ศิลปะยุคบาโรค Baroque ตอนที่ 1 เอลเกรโก El Greco ผู้ล้ำเกินยุคสมัย

       ศิลปะยุคบาโรคxคำว่า Baroque เพี้ยนมาจาก Barucca ในภาษาโปรตุกีส ซึ่งหมายถึงไข่มุกที่มีรูปร่างผิดธรรมชาติ เลยเป็นการอุปมาถึงอะไรก็ตามที่มันคาดเดาไม่ได้ หรือซับซ้อนโดยไม่จำเป็นนั่นเอง

เอลเกรโก El Greco หรือ The Greek (ค.ศ. 1541 - ค.ศ. 1614) 
ผู้ล้ำเกินยุคสมัย

      เขาชื่อว่า โดเมนิกอส เตโอโตโกปูลอส แต่ ชาวสเปน (และชาวโลก) แทบไม่มีใครรู้จักนามจริงๆ ของเขามากไปกว่านาม "เอล เกรโก"(หรือคนกรีก) แม้เขามักจะเซ็นชื่อเต็มๆ ภาษากรีกของเขาไว้ในภาพ เขาเป็นทั้งเป็นจิตรกร ประติมากร และสถาปนิกคนสำคัญของประเทศสเปน งานของเขาบางคนจัดให้อยู่ในสมัยเรอเนซองซ์ยุคแมนเนอริสม์ บางคนก็จัดให้อยู่ในยุคบาโรคแต่ก็มีอีกที่บอกว่างานของเขาไม่สามารถเข้ากับยุคใดได้นอกจากยุคของเขาเอง

      เหตุที่ต้องแยกแมนเนอริสม์ เป็นสมัยหนึ่งต่างหาก เพราะว่าศิลปกรรมมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวออกไป ดังเช่นเกิดปัญหาของพวกชอบยึดรูปแบบเก่าๆ กับพวกที่พยายามมีอิสระในการสร้างงานมากขึ้น โดยไม่ยึดหลักสุนทรีภาพตามอย่างกรีกและโรมัน โดยพยายามหันมาแสดงภาพความรู้สึกภายในจิตใจอันปั่นป่วนของศิลปินเอง อีกทั้งมีพื้นฐานทางความคิดเป็นปฏิปักษ์ต่อหลักเกณฑ์การสร้างศิลปกรรมของศิลปินสมัยเรอนาซอง

The Dormition of the Virgin (before 1567 )
ภาพแรกๆของเขามีความเป็นไบแซนไทน์สมัยใหม่
ผสมแมนเนอร์รีสของอิตาลี

      เอลเกรโกเกิดที่เกาะครีตซึ่งในสมัยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐเวนิสและเป็นศูนย์กลางของศิลปะไบแซนไทน์ยุคปลาย เอลเกรโกได้รับการฝึกฝนลักษณะศิลปะไบแซนไทน์ก่อนที่เดินทางไปเวนิสเมื่ออายุ 26 ปึเช่นเดียวกับศิลปินชาวกรีกคนอื่น ๆ (ครีตในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของโรมันตะวันออกในสมัยไบแซนไตท์ที่นับถือคริสต์นิกายออเธอร์ดอก)

งานในยุคแรกๆของเขาที่เรียนกับทิเทียน Jesus Christ

         เอล เกรโก ศึกษา กับ ทิเชียนที่เวนิส และเริ่มเขียนภาพตามแบบแผนของ ทิเชียน ครูของเขา ในปี ค.ศ. 1570 เอลเกรโกก็ย้ายไปโรมไปเปิดโรงฝึกงานและสร้างงานเขียน ระหว่างที่อยู่ในอิตาลี เอลเกรโกก็ปรับปรุงงานของตนเองโดยการใช้วิธีการเขียนภาพแบบลัทธิแมนเนอริสม์ (Mannerism) และเรอเนซองซ์อิตาลี

วาดภาพลูกชายของเขาเองที่เป็นจิตรกรเหมือนพ่อ 
เริ่มเป็นเฉพาะตัวของเกรโคเอง

Annunciation-2 ภาพวาดตอนอยู่ที่เวนิส
รูปแบบยังคงมีลักษณะแมนเนอริสม์





        ในปี ค.ศ. 1577 เอลเกรโกก็ย้ายไปโตเลโดในประเทศสเปนและใช้ชีวิตอยู่ที่นี่อยู่จนตลอดชีวิต เขาเคยเสนองานเข้าเป็นจิตรกรในราชสำนัก แต่ถูกปฎิเสธ โดยเหตุที่ว่างานเขาใส่ของลงในภาพมั่วมาก แต่เอลกรีโคก็ไม่เดือดร้อนอะไร เนื่องจากยังมีคนสนใจในงานของเขาอยู่ เอลเกรโกได้รับงานเขียนหลายชิ้นและเป็นที่สร้างผลงานที่รู้จักกันดีที่สุด


เด็กจุดตะเกียง1570





       ภาพบน The  Last Supper 
และภาพล่าง “การรักษาพยายบาลคนตาบอด” ( Healing of the Blind ) 
( อยู่ในปาร์มา อิตาลี ) ปี1578เมื่อเขามา Toledo ใหม่ๆ 
ภาพช่วงนี้ยังมีอิทธิพลของ tintoretto ศิลปินที่เขาชื่นชมอยู่



Lady in a Fur เป็นภาพที่ดังมากในปัจจุบัน
ถูกนำไปใช้ในรูปแบบต่างๆโดยเฉพาะงานแฟชั่น ดีไซน์ 
บางคนบอกว่าเป็นรูปใบหน้าของอังกิโซลา 
ศิลปินหญิงปลายเรอเนสซองค์ 
แต่น่าจะเป็นหญิงจากราชสำนักมากกว่า


เปรียบเทียบใบหน้าของศิลปินสาวทางซีกขวา


The Knight with His Hand on His Breast 1580


กษัตริย์ของฝรั่งเศส สวมมงกุฎสัญลักษณ์ดอกลิลลีและเกราะ เงิน ที่กระตุ้นบทบาทของเขาในสงครามครูเสด หุ่มคลุมผ้าสีส้มทำให้ภาพสว่างสดใสขึ้น  เขาถือคทา, ไม้ยาวมียอดเป็นมงกุฏคล้ายดอกลิลลี ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงถือเป็นเครื่องหมายแสดงพระราชอำนาจ:และ มือของความยุติธรรม El Greco ให้เขามีรูปร่างที่ยาว และมีหน้าผอมเหี่ยวแห้งปราศจากรัศมีบนศรีษะ  ดวงตาเหมือนจ้องไปยังหลุมศพ( ผู้คนที่ล้มตาย)ด้านขวาของพื้นหลังเติมคอลัมน์ที่ตั้งบนฐานสูงของอาคาร ด้านซ้ายได้รับ การคืนค่าล่าสุดได้เปิดเผยท้องฟ้าพายุและภูมิทัศน์ของเมืองโทเลโดบางส่วน


ภาพที่แสดงอยู่หลายปีก่อนทำการบูรณะคืนค่าล่าสุด


“ความบริสุทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า” ( Purification of the Temple ) 
( อยู่ในมิเนอาโพลิส สหรัฐอเมริกา )


A Cardinal (probably Cardinal Niño de Guevara), 1600–1601

“พระคาดินาลกีวารา” ( 1601 )


ทิวทัศน์เมืองโทเลโด  c.1611 
กับท้องฟ้าที่ปั่นป่วนเหมือนการเคลื่อนที่ของเมฆจากพายุ


เห็นลายเซนชื่อศิลปินทางขวามือล่าง

        ศิลปินสเปนเชื้อสายกรีก บอกว่า "สี" คือสิ่งสำคัญที่สุดในภาพเขียน นอกจากนั้นยังเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะควบคุมได้มากที่สุด สำหรับเขาแล้ว สีสันจะมาก่อนรูปทรง รวมทั้งองค์ประกอบอื่นๆ การวาดของเขาจะใช้สีดิบๆ ไม่ผสม โดยเฉพาะสีเข้มๆ จากหมึกที่ต้องอาศัยความชำนิชำนาญเฉพาะตัวในการสร้างสรรค์ลงบนผืนผ้าใบ นอกจากนี้ เอล เกรโก ยังไม่เชื่อเรื่องการแต่งเสริมเติมสีใหม่ลงไปหลังภาพเสร็จแล้ว เพราะจะทำให้รูปออกมาไม่เป็นธรรมชาติ แต่ภาพจิตรกรรมที่ดีต้องเสร็จในการวาด (ลงสี) ครั้งเดียวเท่านั้น


นักบุญมารีย์ มักดาเลนา เป็นภาพเชิงสัญลักษณ์
ประกอบด้วยกระโหลกศรีษะแสดงถึงความตาย 
ไม้เลื้อยแสดงถึงการคืนชีพ 
ท้องฟ้าเปิดให้แสงสาดส่องมา
เหมือนการปลดปล่อยชำระบาปของนาง


นักบวช Fray Hortensio 
ช้โทนภาพออกขาวดำซึ่งเป็นสีของนักบวชในศาสนา


หลังจากการปฏิรูปคาทอลิกเริ่มเน้นบูชานักบุญคาทอลิก 
El Greco ได้รับค่าจ้างมากมายในการวาดดังกล่าว 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัครสาวกและนักบุญ Francis ของ Assisi 
เกิดในครีต (ดังนั้นชื่อเล่นของเขา)ซึ่งเขาวาดไว้หลายภาพมาก


theresurrection 

baptism of christ




ภาพ Annunciation  
แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของการวาดในรูปแบบใหม่ๆ


     เอล เกรโก เป็นศิลปินที่มีเอกเทศ มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวสูง ผลงานของเขามักออกมาคล้ายภาพแห่งจินตนาการที่ไม่รู้จบ เหมือนอยู่ในความฝัน ( ประหลาด ๆ ) โดยเขาได้ผสมผสานเอาศิลปะไบเซนไทน์ซึ่งเป็นพื้นฐานอันหนักแน่นของตัวเอง เข้ากับศิลปะตะวันตกออกมาได้อย่างมหัศจรรย์ ที่นำเอาจิตวิญญาณแห่งสเปนใส่ลงไปในงานศิลปะ





        ภาพเทพนิยายของกรีกเรื่อง “เลาคูน” ( Laocoon, 1610 ) National Gallery of Art ตอนเทพีเฮอราส่งอสรพิษร้ายเข้ามาสังหารนักบวชเลาคูน พร้อมด้วย ลูกชายของเขาอีก 2 คน คือแอนตีฟานเทส(ANTIPHANTES) และ ธิมเบรอุส(THYMBRAEUS)


         El Greco ใช้เมือง Toledo เป็นฉากหลังของภาพ แสดงให้เห็นการตายของเลาคูน โดยอิงชาวท้องถิ่นเมือง Toledo เชื้อสายมาจากโทรจัน(ชาวโรมัน) แสดงเมือง Toledo เป็นโลกแห่งความทุกข์ การใช้สีเพื่อสร้างความรู้สึกของการลงโทษ ภาพใช้เส้นขอบฟ้าสูง เพื่อให้เห็นเมือง และกลุ่มคนที่ดิ้นรนอยู่ฉากหน้าเด่นชัดเป็นการสร้างองค์ประกอบในแนวตั้ง การใช้เฉดสีเทาและการหมุนปั่นป่วนของเมฆ เหนือท้องฟ้า เมือง Toledo ทำให้บรรยากาสสะพรึงกลัว น่าขนลุก ที่เพิ่มความทุกข์ของคนเบื้องหน้า

       เมื่อ เอล เกรโก เสียชีวิต โลกศิลปก็ลืมเลีอนเขาไปเพราะความไม่ get ศิลปะในแนวทางอันล้ำยุคของเขา แม้ในช่วงศตวรรษที่ 17 ต่อ 18 แวดวงศิลปะก็ไม่เข้าใจ ต่างประนามจิตรกรรมของ เอล เกรโก คือความเหลวไหล ไร้สาระ ประหลาด แสดงถึงความบ้า จนปลายศตวรรษที่ 19 นักวิจารณ์ศิลปะถึงจะยอมรับความพิเศษเหนือธรรมดานี้ ยกให้เป็น ศิลปิน"อัจฉริยะ"


st martin and the begga


st-andrew-and-st-francis 
เซนต์ฟราสซิสคือคนที่ประคองกางเขนกากะบาท
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเขา 
ล่างเป็นลายเซ็นศิลปินส่วนมากจะปรากกอยู่บนแผ่นกระดาษ

        ผลงานของ เอล เกรโก มีความโดดเด่น และมีความเป็นเอกซ์เพรสชันนิสม์อยู่มาก ซึ่งในยุคสมัยที่เขายังมีชีวิตอยู่นั้น อาจจะดู "ล้ำ" ไปสักหน่อยจนผู้คนยากจะเข้าใจหรือเห็นคุณค่า หากแต่กลายเป็นชิ้นงานสุดมหัศจรรย์และล้ำค่ายิ่งในศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา โดยเฉพาะคุณค่าที่เขาได้การยอมรับว่าเป็นแรงขับสำคัญในการเกิดของศิลปะแนวเอกซ์เพรสชันนิสม์ โรแมนติกซิสม์ และคิวบิสม์




       เอดูอาร์ด มาเนต์ ศิลปินอิมเพรสชันนิสม์ชาวฝรั่งเศส เป็นคนหนึ่งที่ชื่นชมผลงานของ เอล เกรโก มาก โดยเฉพาะผลงาน Holy Trinity ทำให้ เอดูอาร์ด มาเนต์ วาดภาพชิ้นสำคัญของเขาเอง The Angels at Christ's Tomb และถึงกับเดินทางไปสเปนเพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เอล เกรโก ด้วยตัวเอง


ภาพThe Dead Christ with Angels Edouard 
โดย Manet -เอดูอาร์ด มาเนต์ ที่ได้อิทธิพลของเกรโค


ภาพขวาวาดโดย bathers 1894 วาดโดย Cezanne Pau โปล เซซาน


ภาพขวาวาดโดย Pablo Picasso 
ปาโบล ปิกัสโซยังสารภาพว่า 
เอล เกรโก มีอิทธิพลต่อสไตล์ของเขาอย่างยิ่ง

       เอล เกรกโก นิยมให้แสงส่องต้องกระทบทางวัสดุให้เกิดการตัดกัน ระหว่างความมืดและความสว่างอย่างรุนแรงจัดจ้า ให้แสงและเงาสร้างรูปทรง มากกว่าการใช้เส้น วิธีการใช้พู่กันระบาย เขานิยมป้ายอย่างอิสระ ไม่เกลี่ยให้เรียบร้อย ยิ่งกว่านั้น ยังไม่เคร่งคัดต่อกฏเกณฑ์การวาดภาพตามประเพณีนิยม ภาพคนจะแสดงวิญญาณอันปวดร้าวทนทุกข์ทรมานอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้เขาจะวาดภาพคนให้มีสัดส่วนค่อนข้างยาว สูงโปร่ง เพื่อให้ได้อารมณ์ตามต้องการดังกล่าว

    นักวิจารณ์ยุคก่อนๆ ยังกล่าวว่าเกรโคเป็นผู้คลั่งศาสนา จนบ้าเขียนรูปผิดเพี้ยน ก็ลุงแกเขียนฉีกแนวขนาดนั้นในยุคเรอเนสซองค์ คนดูคงทำใจยาก แต่ก็ยังมีคนชอบของแปลก ทำให้เขาได้มีโอกาสทำงานได้เรื่อยๆ


ภาพของเกรโคเป็นที่โดนใจแวนโกะมาก 
ทำให้ Vincent van Gogh ศิลปินผู้สร้างงานล้ำหน้าจากอิมเพรสชั่นเป็น expression สร้างภาพทิวทัศน์ให้เคลื่อนไหวจนโด่งดังแบบเจ้าตัวไม่รู้เรื่อง

      เขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ค.ศ. ๑๖๑๔ รวมอายุได้ ๗๓ ปี ที่เมืองโทเลโด ภายหลังการอนิจกรรมของเขา มีการค้นพบแบบร่างต่างๆ ทำด้วยปูนพลาสเตอร์ ดินเหนียว และขี้ผึ้ง ประมาณ ๕๐ กว่าชิ้น ชึ่งเป็นแบบร่างของการก่อสร้างและประติมากรรมนอกจากนี้ยังมีการบันทึกเป็นหนังสือประเภทวิทยาการทางสถาปัตยกรรมอยู่ส่วนหนึ่งอีกด้วย


ประติมากรรมของเขา

        เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ ภาพวาดของ El Greco ชื่อ The Baptism of Christ ถูกนำออกประมูลขายที่ Christies ในกรุงลอนดอน โดยผู้ที่นำออกขายเป็นชาวสเปน ที่ครอบครัวได้ครอบครองภาพมานานถึง ๑๕๐ ปี และไม่รู้ว่า El Greco คือคนวาดภาพ ส่วนผู้ที่ประมูลภาพไปได้คือ พิพิธภัณฑ์เมือง Iraklion ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของ El Greco โดยพิพิธภัณฑ์ได้รับเงินบริจาคจากบรรดาชาวเมืองให้จัดซื้อภาพของ El Greco กลับไปติดตั้งในพิพิธภัณฑ์ ในราคา๖๐ ล้านบาท


The Baptism of Christ


รูปขนาดเท่านี้... ราคาประมูล๖๐ ล้านบาท


The Burial of Count Orgaz 

            วิเคราะห์งานเขาสักรูป The Burial of Count Orgaz (ปี 1586–1588, สีน้ำมันบนผ้าใบขนาด 480X360 ซม. เป็นภาพเขียนขนาดใหญ่ สูงจากพื้นถึงเพดาน เล่าเรื่องฉาก ตอนการถึงแก่อนิจกรรมของเคานต์ออร์กาซ ผู้ทำคุณงามความดีเอาไว้มากมาย ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ Ruiz เป็นคนใจบุญ ร่ำรวย มีอิทธิพล และเป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป โดยเขาได้เขียนพินัยกรรมแสดงเจตจำนงว่า เมื่อเขาสิ้นชีวิตไปแล้ว เขาจะมอบเงิน แกะสองตัว ไก่ ๑๖ ตัว เหล้าองุ่น ๒ ขวด และเหรียญ ๘๐๐ ชิ้น ให้เป็นการกุศลทุกปี

         El Greco ได้วาดภาพของนักบุญทั้งสอง ในชุดเสื้อคลุมสีเหลือง โดยไม่มีวงแหวนแสงปรากฏเหนือศีรษะ คนที่มีเคราสีขาวคือ นักบวช Augustine ส่วนคนที่อยู่ข้างซ้ายของศพคือ นักบวช Stephan ซึ่งหนุ่มกว่า และถึงแม้จะมีนักบวชมาปรากฏตัว ผู้คนที่เข้าร่วมพิธีก็ไม่ได้แสดงอาการตกอกตกใจเลย คือแสดงอาการสำรวม กาย วาจา และใจ ที่ไม่มีการยกแขน ขา หรือทรุดเข่าลง ชายคนที่อยู่ขวาสุดของภาพเป็นพระนักบวชผู้ทำพิธีทางศาสนา ส่วนคนอื่น ๆ ที่ยืนอยู่ข้างหลังของนักบวช ต่างก็มีเค้าหน้าของบุคคลในสมัยนั้นทุกคน ภาพของเด็กผู้ชายที่ยืนอยู่ทางซ้ายของภาพคือ บุตรชายของ El Greco ซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ ๘ ขวบ




        จุดเด่นอีกจุดหนึ่งของภาพคือ ส่วนที่เป็นสวรรค์ ซึ่ง El Greco ได้ใช้พื้นที่ครึ่งบนแสดง นาง Mary ในชุดสีแดงสดใส และเป็นผู้หญิงคนเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสวรรค์ ชายหนุ่มคนที่คุกเข่าอยู่เบื้องหน้าของนางคือ John the Baptist และบุคคลที่นั่งเหนือบุคคลทั้งสองคือ พระเยซูเจ้า ข้างหลัง Mary คือ St. Peter ที่ถือพวงกุญแจไขประตูสวรรค์ ต่ำลงมาจาก St. Peter คือ Moses ผู้ถือศิลาจารึกบัญญัติสิบประการ






          บุคคลใต้ภาพของ Mary กับ John the Baptist คือทูตสวรรค์ที่มีปีก โดย El Greco ได้วาดให้อุ้มทารกไว้ในอ้อมแขน และทารกนั้นคือ วิญญาณของ Ruiz ผู้ที่ได้ไปจุติใหม่บนสวรรค์ในรูปของทารกเล็ก ๆ ที่ลอยขึ้นไประหว่างก้อนเมฆสองก้อน








พิพิธภัณฑ์ เอล เกรโคที่สเปน









เรื่องของเอล เกรโคถูกทำเป็นภาพยนต์ น่าจะครั้งที่ 3 เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด


ตอนนี้น่าจะเป็นลูกศิษย์ของทิเทียน ( คนนั่งกำลังวาดวีนัส )



ภาพสุดท้ายกับนางเอก จบหนังแผ่นล่ะ


                                                                                                            by yuttavitcho

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศิลปะยุคกรีก

ศิลปะยุค โรโกโก ตอนที่1 ศิลปแห่งความอ่อนหวานและรุงรัง

ศิลปะยุคบาโรค Baroque ตอนที่ 17 โยฮัน เฟอร์เมร์ (Johan Vermeer) ผู้สร้างภาพถ่ายในยุคทองของบาโรคเนเธอแลนด์