศส ถือว่าป่าเถื่อนที่สุดในสงครามศาสนา


การสังหารชาวยิวเซฟาร์ดีในโปรตุเกส ทำให้ชาวยิวต้องหนีมาอยู่อัมสเตอร์ดัม

ภาพพิมพ์ปี 1572 แสดงการต่อสู้เพื่ออิสระภาพ
ของเบลเยี่ยมและเนเธอแลนด์
จากการกดขี่ของสเปน
ระหว่างการลงนามในสนธิสัญญาสหภาพแห่งอูเทร็คท์ (Union of Utrecht) 
จนถึงสงบศึกเป็นเวลา80ปี (1568 – 1648)
ตรงกับเมืองไทยในสมัยอยุทธยาเสียกรุงครั้งแรก
จนถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
(พระราชบิดาของสมเด็จพระนารายณ์)

       ในช่วงนี้อิทธิพลจากงานวาดของคาราวัจโจกระจายตัวไปทั่วอิตาลีและภูมิภาคใกล้เคียง เช่น ฝรั่งเศส สเปน เนเธอแลนด์ที่มีกลุ่มการเขียนแบบคาราวัจโจ เกิดขึ้นที่อูเทร็คท์

โอราซิโอ เจนติเลสชิ -The Lute Player, 1610

    โอราซิโอ เจนติเลสชิ (Orazio Gentileschi)ค.ศ. 1563 - ค.ศ. 1639) ศิลปินโรมรุ่นใหญ่ผู้ นำตระกูลการเขียนแบบคาราวัจโจที่เนเปิล ที่ส่งอิทธิพลถึงลูกสาวเขาด้วย

อาร์เทมิเซีย เจ็นทิเลสชิ Artemisia Gentileschi  
ภาพ Judith “จูดิธตัดหัวโฮโลเฟอร์เนส” 1611-12

     วาดตอนอายุ19-20ปี เป็นภาพเขียนที่แสดงความรุนแรง ซึ่งตีความหมายกันว่าเป็นภาพเขียนที่มาจากความรู้สึกในจิตใต้สำนึกของอาร์เทมิเซียเอง ที่ต้องการแก้แค้น ที่เธอโดนข่มขืนตอนอายุ18ปี ซึ่งถูก อาโกสติโน ตาสซิ (Agostino Tassi) ผู้ที่บิดาจ้างให้มาช่วยสอนเขียนภาพ ข่มขืนกระทำชำเรา ถึงแม้ว่าอาร์เทมิเซียจะได้รับความอับอาย หมิ่นประมาท เยาะเย้ยถากถาง และเหยียบย่ำศักดิ์ศรี ระหว่างขึ้นให้การในชั้นศาล

            อาร์เทมิเซียยอมอดทนต่อสู้จนถึงที่สุด เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตนเอง คดีนี้กินเวลาในการฟ้องร้อง 7 เดือน และเป็นคดีประวัติศาสตร์ในสมัยนั้น เพราะเมื่อราว 500 ปีที่แล้ว แทบไม่มีผู้หญิงที่ถูกข่มขืนคนใด กล้าหาญพอที่จะลุกขึ้นฟ้องร้องเอาผิดผู้ชายที่ก่อกรรมกับเธอในชั้นศาล เนื่องจากทนความอัปยศอดสูไม่ไหว และเธอต้องถูกทรมานเพื่อเป็นการเค้นความจริง และเพื่อป้องกันการแจ้งความเท็จ ซึ่งทางการขณะนั้นเชื่อว่า ถ้าผู้ถูกทรมานยังยืนยันเรื่องเดิมก็แปลว่าพูดความจริง

Judith Maidservant “จูดิธกับสาวใช้” 
เธอวาดชุดจูดิทไว้หลายภาพโดยไม่ซ้ำท่าทาง

     จากการสืบสวนพบว่า ตาสซิ มีแผนที่จะฆ่าภรรยา, ข่มขืนน้องภรรยา, และยังมีแผนที่จะขโมยรูปภาพของโอราซิโอด้วย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าท้ายที่สุดแล้ว ตาสซิจะพ้นผิดในชั้นศาลแต่ติดคุก1ปี จากการขโมยภาพ แม้ความพยายามที่จะกอบกู้เกียรติและศักดิ์ศรีของตนให้กลับคืนมาของอาร์เทมิเซียจะไร้ผล แต่เธอก็สามารถค้นพบหนทางแก้แค้นผู้ชาย ได้ในงานจิตรกรรมของเธอ

     การขึ้นศาลครั้งนี้มีผลต่อการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมของสิทธิสตรีในคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลังจากศาลตัดสินได้เดือนหนึ่ง โอราซิโอก็จัดการให้ลูกสาวแต่งงานกับศิลปินปลายแถวจากฟลอเรนซ์ เพื่อเป็นการกู้ชื่อเสียง เธอต้องต่อสู้อย่างหนัก เพื่อที่จะได้รับการยอมรับจากสถาบันการวาดภาพ(Academy of Drawing)ที่ฟลอเรนซ์ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่ยอมรับผู้หญิงที่วาดภาพได้ ในที่สุดเธอก็ได้รับการอุปถัมป์จากตระกูลเมดิชิ และพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ  เธอยังมีความคุ้นเคยกับกาลิเลโอ และหลานของไมเคิลแองเจลโล โดยช่วยตกแต่งคฤหาสถ์ให้ แต่จากความฟุ่มเฟือยของสามี ทำให้ต้องประสพกับหนี้สินมากมาย

"ชะลอร่างจากกางเขน" ของรือเบินส์ Rubens ศิลปินดัตช์ เป็นงานที่แสดงอิทธิพลของจิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและบาโรกของอิตาลี ในวิธีใช้แสงแบบการาวัจโจ

เจอราร์ด ฟาน โฮนท์ฮอร์สต์ Gerard van Honthorst Merry Company  1623

 การเขียนแบบคาราวัจโจ ที่อูเทร็คท์ (เนเธอแลนด์)(Utrecht Caravaggism)
หลังจากไปศึกษางานในอิตาลีกลับมา ฟาน โฮนท์ฮอร์สต์ 
ยังได้เป็นประธานของสมาคมจิตรกรในอูเทร็คท์ด้วย

เดิร์ค ฟาน บารูเร็น Dirck van Baburen, (c. 1595-1624) 
Utrecht อูเทร็คท์ เนเธอแลนด์

ฟรันส์ ฮาลส์ Frans hals เนเธอร์แลนด์ The Merry Lute Player

บาร์โทโลเมโอ มันเฟรดิ (Bartolomeo  Manfredi) 
bacchus and a drinker[1610]การเขียนแบบคาราวัจโจที่ โรม

จุยเซ็ป( โจเซ่)  ริเบอรา Jusepe( José)  de Ribera 
จิตกรสเปน  the club foot 1625 ภาพที่มีชื่อเสียงของเขา

ฟรันซิสโก ซูร์บาราน (Francisco Zurbarán) casilda 
นักบุญคาซิลดาแห่งเบอร์โกสซูร์

 ซูร์บารานเป็นที่รู้จักกันในนาม “การาวัจโจของสเปน” เพราะวิธีการวาดภาพอย่างเหมือนจริงและการใช้แสงเงาที่ตัดกันอย่างชัดเจนเช่นเดียวกับงานของคาราวัจโจ  บารานได้รับแต่งตั้งให้เป็นจิตรกรประจำราชสำนักของพระเจ้าเฟลีเปที่ 4 แห่งสเปน  เมื่อยุคการเขียนรูปเปลี่ยนเป็นสมัยที่มีสีสัน  งานของเขาเริ่มมีความนิยมน้อยลง  บั้นปลายตายอย่างไม่มีใครรู้จักและอย่างยากจน

ชอร์ช เดอ ลา ตูร์  Georges de La Tour 1640 
จิตรกรฝรั่งเศส“นักบุญโจเซฟกับพระเยซูเมื่อยังทรงพระเยาว์  
เขามักจะเขียนแหล่งของแสงไว้ในภาพด้วย เช่น คบเพลิง เทียนไข

ซิโมน วูเอท์  Simon Vouet จิตรกรฝรั่งเศส The Entombment

    ขบวนการเขียนแบบคาราวัจโจสิ้นสุดลงเมื่อเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ที่ยุโรปในปี ค.ศ. 1656  ครั้งหน้าเป็นยุคทองของเนเธอร์แลนด์ ที่มีศิลปินเต็มบ้านเต็มเมือง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศิลปะยุคกรีก

ศิลปะยุค โรโกโก ตอนที่1 ศิลปแห่งความอ่อนหวานและรุงรัง

ศิลปะยุคบาโรค Baroque ตอนที่ 17 โยฮัน เฟอร์เมร์ (Johan Vermeer) ผู้สร้างภาพถ่ายในยุคทองของบาโรคเนเธอแลนด์