ศิลปะยุคบาโรค Baroque ตอนที่ 2 การาวัจโจ - PART II
คาราวัคจิโอภาค2 (จบ)
เพื่อนที่เขาได้รู้จักในโรมและมีอิทธิพลต่อชีวิตของคาราวัคจิโอ คือ มาริโอ มินนิติ (Mario Minniti)ที่คอยช่วยเหลือยามยาก จิตรกรโพรสเปโร ออร์ซิ (Prospero Orsi) ผู้มีชื่อเสียงได้แนะนำคาราวัจโจแก่นักสะสมผู้มีอิทธิพลและสถาปนิกโอโนริโอ โลงกิ (Onorio Longhi) ผู้แนะนำให้รู้จักชีวิตการทะเลาะเบาะแว้งตามถนนในกรุงโรม
หลังจากประสพความสำเร็จจากภาพนักบุญแม็ทธิว
การาวัจโจก็ได้รับสัญญาจ้างเขียนภาพศาสนาอีกมากมายที่เป็นภาพเกี่ยวกับการขัดแย้งทางใจ, การทรมานที่น่าสยดสยอง,
และการตายการทรมาน
“พระเยซูถูกจับ” ค.ศ. 1602. หอศิลป์แห่งไอร์แลนด์, ดับลิน การใช้ค่าต่างแสงของคาราวัจโจแสดงให้เห็นจากใบหน้าและเสื้อเกราะ แต่จะไม่เห็นที่มาของลำแสง คนทางขวาสุดเป็นภาพเหมือนตนเอง
การใช้ค่าต่างแสงของคาราวัจโจทำให้เป็นที่นิยมกันมากในหมู่ศิลปิน
แต่ก่อให้เกิดปัญหากับผู้จ้างงานทางศาสนาบ่อยครั้ง
คาราวัจโจมีความสามารถในการเขียนภาพอย่างรวดเร็วจากตัวแบบจริงโดยเพียงแต่ร่างหยาบๆ
บนผืนผ้าใบด้วยด้ามแปรง
ซึ่งเป็นวิธีที่เป็นที่ชิงชังในบรรดาช่างเขียนผู้ชำนาญที่ติเตียนการไม่ยอมวาดจากภาพร่างและการที่ไม่ยอมวาดตัวแบบอย่างอุดมคติอย่างที่ช่างเขียนอื่นทำ
“พระกระยาหารค่ำที่เอ็มมัส” Supper at Emmauค.ศ. 1601. สีน้ำมันบนผ้าใบ, 139 x 195 ซม. หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน
คาราวัจโจมีความสามารถในการแสดงฉากภาพที่กระจ่างในชั่วขณะที่สำคัญที่สุดของเหตุการณ์อย่างที่ไม่มีผู้ใดเทียบเทียมได้
เช่นในภาพ “พระกระยาหารค่ำที่เอ็มมัส” ที่แสดงนาทีที่สาวกจำได้ว่าเป็นพระเยซู—วินาทีก่อนหน้านั้นทรงเป็นเพียงเพื่อนร่วมทางที่โศรกเศร้าต่อการจากไปของเมสไซยาห์
อิทธิพลการวาดแนวใหม่ของเขาทำให้เกิดกลุ่มศิลปินที่เขียนภาพแบบคาราวัจโจเรียกกันว่า“กลุ่มคาราวัจโจ” (Caravaggism) ในกรุงโรมและกระจายไปยังประเทศอื่นๆ เช่น จิตรกร โรม โอราซิโอ
เจ็นทิเลสชิ (Orazio Gentileschi)ผู้มีอายุมากกว่าแต่ก็ยอมรับฝีมือและแนวคิดของคาราวัจโจ
รวมทั้งลูกสาวอาร์เทมิเซีย เจ็นทิเลสชิ (Artemisia Gentileschi)ที่เป็นจิตรกร ด้วย
อาร์เทมิเซีย
เจ็นทิเลสชิ“ภาพเหมือนตนเอง” (ราว ค.ศ. 1630) เธอมีความใกล้ชิดกับคาราวัจโจพอสมควร
บางภาพถูกปฏิเสธโดยผู้จ้าง คาราวัจโจต้องนำกลับมาเขียนใหม่และขายให้ลูกค้าคนใหม่
หัวใจของปัญหาอยู่ที่ความรุนแรงของความเป็นนาฏกรรมของภาพและความเป็นจริงของภาพที่ยากจะยอมรับของผู้จ้าง
ที่ยังเห็นว่าเป็นการเขียนภาพศาสนาที่ขาดความเคารพ เช่น “นักบุญแม็ทธิวและเทวดา” ที่เป็นภาพนักบุญแม็ทธิวในลักษณะที่เป็นชาวบ้านหัวล้านแข้งขาสกปรกกับผู้ชื่นชมอยู่ข้างๆ
ที่เป็นชายที่แต่งกายหลวมๆ หน้าตาราวเทวดาที่คาราวัจโจชอบวาด
แต่ผู้จ้างไม่ยอมรับงาน คาราวัจโจต้องนำกลับไปเขียนขึ้นใหม่เป็น “แรงบันดาลใจของนักบุญแม็ทธิว”
ภาพเซนท์แมททิวกับเทวดา Saint Matthew and the
Angel เป็นภาพที่ผู้จ้างร้องยี้รับไม่ได้ในความเซ็กซี่ ที่ดูเหมือนจะพัวพันด้วยท่าทางที่ยั่วยวนอารมณ์มากกว่าจะเป็นการแสดงการดลใจจากทูตสวรรค์
ภาพจริงถูกทำลายในสงครามโลกปี 1945
ภาพนี้ถูกแต่งสีขึ้นจากภาพถ่ายขาวดำที่หลงเหลืออยู่
แรงบันดาลใจของนักบุญแม็ทธิวค.ศ.1602
เป็นภาพที่วาดขึ้นใหม่แทนภาพ Saint Matthew and the Angel
ภาพ“การดลใจนักบุญมัทธิว”
ทูตสวรรค์ในภาพห่อตัวด้วยผ้าผืนที่เป็นริ้วลอยตัวม้วนลงมา
นักบุญมัทธิวเอนตัวไปข้างหน้า แสดงความรู้สึกบนใบหน้าถึงความฉงนและความไม่แน่ใจขณะที่ทูตสวรรค์มาดลใจถึงงานที่นักบุญจะเขียน
การาวัจโจใช้สีมืดทั้งภาพยกเว้นตัวแบบสองตัวที่สำคัญในภาพ
นักบุญมัทธิวดูเหมือนจะรีบวิ่งไปยังโต๊ะเขียนหนังสือจนทำให้ม้านั่งเอียงเกือบล้มออกไปนอกกรอบมายังบริเวณของผู้ชมภาพ
“มโนทัศน์ของนักบุญพอล”ค.ศ. 1600 ภาพวาดที่ถูกปฏิเสธจากผู้ว่าจ้างปัจจุบันอยู่ที่ Santa Maria del Popolo, in Rome
ภาพของม้าที่ก้มลงมาดูนักบุญพอลที่ม้าดูจะมีความสำคัญในภาพมากกว่าตัวนักบุญพอลเอง
ความขัดแย้งในการยอมรับหรือไม่ยอมรับทำให้คาราวัจโจหมดแรงกับเจ้าหน้าที่ของซันตามาเรียเดลโปโปโล:
“ทำไมถึงเอาม้าไว้กลางรูปและให้นักบุญพอลนอนบนพื้น?”
“เพราะ!” “ม้าเป็นม้าของพระเจ้าหรือ?”
“เปล่า, แต่มันยืนขวางแสงของพระเจ้า!”
Madonna and Child with St. Anne
“พระแม่มารีและพระบุตรกับนักบุญอันนา”
และ “มรณกรรมของพระแม่มารี” ประวัติของสองภาพหลังแสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาการไม่ยอมรับงานบางชิ้นของคาราวัจโจจากนายจ้าง
เช่นภาพ “พระแม่มารีและพระบุตรกับนักบุญอันนา” หรือที่รู้จักกันในชื่อ พระแม่มารีพาลาเฟรนิเอริ เขียนสำหรับแท่นบูชาที่มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม
ที่ตั้งแสดงอยู่ได้เพียงสองวันก็ถูกนำลง คาร์ดินัลเขียนว่า: “ภาพเขียนนี้ไม่มีอะไรนอกไปจากความหยายคาย, ความลบหลู่ศาสนา,
ความขาดความเคารพ
และความน่าขยะแขยง...เราน่าจะกล่าวได้ว่าเป็นงานที่เขียนโดยจิตรกรที่เขียนได้ดี,
แต่มีจิตวิญญาณที่มืด, และเป็นผู้ที่ห่างเหินจากความนับถือในพระเจ้า
จากความชื่นชมในตัวของพระองค์, และจากความคิดอันดี...”
“มรณกรรมของพระแม่มารี”.
Death of the Virgin
ค.ศ. 1601 - ค.ศ. 1606. สีน้ำมันบนผ้าใบ, 396 x 245 ซม. พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส
“มรณกรรมของพระแม่มารี”
เป็นภาพที่คาราวัจโจได้รับจ้างจากเลร์ซิโอ อัลเบร์ติ (Laerzio
Alberti) ทนายความของพระสันตะปาปาในปี ค.ศ. 1601 สำหรับชาเปลส่วนตัวภายในซันตามาเรียเดลลาสกาลา แต่ถูกปฏิเสธโดยนักบวชในปี
ค.ศ. 1606 เพราะการาวัจโจใช้โสเภณีผู้มีชื่อเสียงเป็นแบบสำหรับพระแม่มารีย์
บางคนกล่าวว่าเป็นเพราะช่วงขาที่ออกจะเปิดเผยของพระแม่มารี ทางมุมมองทางศาสนาเห็นว่าภาพพระแม่มารีที่นอนเสียชีวิตดูไร้เกีรติ
ไม่นานหลังจากที่ถูกปฏิเสธดยุกแห่งมานทัวก็ซื้อภาพ “มรณกรรมของพระแม่มารี”
ตามคำแนะนำของปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และต่อมาโดยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1
แห่งอังกฤษ ก่อนที่จะตกไปเป็นของงานสะสมของหลวงในฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1671
“จูดิธตัดหัวโฮโลเฟิร์นเนส” "Judith Beheading Holofernes"
ค.ศ. 1598-1599. หอศิลป์โบราณแห่งชาติ โรม
ภาพนี้เป็นฉากหนึ่งของหนังสือชื่อ"Book of Judith"ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของการที่จูดิธช่วยชาวอิสราเอลของนางโดยการยั่วยวนและฆ่าแม่ทัพชาวแอสสิเรียนนามว่าโฮโลเฟอร์เนส ที่มายึดกรุงเยรูซาเล็มในอดีต หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในซีรีย์บอกเราเรื่องราวของพระคัมภีร์ไบเบิล
ฉากฆ่าด้วยตัดหัวนี้เรียกได้ว่ามาแรงในสมัยนั้นเพราะเรื่องเดียวกันนี้ได้ถูกศิลปินชื่อดังหลายคนนำมาวาดแต่ไม่ดุเดือดเท่านี้
ในภาพนี้ ประกอบด้วย หัวที่กำลังขาดออกของโฮโลเฟอร์เนส จูดิธผู้กำลังลงมือสังหาร เลือดที่พุ่งออกจากลำคอรับกับม่านสีแดงเหมือนกองเลือดที่ละเลงอยู่ฉากหลัง และหญิงชราที่เป็นคนรับใช้กำลังจะนำหัวนั้นไปแสดงใบหน้าที่สะใจมากเหมือนกำลังไซโคสร้างแรงฮึดให้จูดิธ
ใบหน้าของจูดิธในภาพนี้
เป็นใบหน้าของ Fillide Melandroni ซึ่งเป็นนางแบบคนโปรดของการาวัจโจ ซึ่งโพสเป็น Saint Catherine of
Alexandria
เอกลักษณ์ของผลงานโดยการาวัจโจคือการใช้โทนสีแบบ
Contrast
(คือการที่สีสว่างและมืดตัดกันแรงๆ)
การใส่อารมณ์ของคนในภาพมากกว่าศิลปินอื่นๆ(เช่นความเกรี้ยวกราด ความฉงน
ความโศกเศร้า ที่ดูรุนแรงมาก)
เมื่อปี ค.ศ. 1606 การาวัจโจฆ่าชายหนุ่มหลังจากทะเลาะกันจนต้องหนีออกจากโรมเพราะมีค่าหัว
เมื่ออยู่ที่มอลตาปี ค.ศ. 1608 ภายใต้การอุปถัมภ์ของ อลอฟ เด
วินยาคอร์ท อัศวินแห่งลัทธิเซนต์จอห์น เด
วิยาคอร์ทมีความประทับใจกับผลงานคาราวัจโจและมีความภูมิใจในการที่มีจิตรกรสำคัญเป็นช่างเขียนประจำลัทธิ
“ภาพเหมือนของอลอฟ เด
วิยาคอร์ตและเด็กรับใช้”ค.ศ. 1608 ซึ่งคาราวัจโจหวังว่าเด
วิยาคอร์ตเป็นผู้ที่อาจจะมีอำนาจพอที่จะขออภัยโทษในเรื่องที่เคยก่อคดีฆาตกรรมไว้
แต่ปลายปีคาราวัจโจก็ไปมีเรื่องทำร้ายอัศวินคนหนึ่งจนถูกจับเข้าคุกและถูกขับออกจากมอลตาอย่างอัปยศ ความประพฤติของการาวัจโจว่ายิ่งประหลาดขึ้นทุกวัน
เช่นนอนหลับทั้งๆ ที่ยังสวมเสื้อผ้าพกอาวุธเต็มที่
หรือฉีกภาพเขียนทิ้งถ้าใครมาติแม้แต่นิดเดียว หรือเที่ยวเยาะเย้ยช่างเขียนท้องถิ่น
และเมื่อไปอยู่ที่เนเปิลส์เมื่อปี ค.ศ. 1609 ว่ากันว่ามีคนพยายามฆ่าการาวัจโจโดยศัตรูเก่า
ใบหน้าถูกทำร้ายจนเสียรูป
ก่อนที่จะถูกขับการาวัจโจก็หนีไปซิซิลิไปหาเพื่อนเก่ามาริโอ มินนิติ Mario Minniti ทั้งคู่เดินทางไปเรื่อยๆจากการหลบหนีจนถึงเนเปิลขณะเดินทางได้เขียนภาพ“การฝังนักบุญลูซิ”, “ชุบชีวิตลาซารัส” และ “การชื่นชมของคนเลี้ยงแกะ”
การฝังนักบุญลูซิ Burial of St. Lucy
การชื่นชมของคนเลี้ยงแกะ Adoration of the Shepherds1609 พิพิธภัณฑ์เรจิโอนาเล, เมสสินา
“การชื่นชมของคนเลี้ยงแกะ” วาดขณะที่คาราวัจโจพำนักอยู่ที่เมสสินาคาราวัจโจได้รับสัญญาจ้างให้วาดภาพสี่ภาพจากชุดทุกขกิริยาของพระเยซู ภายในโรงนาไม้ที่ประสูติมีลาและวัวยืนอย่างอดทนอยู่ข้างหลังภาพ บนพื้นเป็นฟางมีตะกร้าใส่ขนมปังและ เครื่องมือช่างไม้ของโจเซฟและชิ้นผ้าสองสามชิ้น โจเซฟใส่เสื้อแดงแนะนำคนเลี้ยงแกะที่แต่งสีน้ำตาลและเทาต่อแมรี
ภาพชุดนี้คาราวัจโจได้รับค่าจ้างที่สูงที่สุดที่ได้รับตั้งแต่เริ่มเขียนภาพมา
“ชุบชีวิตลาซารัส” The Raising of Lazarus (1609), พิพิธภัณฑ์เรจิโอนาเล, เมสสินา
”ภาพชุบชีวิตลาซารัส” กล่าวถึงนักบุญลาซารัสพี่ของมาร์ธาและนักบุญแมรี แม็กดาเลนที่ล้มป่วย, เสียชีวิต, ถูกฝัง
และในที่สุดก็ถูกชุบชีวิตโดยพระเยซู
ภาพนี้ก็เช่นเดียวกับภาพอื่นของคาราวัจโจที่เขียนในช่วงเดียวกันที่ฉากหลังเป็นเพียงผนังว่างๆ
ที่ทำให้ผู้อยู่ในภาพดูเล็กลงมาก เรื่องที่เล่ากันว่าคาราวัจโจให้คนขุดร่างคนที่เพิ่งถูกฝังขึ้นมาเป็นแบบเขียนเป็นเรื่องที่
“น่าจะไม่ใช่เรื่องจริง
แต่ก็ไม่เกินเลยเกินกว่าความเป็นไปได้” ตัวแบบบางคนกล่าวกันว่าเป็นผู้คนในชุมชนนั้น
แต่คาราวัจโจก็ใช้ความทรงจำวาดชึ้น
ภาพพระเยซูเป็นภาพกลับด้านกับภาพพระเยซูในภาพ
“พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว” ภาพเขียนอยู่ในสภาพที่ไม่ดีนักและได้รับการซ่อมอย่างมากและอาจจะเป็นไปได้ว่าบางส่วนเขียนโดยผู้ช่วย
สิ่งที่น่าสังเกตในภาพนี้อีกอย่างหนึ่งคือความแตกต่างระหว่างร่างที่อ่อนระทวยของมาร์ธาและแมรี
แม็กดาเลนผู้ที่เต็มไปด้วยความระทมกับร่างที่แข็งของลาซารัสพี่ชาย
“ซาโลเมและหัวของนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์”Salome with the Head of John the Baptist 1609–1610 แสดงหัวตัวเองบนถาดและจัดส่งภาพไปให้เด
วิยาคอร์ทเพื่อเป็นการขอขมา ซึ่งถือเป็นภาพชุดสุดท้ายของเขา
“เดวิดกับหัวโกไลแอธ” David with
the Head of Goliath, 1609–1610 ซึ่งเป็นภาพที่แสดงเดวิดเมื่อยังหนุ่มที่แสดงสีหน้าออกจะเศร้าที่มองไปทางหัวที่บาดเจ็บของโกไลแอธที่เป็นใบหน้าของเขาเอง
ภาพนี้อาจจะเป็นภาพที่ส่งไปให้หลานของคาร์ดินัลสคิปิโอเน บอร์เกเซ (Scipione
Borghese) ผู้มีอำนาจการให้อภัยโทษ
ภาพ “เดวิดกับหัวโกไลแอธ” เป็นภาพเขียนภาพหนึ่งที่อาจจะเป็นภาพเขียนภาพสุดท้ายของคาราวัจโจ
เดวิดดูเหมือนจะมีความรู้สึกขยะแขยงกับการถือหัวของโกไลแอธอยู่บ้าง ใบหน้าของโกไลแอธเป็นใบหน้าของผู้ที่สิ้นหวัง
อาจจะสะท้อนอารมณ์ของคาราวัจโจในบั้นปลายของชีวิต สีเงินมอม, ดำและน้ำตาลเป็นสีหลักที่ใช้ในภาพ
แสงที่ส่องบนร่างของเดวิดทำให้ดูเหมือนเป็นเด็กข้างถนนที่ถือดาบที่มีรอยเปื้อนเลือดเพียงเล็กน้อยราวกับจะกล่าวว่ามีความชำนาญในการฆ่าคนจนไม่ต้องทำให้เลอะเทอะ
กลางหน้าผากของโกไลแอธมีแผลที่เป็นแผลที่คาราวัจโจได้รับเมื่ออยู่ที่เนเปิลส์
บนดาบมีอักษรย่อ “H-AS OS” ที่มาจากภาษาละติน “Humilitas
occidit superbiam” (ความถ่อมตัวฆ่าความหยิ่งยะโส)
ซึ่งอาจจะเป็นนัยยะของความสำนึกผิดของคาราวัจโจหลังจากที่ได้หนีไปหลังจากที่ไปฆ่าคนจากการทะเลาะเบาะแว้งกัน
“การพลีชีพของนักบุญเออร์ซูลา” The Martyrdom of Saint Ursula
ภาพสุดท้ายของเขา ลักษณะการวาดก็ยังคงวิวัฒนาการต่อไป — คาราวัจโจจับภาพนักบุญเออร์ซูลาในขณะที่เต็มไปด้วยสิ่งต่างๆ
ที่เกิดขึ้น--ภาพขณะที่ลูกศรที่ยิงโดยกษัตริย์ฮันไปปักทะลุหน้าอก
ซึ่งไม่เหมือนภาพที่วาดกันมาก่อน ที่เป็นการวางท่าที่จัดไว้ล่วงหน้าของช่างเขียน
ฝีแปรงที่ใช้เป็นอิสระกว่าเดิมและเป็นแบบอิมเพรสชันนิสต์ เขาวาดตัวเองอยู่ขวาสุดของภาพ ถ้าคาราวัจโจมีชีวิตยืนยาวอยู่ต่อมางานเขียนก็คงจะมีอะไรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก
บั้นปลายชีวิต ปี ค.ศ. 1610
การาวัจโจก็ลงเรือขึ้นเหนือพร้อมกับภาพสามภาพสำหรับคาร์ดินัลสคิปิโอเนเพื่อไปรับใบอภัยโทษที่โรม
ระหว่างทางคาราวัจโจก็เสียชีวิตลงด้วยวัย39 ปี แต่ไม่มีใครพบร่าง
งานการค้นคว้าล่าสุดนี้(ปี2005)อ้างว่าได้พบประกาศการเสียชีวิตของศิลปินด้วยไข้ที่พอร์โต
เออร์โคเลใกล้โกรสเซตโตในทัสกานี
ความที่เป็นผู้ชอบทะเลาะวิวาททำให้อยู่เป็นหลักแหล่งไม่นาน
จึงไม่มีห้องเขียนภาพที่ถาวรประกอบกับเป็นที่เขม่นของศิลปินที่ไม่ชอบขี้หน้าและนักวิจารณ์ศิลปะในคริสต์ศตวรรษที่
17 ผู้ไม่รู้จักคาราวัจโจเป็นการส่วนตัวแต่ไม่ชอบวิธีการเขียนภาพของเขา
ได้วิจารณ์ให้เสื่อมเสียชื่อเสียงลง ในที่สุดชื่อเสียงคาราวัจโจก็หายไปจากวงการศิลปะหลังจากการตายของเขา
แต่ศิลปะบาโรกที่คาราวัจโจจุดประกายขึ้นก็ยังวิวัฒนาการต่อไป
“ชัยชนะของความรัก”
ค.ศ. 1602-ค.ศ. 1603. สีน้ำมันบนผ้าใบ.
156 x 113 ซม. เบอร์ลิน.
คาราวัจโจแสดงคิวปิดเหนือ
ศาสตร์สำคัญของมนุษย์: สงคราม, ดนตรี, วิทยาศาสตร์, การปกครองภายหลังกลายเป็นภาพเจ้าปัญหาที่ทำให้คาราวัคจิโอถูกชิงชังจากสังคมในข้อหารักร่วมเพศ
ความรักอันศักดิ์สิทธิ์และความรักอันเป็นราคะ
-ที่วาดโดยจิโอวานนิ บากลิโอเน (Giovanni Baglione )จิตรกรคู่แข่ง(คู่แค้น)
เป็นการตอบโต้ภาพ “ชัยชนะของความรัก” ของคาราวัจโจ ที่เป็นภาพของเทวดา (ความรักอันศักดิ์สิทธิ์) ยับยั้งคิวปิด
(ความรักอันเป็นราคะ) กับปีศาจ (ใบหน้าเป็นของคาราวัจโจ) บากลิโอเนทำให้ คาราวัจโจถูกไล่ออกจากเมืองหลังจากที่บากลิโอเนตั้งข้อกล่าวหาว่าการเล่นเพื่อนเพศเดียวกัน
บากลิโอเนได้ทำงานในตำแหน่งดีๆและได้เป็นขุนนางในตำแหน่ง
“อัศวินแห่งพระเยซู” มีความสุขสบายในโรมตลอดชีวิต
ในคริสต์ทศวรรษ 1920 นักวิจารณ์ศิลปะได้ฟื้นฟูความนิยมคาราวัจโจขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งหลังจากไร้ชื่อเสียงมา300ปี โดยสรรเสริญว่า: “จุยเซ็ปเป ริเบอรา, โยฮันส์ เวร์เมร์, ชอร์ช เดอ ลา ตูร์ และแรมบรังด์ไม่อาจจะมีชื่อเสียงได้ถ้าไม่มีคาราวัจโจ
“นอกไปจาก ไมเคิล
แอนเจโลไปแล้วก็ไม่มีจิตรกรอิตาลีคนใดที่มีอิทธิเกินไปกว่า(คาราวัจโจ)นั้น” ทำให้เกิดตามล่าคาราวัคจิโอทั้งชีวประวัติและรูปภาพ
เนื่องจากการค้นหากันภายหลังบางภาพที่เคยระบุว่าคาราวัคจิโอวาดก็ไม่แน่ใจ
ภาพหุ่นนิ่งที่เคยคิดว่าคาราวัคจิโอเป็นผู้วาดตอนมาอยู่โรมใหม่ๆ
มีฝีมือวาดได้ดี แต่ดูจากการจัดองค์ประกอบที่ดูเก้งก้างไม่น่าจะใช่มุมมองของเขาแน่(อาจจะเจอบางเวปที่ระบุว่าคาราวัคจิโอวาด)
“พระเยซูเรียกนักบุญปีเตอร์และนักบุญแอนดรูว์”
เพิ่งพบว่าเก็บอยู่ที่พระราชวังแฮมพ์ตันที่ถูกบันทึกผิดไปว่าเป็นงานก็อปปี
แต่ก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นงานต้นฉบับและได้รับซ่อมแซม ในปี 2006
รูปที่หายไป 400 ปีของคาราวัจโจ "Judith Beheading Holofernes"
ภาพนี้ถูกพบในห้องใต้หลังคาเมืองตูลูซในปี 2557โดยนักประวัติศาสตร์ศิลป์ ตอนนี้รูปภาพดังกล่าวจะถูกนำมาประมูลเริ่มที่120ล้านยูโรขึ้นไป
คาราวัคจิโอยังคงมีอิทธิพลอยู่ตลอดไปตั้งแต่ คริสต์ทศวรรษ 1920 แม้จะไม่มีอนุสาวรีย์หรือแม้กระทั่งหลุมศพ พิพิธภัณฑ์ศิลปะหลายพิพิธภัณฑ์เช่นที่ดีทรอยต์และนิวยอร์ก ต่างก็มีห้องแสดงงานของงานเขียนของจิตรกรที่แสดงวิธีการเขียนที่แสดงว่าได้รับอิทธิพลจากคาราวัจโจ — ฉากการวาดกลางคืน, การใช้แสงที่เป็นนาฏกรรม, การใช้คนธรรมดาเป็นแบบ, หรือการเขียนจากธรรมชาติโดยไม่มีการแต่งเติมเป็นต้น
(คาราวัจโจที่ไร้ตัวตนอยู่300 ปีไม่มีใครรู้ชัด เป็นแต่การบันทึกของทางการกับคำวิจารณ์ของฝ่ายตรงข้าม เขาไม่เคยได้รับงานใหญ่ๆจากสถาบันศาสนา มีแต่ทำให้ส่วนบุคคลที่ว่าจ้างเท่านั้น)
เรื่องราวชีวิตที่เข้มข้นของเขาได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนต์ล่าสุดในปี2007
แต่หาฉบับเต็มไม่มีให้ดูมีแต่สร้างปี1986ซึ่งไม่ค่อยตรงกับเรื่องจริงเท่าไหร่
titanic flat irons | TITANIC TIGERONS | TITANICS TIGERONS
ตอบลบTITANIC TIGERONS. TITANICS TIGERONS. titanium bolt TITANICS TIGERONS. remmington titanium TITANICS TIGERONS. TITANICS TIGERONS. TITANICS TIGERONS. TITANICS TIGERONS. TITANICS TIGERONS. revlon hair dryer brush titanium TITANICS titanium pot TIGERONS. TITANICS TIGERONS. TITANICS TIGERONS. TITANICS TIGERONS. TITANICS TIGERONS. TITANICS TIGERONS. TITANICS TIGERONS. TITANICS titanium trim hair cutter reviews TIGERONS. TITANICS TIGERONS. TITANICS