เรอเนสซองค์ ตอน 1 นอกแดนอิตาลี อาลเบรท ดูเรอร์ Albrecht Dürer
มาดูศิลปินยุคทองเรอเนสซองค์นอกแดนอิตาลีกันบ้าง
อาลเบรท ดูเรอร์ Albrecht Dürer (1471 –1528) ดูเรอร์ ผู้สร้างประวัติศาสตร์ภาพพิมพ์ เกิดในนูเรมเบิร์ก(แก่กว่าไมเคิลแองเจลโล4 ปี) เป็นช่างทอง จิตรกร นักพิมพ์และนักคณิตศาสตร์ เป็นหนึ่งในบรรดาศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของเยอรมนี
เขียนภาพตัวเองปี 1498__52 x 41 cm,(ปัจจุบันภาพนี้อยู่ที่ Prado,_Madrid)
หลังจบการศึกษา ดูเรอร์ก็เรียนรู้งานช่างทองและทำภาพพิมพ์จากบิดา
ซึ่งบิดาเขา เป็นช่างทองแล้วหันมายึดอาชีพผลิตสิ่งพิมพ์จากความเจริญของการพิมพ์ที่เยอรมัน ทำให้บิดาเขามีโรงพิมพ์หลายแห่งในเมือง
ภาพวาดลายเส้นตัวเขาเองตอนอายุ 13 ขวบ
Portrait_of_a_Girl
Head of a Negro
งานวาดเส้นดินสอของเขามีลายเซนต์ชื่อ AD Albrecht Düre เป็นแบบเฉพาะตัว
เขาให้แม่เป็นแบบวาดด้วย
ภาพพิมพ์โลหะประกอบหนังสือที่ผลิตโดยพ่อเขา หลังจาก โจฮัน กูเต็นเบิร์ก ได้คิดประดิษฐ์แท่นพิมพ์อย่างง่ายขึ้นในเยอรมัน ต่อมา อัลเบรชท์ ดูเรอร์ ได้คิดค้นกลวิธีภาพพิมพ์ร่องลึกที่มีความคมและสวยงามขึ้น
งานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ของดูเรอร์ คือ ภาพไม้แกะ และภาพสลักทองแดง ภาพเหล่านี้มีจินตนาการและความหมาย เป็นสัญญาลักษณ์ทั้งยังมีความ แม่นยำและรายละเอียดต่างๆอย่างเยี่ยมยอด ส่วนใหญ่ภาพสลักเหล่านี้เผยให้เห็นโลกที่เต็ม ไปด้วยนักรบเหี้ยมหาญและอสุรกาย ต่างๆ ภาพ Knight, Death and the Devil ภาพพิมพ์โลหะขนาด 24.5 x 19.1 cm เป็นภาพพิมพ์แรกๆ ที่ทำให้เขามีชื่อเสียงเด่นเป็นพิเศษ
St George on horseback เป็นภาพเซนต์จอร์จปราบมังกรแล้วแตกต่างจากภาพที่ศิลปินคนอื่นเขียนกัน
ภาพพิมพ์The_Small_Horse ภาพเขาจะแฝงแง่มุมไว้ให้ตีความอยู่บ่อยๆ
ภาพพิมพ์โลหะของเขาแสดงถึงการพิมพ์ที่สะอาดมีลายเส้นละเอียดและคม ฝีมือการพิมพ์ที่ฉกาจของเขาเป็นที่ต้องการของยุคนั้น
ภาพ พิมพ์โลหะ “Malencolia”(เมเลนโกเลีย) ในปี ค.ศ.1514 เป็นภาพที่มีชื่อเสียงของ ดือเรอร์ โดยในภาพ (มุมบนด้านขวา)มีรูปจตุรัสกลที่มีตัวเลขเรียงกันต่อเนื่อง
4X4 เป็นจตุรัสกลที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์จตุรัสกลของ อัลเบรชท์ ดูเรอร์ ความมหัศจรรย์ของของตัวเลขจตุรัสกลคือ ตัวเลขแนวนอนทุกแถวรวมกันได้=34
ตัวเลขแนวตั้งทุกแนวรวมกันได้ =34 และตัวเลขแนวทะแยงหลักก็รวมกันได้ 34 เช่นกัน และยิ่งไปกว่านั้นผลรวมตัวเลขที่มุมทั้งสี่ของจตุรัส (16+13+4+1) = 34 ไม่เท่านั้นตัวเลขสี่ช่องตรงกลาง (10+11+6+7) รวมกันก็ได้ = 34 อีก และสิ่งที่ทำให้ผู้คนงุนงงในอัจฉริยะของเขาก็คือ " ตัวเลขในสองช่องตรงกลางแถวล่างสุดแนวนอน เป็นตัวเลข 1514 ซึ่งเป็นปีที่ ดูเรอร์ สร้างภาพนี้นั่นเอง "
กล่อง 5 เหลี่ยมพลิกรับมุมกัน
นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1512 จักรพรรดิโรมันสองพระองค์คือ แมกมิเลียนที่ 1
และชาร์ลส์ที่ 5 (กษัตริย์จากสเปน ที่ปกครองโรมอยู่) ก็ได้ทรงจ้างดูเรอร์ไว้ในเยอรมัน
ภาพสเกตดินสอกษัตริย์แมกมิเลียนที่ 1
ภาพสีฝุ่นผสมสีน้ำมันบนแผ่นไม้ของกษัตริย์แมกมิเลียนที่ 1
วาดบิดาของเขาเองผู้สอนเขาในงานช่างทอง วาดภาพและเทคนิคงานพิมพ์
ภาพใบหน้าบุคคลเน้นรายละเอียดเห็นมิติกล้ามเนื้อได้ชัดเจนกว่าเมื่อเทียบกับศิลปินฝั่งโรม เห็นศิลปินเยอรมันหลายคนที่เขียนเน้นมิติน้ำหนักแบบเขาเหมือนกัน
ภาพที่เขาวาดไม่เสร็จเราจะเห็นขั้นตอนการทำงานได้ชัดเจน เขามักจะใช้สี 2อย่างผสมกันคือ สีฝุ่นกับสีน้ำมันวาดบนพื้นไม้
ภาพขยายจะเห็นการลงแสงเงาเป็นลายเส้นจนแน่นเหมือนงานภาพพิมพ์
ภาพเหมือนตนเองของอัลเบรชท์ ดูเรอร์, ค.ศ. 1493. สีน้ำมันเดิมบนหนัง, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส ภาพนี้เป็นภาพเหมือนตนเองอย่างเป็นทางการภาพแรก ๆ ดือเรอร์แต่งตัวแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จระดับสากล เพียงอายุ 22 ปี..
งานสีน้ำศึกษาด้านธรรมชาติ ชีววิทยาของเขา
กระต่ายป่าของเขาตัวนี้มีชื่อเสียงระดับดาราของโลกไปแล้ว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของเขา
ภาพลายเส้นใช้สีพื้นเป็นน้ำหนักกลาง รูปบนศึกษาใบหน้าของ angel รูปมือนี่ก็แฝงปรัชญา ปัจจุบันถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในมิติที่ดีและศรัทธา
ภาพวาดตนเองที่มีชื่อเสียงที่เป็นรูปของเขาเอง มีการเผยแพร่กันมาก
เราจะวิเคราะห์เห็นอะไรกันบ้าง
" ภาพเหมือนตนเอง " ที่เขียนโดย อัลเบรชท์ ดูเรอร์ ในปี ค.ศ. 1500 การมองตรงมายังผู้ชมภาพโดยตรงทำให้เป็นภาพเขียนที่มีลักษณะไม่เหมือนภาพเหมือนตนเองที่เขียนกันมาก่อน
ลักษณะของภาพเป็นภาพครึ่งตัวท่อนบน หน้าตรง และมีความสมมาตรสูง
ฉากหลังที่ขาดหายไปทำให้ปราศจากขาดนัยยะถึงสถานที่และเวลา การวางคำจารึกในบริเวณที่มืดของภาพสองด้านของตัวแบบทำให้ดูเหมือนว่าเป็นคำจารึกที่ลอยตัว ซึ่งเป็นการเน้นจุดประสงค์ในการเป็นสัญลักษณ์ของภาพยิ่งขึ้นไปอีก
ภาพหน้าตรงเปะเห็นแววตาชัดเจนและดูนิ่งมากเหมือนกำลังจ้องหน้าคนดู
ในภาพนี้ ดูเรอร์ แสดงตนเองอย่างสง่าเป็นทางการ ซึ่งเป็นการวางท่าที่เดิมใช้ในการวาดภาพพระเยซูเท่านั้น
- นัยยะที่ทำให้เกิดการถกเถียงกันในหมู่นักวิพากษ์ศิลป์หัวโบราณก็จะกล่าวว่าการเขียนของดือเรอร์เป็นการตอบสนองธรรมเนียมการเขียนที่เรียกว่าเขียนลักษณะ “เลียนแบบพระเยซู” (Imitation of Christ)
- ส่วนผู้ที่มีทัศนะขัดแย้งก็จะตีความหมายว่าเป็นการประกาศความเป็นตัวของตัวเองหรือของความเป็น ดูเรอร์ และความสำคัญในการเป็น “ผู้สร้าง[งานศิลปะ]” (creator (Creator = God))
- ความหมายหลังนี้สนับสนุนโดยคำจารึกเป็นภาษาลาตินบนภาพที่แปลว่า “ข้าพเจ้า อัลเบรชท์ ดูเรอร์ แห่งเนิร์นแบร์กแสดงตัวของข้าพเจ้าในภาพเขียนเมื่ออายุได้ยี่สิบแปดปี”
ในช่วงอายุที่วัดกัน ในยุคกลาง อายุยี่สิบแปดปีเป็นอายุที่เปลี่ยนจากความเยาว์วัยไปเป็นผู้ที่มีความอาวุโสหรือโตเป็นผู้ใหญ่ ภาพนี้จึงเท่ากับเป็นการฉลองโอกาสที่ดือเรอร์ย่างเข้าสู่ช่วงใหม่ของชีวิตการเป็นศิลปิน และการย่างเข้าสู่ทศวรรษใหม่คือปี ค.ศ. 1500 A D
อักษรย่อของชื่อของตนเองว่า “A.D.”
ก็ยังเป็นการให้ความหมายใหม่แก่ “A.D.”
ที่ตามปกติแล้วเป็นอักษรย่อของของคำว่า “ Anno Domini ” หรือ “ คริสต์ศักราช ”
เขาได้ไปเยือน ฟลานเดอร์ส ปัจจุบันคือเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ ศึกษาภาพวาดสีน้ำมันรุ่นก่อนๆ แล้วกลับไปอยู่เยอรมันจนถึงแก่กรรมที่บ้านเกิดอายุได้ 58 ปี
อนุสาวรีย์ของดือเรอร์ Denkmal - Nürnberg, Germany
เมื่อปี 2016 หอศิลป์ในเมืองชตุทท์การ์ท ของเยอรมนี ได้รับภาพพิมพ์เก่าแก่ผลงานของศิลปินเอกของชาติ “อัลเบรชท์ ดูเรอร์” ที่หายสาบสูญไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับคืนมา เนื่องจากพลเมืองดีไปพบงานศิลปะล้ำค่าชิ้นนี้วางขายอยู่ในตลาดนัดในราคาเพียงไม่กี่ยูโร - ภาพพิมพ์โลหะ Maria-Crowned (engraving)
by yuttavitcho.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น